backup og meta

อาการปวดหัว ที่เกิดขึ้นจากโรคหลอดเลือดในสมอง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

    อาการปวดหัว ที่เกิดขึ้นจากโรคหลอดเลือดในสมอง

    อาการปวดหัว อาจเป็นจุดเริ่มต้นของโรคหลอดเลือดสมองซึ่งสามารถจัดการได้ และส่วนใหญ่โรคหลอดเลือดสมองที่มาจากอาการปวดหัวไม่ใช่สัญญาณของปัญหาที่ร้ายแรง

    ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหลังจากโรคหลอดเลือดสมอง

    โรคหลอดเลือดสมอง ก่อให้เกิดผลกระทบทางประสาท ซึ่งส่งผลกับหลายส่วนของสมองด้วย อาการปวดหัวอาจ เกิดขึ้นหลังจากโรคหลอดเลือดสมอง แต่อาจไม่สัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดในสมอง

    ผู้ที่รอดจากโรคหลอดเลือดสมองประมาณ 10-15 เปอร์เซ็นต์ เริ่มพบกับอาการปวดหัวเป็นระยะเวลาสั้นๆ หลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมอง การปวดหัวครั้งแรกหลังจากโรคหลอดเลือดสมอง อาจลามไปถึงอาการปวดหัวหลายๆ อย่าง อาการปวดหัวหลังจากโรคหลอดเลือดสมอง อาจเป็นไมเกรน ปวดหัวรุนแรง การปวดหัวจากการใช้ยาเกินขนาด หรือผลกระทบจากผลข้างเคียงของยา

    ข้อควรรู้เกี่ยวกับ อาการปวดหัว หลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

    อาการปวดหัวอาจจะก่อให้เกิดความน่ารำคาญ แต่นั่นอาจหมายถึงสัญญาณเตือนก็เป็นได้ หากคุณเริ่มพบกับอาการปวดหัว หลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมอง การปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับอาการของคุณเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งแบ่งได้ 2 ประการ ดังนี้

    • ประการแรก คุณจำเป็นต้องแน่ใจว่า อาการปวดหัวหลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ไม่ใช่สิ่งบ่งบอกถึงปัญหาร้ายแรง ช่วงเวลาส่วนใหญ่ อาการปวดหัวจะไม่แสดงถึงสัญญาณของสิ่งที่น่ากังวลใดๆ แพทย์ของคุณสามารถวินิจฉัยได้ว่า อาการปวดหัวเป็นนัยยะที่แสดงถึงอาการต่างๆ
    • ประการที่สอง ที่ควรได้รับการดูแลทางการแพทย์จากอาการปวดหัว คือ อาการปวดหัวสามารถรักษาได้ การรักษาขึ้นอยู่กับว่าคุณกำลังประสบกับอาการปวดหัวประเภทใด

    อาการปวดหัว หลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมองนั้น มีกี่ประเภท

    1. อาการปวดหัวจากการใช้ยาเกินขนาด เป็นผลมาจาก การใช้ยาบรรเทาอาการปวด การใช้ยาบรรเทาอาการปวดโดยทั่วไปนั้น ช่วยบรรเทาอาการชั่วคราว ซึ่งอาจตามมาด้วยผลอ่อนๆ จากการถอนยา นำมาซึ่งอาการปวด ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ สามารถพัฒนาโปรแกรมสำหรับคุณ เพื่อค่อยๆ ลดการใช้ยาบรรเทาอาการปวด ซึ่งทำให้คุณไม่ต้องทรมานจากการใช้ยาแก้ปวดเกินขนาดอีกต่อไป
    2. อาการปวดหัวรุนแรง ก่อให้เกิดความเจ็บปวดที่หัว และไม่ได้มีความเชื่อมโยงกับอาการอื่นๆ ตามปกติ อาการปวดหัวรุนแรง โดยปกตินั้น ควบคุมได้ง่ายด้วยยาฤทธิ์อ่อน และการพักผ่อน
    3. การปวดหัวไมเกรน โดยปกตินั้นจะปวดมาก และอาจมีความเชื่อมโยงกับอาการวิงเวียนศีรษะ อาการทางประสาท และความรู้สึกอ่อนเปลี้ยเพลียแรงฉับพลัน อาการปวดหัวไมเกรน จำเป็นต้องใช้ยาตามใบสั่งแพทย์ที่มีฤทธิ์แรง เพราะว่า ยาที่ใช้รักษาไมเกรน ไม่แนะนำให้ใช้สำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจ หรือหลอดเลือด นักประสาทวิทยา จำเป็นต้องหาวิธีที่เหมาะสม สำหรับอาการปวดหัวหลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
    4. หนึ่งในยาที่ใช้หลังจากการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง อาจก่อให้เกิดการปวดหัว Dipyridamole เป็นยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด ที่ใช้ป้องกันโรคหลอดเลือด มันอาจไปกระตุ้นอาการปวดหัวในคนไข้บางคน เป็นไปได้ว่า มันทำให้หลอดเลือดขยายกว้างขึ้น อาการปวดหัวไมเกรน เป็นหนึ่งในผลข้างเคียงของยาขยายหลอดเลือดของสมอง เป็นที่น่าสนใจว่าผลข้างเคียงจากการปวดหัวนี้ ไม่ได้ทำให้ยาไดไพริดาโมล (Dipyridamole) นั้นเป็นสิ่งเลวร้าย งานวิจัยล่าสุดที่เกิดขึ้นในเดือนตุลาคม 2014 จาก European Journal of Neurology รายงานว่า คนไข้โรคหลอดเลือดที่เจ็บปวดจากการใช้ยา Dipyridamole จริงๆ แล้ว กลับมาเป็นโรคหลอดเลือดน้อยกว่าคนไข้ที่ไม่เคยมีผลข้างเคียงการปวดหัว

    ทำไมการปวดหัวจากการเป็นโรคหลอดเลือดจึงเกิดขึ้น

    หลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เป็นธรรมดาที่คนไข้พอเจอกับอาการเจ็บปวดใหม่ คนไข้บางอาจคนสังเกตความเจ็บปวดใหม่นี้ อย่าง อาการปวดไหล่ หรือ ความผิดปกติที่ผิวหนังหลังจากโรคหลอดเลือด คนไข้จำนวนที่มากถึง 1 ใน 3 ที่บ่นถึงความเจ็บปวดที่รุนแรง พอที่จะกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน อาการปวดหัวหลังจากการเป็นโรคหลอดเลือดนั้น มีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่ว่ามีลักษณะเฉพาะของมัน แหล่งกำเนิดนั้น ไม่สามารถทราบได้แน่ชัด และอาจเกี่ยวข้องกับ 2 สาเหตุ คือ

  • โรคหลอดเลือดที่นำมาซึ่งการบาดเจ็บในส่วนที่อ่อนไหวของสมอง อาจจะกระตุ้นความเจ็บปวด การเปลี่ยนแปลงในการส่งกระแสไฟฟ้าของสมองหลังจากความเสียหายของโรคหลอดเลือด อาจนำมาซึ่งความเจ็บปวดด้วย
  • ความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างจากการไหลเวียนของเลือดในสมองหลังจากโรคหลอดเลือด สามารถก่อให้เกิดความเจ็บปวดโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บริเวณศีรษะ
  • Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยหรือรักษาโรคแต่อย่างใด 

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา