backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

เยื่อบุช่องปากอักเสบ อาการ สาเหตุ และการรักษา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 4 สัปดาห์ก่อน

เยื่อบุช่องปากอักเสบ อาการ สาเหตุ และการรักษา

คำจำกัดความ

เยื่อบุช่องปากอักเสบคืออะไร

เยื่อบุช่องปากอักเสบ (Stomatitis) คือ อาการเจ็บหรืออักเสบที่เกิดขึ้นภายในช่องปาก เกิดขึ้นได้ทั้งบริเวณกระพุ้งแก้ม เหงือก ด้านในริมฝีปาก หรือบนลิ้น ภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบหลักๆ สองประเภทคือ เริมในช่องปาก (Herpes Stomatitis หรือ ​Cold Sore) และ แผลร้อนใน (Aphthous stomatitis)

เยื่อบุช่องปากอักเสบพบได้บ่อยได้แค่ไหน

ภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบเป็นโรคที่พบได้ทั่วไป สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์

อาการ

อาการเยื่อบุช่องปากอักเสบเป็นอย่างไร

อาการทั่วไปมีดังนี้

  • มีแผลในช่องปากเป็นชั้นสีขาวหรือเหลือง ฐานเป็นสีแดง ปกติแล้วจะพบได้ที่ด้านในริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม หรือบนลิ้น
  • มีรอยปื้นสีแดง
  • มีตุ่มพอง
  • บวม
  • ความรู้สึกไม่สบายในช่องปาก เช่น อาการปวดแสบปวดร้อน
  • โดยปกติแผลจะหายภายใน 4-14 วัน และมักจะกลับมาเป็นอีกครั้ง

อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาหมอของคุณ

ควรไปพบหมอเมื่อไร

ถ้าคุณมีอาการใดๆ ที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษากับคุณหมอ เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดจึงควรพูดคุยกับหมอเพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของเยื่อบุช่องปากอักเสบ

การติดเชื้อไวรัส herpes simplex 1 (HSV-1) คือสาเหตุของโรคเริม พบมากในเด็กช่วงอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี คนที่ได้รับเชื้อ HSV-1 อาจกลายเป็นโรคเริมได้ในภายหลัง เชื้อไวรัส HSV-1 นั้นเกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัส HSV-2 ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดเริมที่บริเวณอวัยวะเพศ แต่ไม่ใช่ไวรัสชนิดเดียวกัน

ร้อนใน คือแผลขนาดเล็กเกิดขึ้นที่บริเวณกระพุ้งแก้ม เหงือก ด้านในริมฝีปาก หรือบนลิ้น พบมากในกลุ่มคนอายุน้อยๆ ส่วนใหญ่ในช่วงวัย 10 ถึง 19 ปี

ร้อนในไม่ได้เกิดจากไวรัสและไม่ใช่โรคติดต่อ แต่เกิดจากปัญหาเรื่องความสะอาดภายในช่องปาก หรือบาดแผลที่เกิดขึ้นที่เยื่อเมือกบุผิว สาเหตุอาจจะเกิดได้จาก

  • เนื้อเยื่อเกิดความแห้ง เนื่องจากช่องจมูกอุดตันทำให้ต้องหายใจทางปาก
  • บาดแผลขนาดเล็กจากทันตกรรม เผลอกัดแก้มจนเป็นแผล หรือการบาดเจ็บอื่นๆ
  • ผิวฟันที่คม เหล็กดัดฟัน ฟันปลอม และรีเทนเนอร์
  • โรคแพ้กลูเตน (Celiac Disease)
  • การแพ้อาหารจำพวกสตอวเบอร์รี่ ผลไม้ตระกูลส้ม กาแฟ ช็อกโกแลต ไข่ ชีส หรือถั่ว
  • อาการแพ้แบคทีเรียบางชนิดในช่องปาก
  • โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
  • โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองที่โจมตีเซลล์ในช่องปาก
  • เอชไอวี/เอดส์
  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
  • ขาดวิตามิน b-12 กรดโฟลิก ธาตุเหล็ก และธาตุสังกะสี
  • ยาบางชนิด
  • ความเครียด
  • การติดเชื้อราแคนดิดา อัลบิแคนส์
  • ปัจจัยเสี่ยง

    ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเยื่อบุช่องปากอักเสบ

    โปรดปรึกษากับคุณหมอเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยและการรักษาโรค

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์ ทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยโรคเยื่อบุช่องปากอักเสบ

    การวินิจฉัยโรคจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค การตรวจหาโรคจะมีทั้งการตรวจร่างกายภายนอก ซึ่งหมอจะตรวจดูลักษณะและการแพร่กระจายของบาดแผล และนอกจากนี้ยังอาจมีการทดสอบแบบอื่น เช่น

    • ใช้ชุดอุปกรณ์สัมผัสทดสอบหาเชื้อแบคทีเรียและไวรัส
    • ขูดหรือป้ายเนื้อเยื่อเพื่อตรวจสอบการติดเชื้อรา
    • ตัดชิ้นเนื้อเยื่อหรือเซลล์เพื่อนำไปศึกษาเพิ่มเติม
    • ตรวจเลือด
    • ทดสอบผิวหนังเพื่อหาอาการแพ้

    คุณหมออาจจะตรวจสอบประวัติการรักษาเพื่อดูว่ามีการรักษาใดที่อาจก่อให้เกิดปัญหาเยื่อบุในช่องปากอักเสบ นอกจากนี้ยังจะสอบถามเรื่องประวัติการมีเพศสัมพันธ์ หรือประวัติการสูบบุหรี่อีกด้วย

    ปัจจัยอื่นๆ อาจก่อให้เกิดอาการอักเสบของเยื่อบุในช่องปากได้ ดังนั้น การตรวจสอบและวินิจฉัยโรคจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อที่หมอจะได้ให้การรักษาที่ถูกต้อง

    วิธีรักษาเยื่อบุช่องปากอักเสบ

    โดยปกติแล้วอาการอักเสบในช่องปากมักจะเป็นไม่นานเกินสองสัปดาห์ แม้จะไม่ได้รับการรักษาก็ตาม ถ้าสามารถหาสาเหตุของโรคได้ หมอก็จะรักษาให้ตรงจุด แต่ถ้าไม่สามารถหาสาเหตุได้ การรักษาก็จะไปเน้นที่การบรรเทาอาการเจ็บแทน

    วิธีการต่อไปนี้อาจช่วยลดอาการปวดและอักเสบของปากได้

  • หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มร้อน เค็ม เผ็ด และอาหารที่มีส่วนผสมของมะนาว
  • ใช้ยาบรรเทาอาการปวด เช่น ไทลินอล (Tylenol) หรือไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)
  • บ้วนปากด้วยน้ำเย็น หรืออมน้ำแข็งถ้าหากมีอาการแสบร้อนในปาก
  • สำหรับอาการร้อนใน ให้เน้นไปที่การบรรเทาอาการหรือป้องกันการติดเชื้อ ดังเช่น

    • ดื่มน้ำให้มากขึ้น
    • บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ
    • ดูแลช่องปากให้ถูกต้อง
    • ใช้ยาชาเฉพาะที่ เช่น ไลโดเคน (Lidocaine) หรือ ไซโลเคน (Xylocaine) ที่บริเวณแผล (ไม่แนะนำสำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ปี)
    • ใช้ยาคอร์ติโคสตีรอยด์ (Corticosteroid) เฉพาะที่ เช่น ยาป้ายปากไตรแอมซิโนโลน (ยาเคนาล็อกป้ายปาก 0.1%) ซึ่งช่วยป้องกันการอักเสบบริเวณริมฝีปากและเหงือก นอกจากนี้ลิปบาล์ม Blistex และยา Campho-Phenique ก็อาจจะลดอาการอักเสบของร้อนในได้ โดยเฉพาะถ้าทาตั้งแต่เริ่มมีอาการ

    สำหรับการอักเสบที่รุนแรงอาจรักษาได้โดย

    • เจล Lidex
    • ยารักษาแผลเปื่อย Aphthasol
    • น้ำยาบ้วนปาก Peridex

    ถ้าคุณมีอาการร้อนในบ่อยครั้ง คุณอาจจะขาดโฟเลต หรือวิตามิน B-12 ลองปรึกษาหมอเรื่องการตรวจหาอาการขาดสารอาหารนี้

    ยาแก้อักเสบ เช่น ยาคอร์ติโคสตีรอยด์ (รวมไปถึงยาเพรดนิโซน) ใช้รักษาอาการร้อนในได้ผลดีที่สุด เพราะยาจะช่วยลดอาการปวดบวม นอกจากนี้ยังสามารถใช้กับอาการของโรคเริมที่เป็นมานานกว่าสามถึงสี่วันได้อีกด้วย เนื่องจากเมื่อถึง ณ จุดนั้น ตัวเชื้อโรคได้หายไปแล้ว เหลือไว้แต่อาการอักเสบ

    ไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถใช้ยาแก้อักเสบชนิดเดียวกันได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากใช้ยาเพรดนิโซนนั้นกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มการกินยาชนิดใหม่

    โรคเริมไม่สามาถรักษาให้หายขาดได้ การดูแลจะมีดังนี้

    • ใช้ยาวาลาไซโคลเวียร์ (Valtrex) เมื่อเริ่มมีอาการ
    • ทาครีมหรือขี้ผึ้งบริเวณแผลเพื่อป้องกันเชื้อโรค เช่น ครีมอะไซโคลเวียร์ (acyclovir) 5%
    • ประคบเย็นบริเวณบาดแผล
    • การกินยาแอล-ไลซีน (L-lysine) หรือยาต้านไวรัสที่แพทย์สั่งให้ อาจจะช่วยได้ประมาณหนึ่ง เนื่องจากตัวยาจะช่วยลดเวลาการรักษาแผลให้เร็วขึ้น.

    ไม่ใช่แผลในปากทุกชนิดที่เป็นอันตราย ควรไปหาหมอถ้าหากอาการอักเสบในช่องปากนั้นไม่หายภายในสองสัปดาห์

    การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ และการเยียวยาตนเอง

    การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองแบบไหนที่จะช่วยรักษาอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบ

    ลักษณะไลฟ์สไตล์และการเยียวยาด้วยตนเองต่อไปนี้อาจจะช่วยคุณรักษาอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบได้

    • ใช้น้ำยาบ้วนปากแบบฆ่าเชื้อโรคและไม่มีแอลกอฮอล์
    • รักษาอาการปากแห้งเรื้อรัง
    • ใช้แปรงสีฟันที่อ่อนนุ่ม
    • รับประทานอาหารมีประโยชน์และดื่มน้ำให้เพียงพอ
    • ดูแลสุขภาพของช่องปากอย่างสม่ำเสมอ

    หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจให้ดีขึ้นถึงทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 4 สัปดาห์ก่อน

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา