backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

กระดูกหน้าแข้งหัก (Tibia Fracture)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

กระดูกหน้าแข้งหัก (Tibia Fracture)

กระดูกหน้าแข้งหัก (Tibia Fracture) อาจมีตั้งแต่รอยช้ำไปถึงความเจ็บปวดอย่างรุนแรงที่บริเวณขาส่วนล่าง ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการบาดเจ็บ แพทย์จะตรวจร่างกาย และอาจทำการตรวจบางอย่าง เพื่อให้เห็นภาพของอาการกระดูกหน้าแข้งหัก

คำจำกัดความ

กระดูกหน้าแข้งหัก คืออะไร

แข้งหรือกระดูกหน้าแข้ง เป็นกระดูกใหญ่สองชิ้นบริเวณขาส่วนล่าง ภาวะกระดูกหน้าแข้งหัก (Tibia Fracture) อาจมีตั้งแต่รอยช้ำ ถึงความเจ็บปวดอย่างรุนแรง บริเวณขาส่วนล่าง ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการบาดเจ็บ ในการวินิจฉัยอาการดังกล่าว แพทย์จะตรวจร่างกาย และอาจทำการตรวจบางอย่าง เพื่อให้เห็นภาพของอาการกระดูกหน้าแข้งหัก

แพทย์จะแนะนำการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับประเภทของอาการกระดูกหน้าแข้งหัก เวลาพักฟื้นก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการเช่นกัน โดยอาจใช้เวลารักษาสี่ถึงหกเดือน เพื่อให้หายเป็นปกติ

กระดูกหน้าแข้งหักพบได้บ่อยแค่ไหน

อาการกระดูกหน้าแข้งหักเป็นอาการกระดูกหักที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์

อาการ

อาการของกระดูกหน้าแข้งหักคืออะไร

อาการทั่วไปของกระดูกหน้าแข้งหัก ได้แก่

  • ความเจ็บปวดอย่างรุนแรง บริเวณขาส่วนล่าง
  • เดิน วิ่ง หรือเตะขาลำบาก
  • ขาชา หรือเป็นเหน็บ
  • ขาข้างที่บาดเจ็บไม่สามารถรับน้ำหนักได้
  • ขาส่วนล่าง เข่า หรือหน้าแข้งผิดรูป
  • กระดูกยื่นออกมาจากผิวหนัง
  • สามารถงอเข่าเข้าได้อย่างจำกัด
  • จุดที่บาดเจ็บมีรอยบวม
  • ขาข้างที่ได้รับบาดเจ็บเกิดรอยช้ำและผิวซีดลง

เมื่อกระดูกหน้าแข้งหัก กระดูกชิ้นอื่นบริเวณขาส่วนล่าง ที่เรียกว่า กระดูกน่อง มักจะได้รับบาดเจ็บด้วย

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจจะมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสัญญาณ หรืออาการที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถามอื่นๆ โปรดปรึกษาแพทย์ เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดจึงควรพูดคุยกับแพทย์ เพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของ กระดูกหน้าแข้งหัก

สาเหตุของภาวะกระดูกหน้าแข้งหักที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • การชนหรือกระแทกอย่างรุนแรง เช่น ได้รับอุบัติเหตุทางรถยนต์ และอาจส่งผลให้เกิดภาวะกระดูกหน้าแข้งหักที่รุนแรงที่สุด
  • การหกล้ม โดยเฉพาะจากที่สูง โดยเฉพาะเมื่อตกลงมากระแทกพื้นผิวแข็ง โดยอาการกระดูกหน้าแข้งหักลักษณะนี้มักพบบ่อยในนักกีฬา หรือผู้สูงอายุ
  • การเคลื่อนไหวที่ต้องบิดตัว หรือหมุนตัว เช่น การเล่นสโนว์บอร์ด สกี กีฬาที่ต้องปะทะกัน
  • อาการป่วยบางประการ อาจส่งผลให้กระดูกหน้าแข้งหัก เช่น เบาหวานชนิดที่สอง โรคข้อกระดูกอักเสบ

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดภาวะกระดูกหน้าแข้งหัก

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยกระดูกหน้าแข้งหัก

การวินิจฉัยอาการกระดูกหน้าแข้งหักขึ้นอยู่กับประวัติผู้ป่วย รวมถึงประเภทของการบาดเจ็บ แพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับโรคอื่นๆ ที่ผู้ป่วยอาจเป็นอยู่ หรือยาที่ผู้ป่วยรับประทานอยู่

การตรวจร่างกาย เพื่อวินิจฉัยภาวะกระดูกหน้าแข้งหัก ได้แก่

แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจด้วยการเอ็กซเรย์ หรือการถ่ายภาพ เช่น การใช้ซีทีสแกน โดยการเอ็กซเรย์จะช่วยยืนยันการหักของกระดูก และหาว่าเข่าหรือข้อต่อกระดูกข้อเท้าหักด้วยหรือไม่

หลังจากดูผลเอ็กซเรย์แล้ว หากแพทย์สงสัยว่า เข่าหรือข้อต่อกระดูกข้อเท้าหักด้วยหรือไม่ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ซีทีสแกน เพื่อให้ได้ภาพตัดขวางของขา

การรักษากระดูกหน้าแข้งหัก

ในการรักษาภาวะกระดูกหน้าแข้งหัก แพทย์จะต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ร่วมกัน

  • ขอบเขตของอาการบาดเจ็บ พิจารณาปริมาณความเสียหายของเนื้อเยื่ออ่อน
  • สาเหตุของการบาดเจ็บ
  • สุขภาพโดยรวมและประวัติผู้ป่วย
  • ความพึงพอใจส่วนบุคคล
  • การหักบริเวณอื่น เช่น กระดูกน่องหัก

การรักษากระดูกหน้าแข้งหักโดยไม่ต้องผ่าตัด ได้แก่

จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal Injury นักวิจัยกำลังค้นหาการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพ เพื่อรักษาการหักของกระดูกโดยการใช้ Bone Morphogenetic Protein หรือโปรตีนในกลุ่มที่ทำให้เกิดการสร้างกระดูก แต่งานวิจัยสำหรับการรักษาดังกล่าวยังคงอยู่ในขั้นเริ่มต้น

ในบางกรณี เช่น กระดูกหน้าแข้งหักแบบแผลเปิด กระดูกหน้าแข้งแตกหักออกมาเป็นชิ้น กระดูกไม่แข็งแรงอย่างมาก แพทย์อาจแนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัด

สำหรับการรักษาอาการกระดูกหน้าแข้งหัก หากใช้วิธีรักษาแบบไม่ต้องผ่าตัดหลายวิธีร่วมกันแล้วไม่ได้ผล อาจต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดที่นิยมใช้เพื่อรักษาอาการกระดูกหน้าแข้งหัก ต่อไปนี้

  • การผ่าตัดแบบใส่โลหะยึดตรึงกระดูกภายใน โดยใช้ตะปูควง โลหะหรือเพลต (plate) เพื่อยึดกระดูกเข้าด้วยกัน
  • การผ่าตัดแบบใส่โลหะยึดตรึงกระดูกภายนอก ที่เชื่อมตะปูควงหรือหมุดในบริเวณที่กระดูกหัก กับแท่งเหล็กภายนอกบริเวณขา เพื่อเสริมความมั่นคง

โดยทั่วไป การรักษาด้วยการผ่าตัดเหล่านี้ มักใช้ร่วมกับกายภาพบำบัด การออกกำลังกายที่บ้าน และยาแก้ปวด การผ่าตัดเหล่านี้มีความเสี่ยงต่ำ ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงของคุณก่อนผ่าตัด

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองที่ช่วยรับมือกับกระดูกหน้าแข้งหัก

ไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองต่อไปนี้ อาจช่วยให้คุณจัดการกับอาการกระดูกหน้าแข้งหักได้

  • การเคลื่อนไหวช่วงแรก ได้แก่ การเคลื่อนไหวหัวเข่า ข้อเท้า เท้า และนิ้วเท้าจะช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวในขั้นเริ่มแรก เพื่อหลีกเลี่ยงอาการแข็งตึง
  • กายภาพบำบัด หลังจากนำเฝือกหรือที่ดามขาออก จะช่วยฟื้นฟูความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวของข้อต่อ และความยืดหยุดของร่างกาย
  • เดิน โดยใช้เครื่องช่วยเดิน หรือไม้ค้ำยัน หลังการรักษาเสร็จสิ้น

หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณได้ดีขึ้น

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา