backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม (Cerebral arteriovenous malformation)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 02/07/2020

โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม (Cerebral arteriovenous malformation)

 โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม (Cerebral arteriovenous malformation)  เกิดจากความผิดปกติที่เชื่อมกันระหว่างหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดงในสมอง โดยหลอดเลือดแดง ทำหน้าที่ ในการถ่ายเลือดออกจากหัวใจ ที่มีปริมาณออกซิเจน ไปเลี้ยงสมอง และหลอดเลือดดำนำเลือดที่เสียของร่างกายกลับเข้าสู่หัวใจ เพื่อนำกลับมาฟอกที่ปอด โดยโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็มจะเข้าไปขัดขวางกระบวนการทำงานนี้ ส่งผลให้ผู้ป่วย มีอาการปวดศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชัก สูญเสียการมองเห็น เป็นต้น

คำจำกัดความ

โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม(Cerebral arteriovenous malformation) คืออะไร  

โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม (Cerebral arteriovenous malformation)  เกิดจากความผิดปกติที่เชื่อมกันระหว่างหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดงในสมอง

อย่างไรก็ตามหลอดเลือดแดง ทำหน้าที่ ในการถ่ายเลือดออกจากหัวใจ ที่มีปริมาณออกซิเจน ไปเลี้ยงสมอง และ หลอดเลือดดำนำเลือดที่เสียของร่างกายกลับเข้าสู่หัวใจ เพื่อนำกลับมาฟอกที่ปอด โดยโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็มจะเข้าไปขัดขวางกระบวนการทำงานนี้ ส่งผลให้ผู้ป่วย มีอาการปวดศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชัก สูญเสียการมองเห็น เป็นต้น

พบได้บ่อยเพียงใด

โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็มเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเพศชายที่มีอายุระหว่าง 10-40 ปี

อาการ

อาการโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม

ผู้ป่วยสตรีมีครรภ์โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็มอาจมีอาการรุนแรงมากกว่าปกติ เนื่องจากมีความเปลี่ยนแปลงของปริมาณเลือดและความดันโลหิต รวมถึงเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี มักกมีอาการชัก มีเลือดคั่งที่หัวใจ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม จะมีอาการแสดงออก ดังนี้

  • ชัก
  • ปวดศีรษะ
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • สูญเสียการมองเห็น
  • อัมพาต
  • สับสน ไม่สามารถเข้าใจการสื่อสารของผู้อื่น

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็มที่แน่ชัด แต่ได้มีการสันนิษฐาณว่าโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็มเกิดขึ้นในระหว่างการพัฒนาของทารกในครรภ์

ปกติหัวใจจะต้องส่งเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนไปเลี้ยงสมองผ่านหลอดเลือดแดง  โดยเม็ดเลือดแดงจะไหลช้าๆ ผ่านกลุ่มหลอดเลือดฝอยจำนวนมาก เพื่อเพิ่มออกซิเจนและสารอาหารต่าง ๆ ให้กับเนื้อเยื่อในสมอง หลังจากนั้นเลือดจะไหลเข้าหลอดเลือดดำเพื่อกลับหัวสู่หัวใจ เพื่อนำมาฟอกที่ปอด

แต่สำหรับผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม เกิดจากความผิดปกติระหว่างหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ  เนื่องจาก เม็ดเลือดแดงในหลอดเลือดแดงไหลเวียนเลือดเร็วกว่าปกติโดยไม่ผ่านเนื้อเยื่อรอบ ๆ ผ่านตรงเข้าสู้หลอดเลือดดำเลย

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม

  • เพศชาย
  • สมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม
  • การวินิจฉัยและการรักษา

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการตรวจร่างกาย สอบถามอาการ รวมถึงการทดสอบต่างๆ ดังนี้

    • เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computerized Tomography Scan : CT Scan) เพื่อดูภาพรายละเอียดภายในร่างกายอย่างชัดเจน
    • การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging : MRI)  ตรวจโดยการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อหาความผิดปกติภายในสมอง
    • การตรวจวินิจฉัยหลอดเลือด (Angiography) ตรวจโดยฉีดสี (สารทึบรังสี) ใช้สายสวนเข้าไปในเส้นเลือด เพื่อหาความผิดปกติ

    การรักษาโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม

    วิธีการรักษาโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม จะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับอายุ และอาการของแต่ละบุคคล สิ่งที่สำคัญคือ การรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้เลือดออกภายในสมอง ซึ่งอาจนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมอง และอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต

    โดยมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

    • รักษาด้วยยา แพทย์อาจแนะนำยาที่ช่วยบรรเทาอาการปวด และอาการชัก
    • การผ่าตัด การผ่าตัดนั้นแพทย์ได้แบ่งออกเป็น 3 วิธี คือ การผ่าตัดแบบเดิม การใช้รังสีในการรักษา การอุดเส้นเลือด

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาโรคหลอดเลือดสมองเอวีเอ็ม

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาโรคหลอดเลือดสมองเอวีเอ็ม สามารถทำได้ดังนี้

    เราสามารถป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเอวีเอ็ม ด้วยการออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หากมีอาการเข้าข่ายเป็นโรคหลอดเลือดสมองเอวีเอ็ม หรือมีอาการรุนแรง ควรรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการวินิจฉัยโรค และรับการรักษาที่ถูกต้อง

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 02/07/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา