backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ไบโพล่า อาการ สาเหตุ การรักษา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 20/10/2021

ไบโพล่า อาการ สาเหตุ การรักษา

ไบโพล่า หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว เป็นภาวะทาอารมณ์ที่อาจทำให้อารมณ์แปรปรวนเป็นอย่างมาก สามารถเปลี่ยนจากการมีความสุข เป็นการมีอารมณ์ซึมเศร้าอย่างมาก อารมณ์แปรปรวนอาจเกิดขึ้น 2-3 ครั้งต่อปี หรือแม้กระทั่ง 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ อาการของไบโพล่าอาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ การทำงาน การเรียน หรือแม้กระทั่งอาจส่งผลรุนแรงถึงขั้นฆ่าตัวตาย ดังนั้น ผู้ที่เป็นไบโพล่าจึงควรเข้ารับการรักษา เพื่อควบคุมภาวะอารมณ์แปรปรวน

คำจำกัดความ

ไบโพล่า คืออะไร

ไบโพล่า หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder) หรือเป็นที่รู้จักอีกอย่างหนึ่งว่า โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว (Manic Depression) เป็นภาวะทางจิตที่รุนแรงที่อาจทำให้มีอารมณ์แปรปรวนเป็นอย่างมาก อาจเปลี่ยนจากการมีความสุข (Mania) เป็นการมีอารมณ์ซึมเศร้าอย่างมาก (Depression) บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยอาจมีอารมณ์ปกติในระหว่างช่วงอารมณ์ทั้งสองนี้ได้ หากผู้ป่วยอารมณ์ไม่ดี อาจทำให้รู้สึกซึมเศร้า สิ้นหวัง และอาจไม่มีความสนใจในกิจกรรมประจำวัน แต่หากผู้ป่วยอารมณ์ดี อาจทำให้รู้สึกเต็มไปด้วยความตื่นเต้นและความกระตือรือร้น

ภาวะอารมณ์แปรปรวนอาจเกิดขึ้น 2-3 ครั้งต่อปี หรือแม้กระทั่ง 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากขึ้น อาการที่เกิดขึ้นอาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ การทำงาน หรือการเรียน หรือแม้กระทั่งอาจส่งผลรุนแรงถึงขั้นฆ่าตัวตาย ดังนั้น ผู้ที่เป็นไบโพล่าจึงควรเข้ารับการรักษา เพื่อควบคุมภาวะอารมณ์แปรปรวน

ไบโพล่า พบได้บ่อยแค่ไหน

ไบโพล่ามักเริ่มมีอาการในระหว่างช่วงวัยรุ่นตอนปลายหรือช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น แต่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่สามารถเป็นไบโพล่าได้ ผู้ป่วยจำนวนอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยทั้งหมดอาจเริ่มมีอาการก่อนอายุ 25 ปีและมักมีอาการตลอดชีวิต ให้หมั่นปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของไบโพล่า

ผู้ป่วยที่เป็นโรคไบโพล่า อาจมีภาวะทางอารมณ์ที่รุนแรงผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเฉพาะที่เรียกว่า “ช่วงอารมณ์ (Mood Episodes)” แต่ละช่วงอารมณ์หมายถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากอารมณ์และพฤติกรรมปกติของคุณ ภาวะที่สนุกสนานหรือตื่นเต้นมากเกินไปเรียกว่าช่วงอารมณ์มีความสุข (Manic Episode) และภาวะที่เสียใจหรือสิ้นหวังอย่างมากเรียกว่าช่วงอารมณ์ซึมเศร้า (Depressive Episode) ในบางครั้ง ช่วงอารมณ์มีทั้งอาการที่มีทั้งความสุขและความซึมเศร้า เรียกว่าภาวะร่วม (Mixed State) นอกจากนั้น ผู้ป่วยอาจมีอาการพลุ่งพล่านและกระวนกระวายในระหว่างช่วงอารมณ์ การเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงเกี่ยวกับความกระตือรือร้น กิจกรรม การนอนหลับ และพฤติกรรมเป็นไปในทิศทางเดียวกับการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ดังกล่าวนี้

ในระหว่างช่วงอารมณ์มีความสุข อาจมีสิ่งบ่งชี้และอาการ ได้แก่

  • รู้สึกมีความสุขและตื่นเต้นมากเกินไป
  • มีอาการกระวนกระวายมาก
  • รับประทานมากขึ้น
  • นอนน้อยมาก
  • มีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นและเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงสูงและน่าพึงพอใจ
  • พูดเร็วมากและเปลี่ยนเรื่องคุยได้เร็ว
  • ความสามารถในการตัดสินใจลดลงและมักสับสนเมื่อต้องมีการตัดสินใจ
  • อาจได้ยินเสียงแปลกประหลาดหรือมองเห็นภาพหลอน

ในระหว่างช่วงช่วงอารมณ์ซึมเศร้า อาจมีสิ่งบ่งชี้และอาการ ได้แก่

  • รู้สึกเสียใจและสิ้นหวังมากเกินไปเป็นเวลานาน
  • ขาดความสนใจในกิจกรรมประจำวัน
  • รับประทานน้อยลง
  • รู้สึกง่วงซึม
  • รู้สึกละอายใจเกี่ยวกับตนเอง
  • สมาธิสั้น
  • มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย

ช่วงอารมณ์เหล่านี้อาจเกิดขึ้น 2-3 ครั้งต่อปีหรือเกิดขึ้นได้บ่อยถึงทุกสัปดาห์ โปรดติดต่อคุณหมอหากคุณหรือคนที่คุณรักกำลังทรมานจากสิ่งบ่งชี้และอาการใด ๆ ข้างต้น

ควรไปพบหมอเมื่อใด

ผู้ป่วยอาจต้องไปพบหมอหากมีอาการต่อไปนี้

  • มีสิ่งบ่งชี้และอาการใด ๆ ของช่วงอารมณ์ที่คงอยู่เป็นเวลานาน
  • มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย
  • มีความรู้สึกก้าวร้าวหรือไม่กลัวการเผชิญหน้า
  • หรือหากมีอาการนอนไม่หลับติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน

สาเหตุ

สาเหตุของไบโพล่า

สาเหตุของไบโพล่ายังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่มีสาเหตุหลายประการที่อาจเกี่ยวข้อง ได้แก่

  • สารเคมีในสมอง สมองอาจได้รับผลจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่ส่งผลต่อระดับสารเคมีในสมอง (สารสื่อประสาท) ในสมอง สารสื่อประสาทเหล่านี้มีผลต่ออารมณ์ของผู้ป่วย
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม พ่อแม่หรือสมาชิกในครอบครัวอาจเป็นไบโพล่าและถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นได้
  • อิทธิพลทางสังคม งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าอาจจะมีปัจจัยทางสังคมที่อาจเป็นสาเหตุของไบโพล่า ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ เหตุการณ์บอบช้ำทางจิตใจในช่วงวัยเด็ก การเคารพตัวเองต่ำ หรือประสบกับความสูญเสียที่ร้ายแรง

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของไบโพล่า

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจเพิ่มโอกาสในการเป็นไบโพล่า ได้แก่

  • ช่วงเวลาที่มีความเครียดสูง
  • การใช้ยาหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในทางที่ผิด
  • มีประวัติครอบครัวเป็นไบโพล่า มีอาการป่วยทางจิต หรืออื่น ๆ
  • มีการเปลี่ยนแปลงในชีวิตที่บอบช้ำทางจิตใจ เช่น การสูญเสียบุคคลที่รักอย่างกะทันหัน

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลที่นำเสนอมิได้ใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยไบโพล่า

สำหรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง จิตแพทย์อาจทำการตรวจดังต่อไปนี้

  • การตรวจร่างกาย การตรวจประเภทนี้จะช่วยหาสาเหตุของอาการต่าง ๆ ได้
  • การตรวจทางจิตวิทยา แพทย์จะถามชุดคำถามเกี่ยวกับความรู้สึก ช่วงอารมณ์ และรูปแบบพฤติกรรมของคุณ
  • แผนผังอารมณ์ แพทย์อาจบันทึกรูปแบบการนอน อารมณ์ และพฤติกรรมของคุณเพื่อช่วยกำหนดการวินิจฉัย

การรักษาไบโพล่า

การรักษาโรคอารมณ์สองขั้วอาจไม่ทำให้หายขาดแต่จะทำให้ภาวะอารมณ์แปรปรวนของคุณคงที่ได้ การรักษาอาจไม่ได้กำหนดโดยจิตแพทย์ (แพทย์ที่เชี่ยวชาญในด้านความผิดปกติทางจิต) โดยขึ้นอยู่กับอาการ สำหรับทางเลือกในการรักษาบางประการ ได้แก่

  • การรักษาด้วยยา แพทย์อาจสั่งยาเพื่อทำให้อารมณ์คงที่ ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการได้ ผู้ป่วยอาจต้องใช้ยาที่แพทย์สั่งเป็นเวลานานเพื่อป้องกันช่วงซึมเศร้าหรือช่วงอันตรายใด ๆ ยาเหล่านี้ ได้แก่ ยาต้านอาการซึมเศร้า (Antidepressants) ยาควบคุมอารมณ์ (Mood Stabilizers) ยาระงับอาการทางจิต (Antipsychotics) หรือยาต้านความวิตกกังวล (Anti-anxiety Drugs)
  • การเข้ารับคำปรึกษา ผู้ที่เป็นไบโพล่าอาจจำเป็นต้องไปพบผู้ให้คำปรึกษา เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้นและวิธีก้าวข้ามผ่านช่วงอารมณ์ต่าง ๆ อาจมีกลุ่มให้ความช่วยเหลือที่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่และรับมือกับอาการผิดปกติได้
  • การรักษาการติดยา หากผู้ป่วยกำลังประสบกับการติดยา อาจต้องเข้ารับการรักษา เนื่องจาก การติดยาอาจทำให้การรักษาไบโพล่าเป็นเรื่องที่ยากขึ้น
  • การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจจำเป็นต้องพักในโรงพยาบาลเพื่อเฝ้าดูอาการตามปกติ สิ่งนี้เป็นสิ่งจำเป็นเมื่อผู้ป่วยมีอาการอยากทำร้ายตนเองหรือมีอาการทางจิต ในระยะนี้ ผู้ป่วยอาจทำร้ายตนเองหรือผู้อื่นได้
  • ในแต่ละสถานการณ์อาจไม่เหมือนกัน ควรปรึกษาจิตแพทย์เกี่ยวกับทางเลือกในการรักษาที่ดีที่สุด

    การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

    การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองที่ช่วยรับมือไบโพล่า

    การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยให้รับมือกับไบโพล่าได้

    • แจ้งให้แพทย์หรือคนที่ไว้ใจทราบในทันทีหากมีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย
    • นอนให้เพียงพอโดยเข้านอนตามเวลาที่เหมาะสม
    • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    • หลีกเลี่ยงความสัมพันธ์ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ
    • งดดื่นเครื่องแอลกอฮอล์และหลีกเลี่ยงการใช้ยาในทางที่ผิด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 20/10/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา