backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ซิสติกไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 05/07/2021

ซิสติกไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis)

คำจำกัดความ

ซิสติกไฟโบรซิส คืออะไร

ซิสติกไฟโบรซิส (Cystic  Fibrosis) เป็นอาการป่วยเรื้อรัง ที่ส่งผลต่อเซลล์ที่สร้างเหงื่อและเมือก เมือกเป็นของเหลวที่ลื่นและค่อนข้างเหนียว ที่ช่วยหล่อลื่นและป้องกันเยื่อเมือก เมือกที่เกิดจากโรคซิสติกไฟโบรซิสจะหนาและเหนียวผิดปกติ เมือกดังกล่าวจะไปอุดกั้นปอด และก่อให้เกิดภาวะปอดติดเชื้อเรื้อรัง

นอกจากนี้ ซิสติกไฟโบรซิสยังส่งผลต่อตับอ่อน ซึ่งส่งผลให้เกิดความผิดปกติ ในการสร้างสารเคมีชนิดพิเศษที่เรียกว่าเอนไซม์ เพื่อใช้สำหรับการย่อยอาหาร หากไม่มีเอนไซม์แล้ว ร่างกายจะไม่สามารถดูดซึมสารอาหารจากอาหารได้

ซิสติกไฟโบรซิส พบได้บ่อยเพียงใด

ซิสติกไฟโบรซิสเป็นโรคทางพันธุกรรม ที่พบได้ทั่วไปในแถบยุโรปตอนเหนือ ผู้ป่วยโรคซิสติกไฟโบรซิสมีช่วงชีวิตที่สั้น แต่ด้วยการรักษาสมัยใหม่ พบว่าผู้ป่วยโรคซิสติกไฟโบรซิสจำนวนมากขึ้น สามารถมีชีวิตอยู่ได้ถึงวัยกลางคน หรือมากกว่า

อาการ

อาการของโรค ซิสติกไฟโบรซิส เป็นอย่างไร

สิ่งบ่งชี้และอาการของโรคซิสติกไฟโบรซิสมีหลากหลาย โดยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค

อาจมีสิ่งบ่งชี้และอาการของโรคที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อกังวลเกี่ยวกับอาการใดอาการหนึ่ง ให้ปรึกษาแพทย์ ผู้ป่วยโรคซิสติกไฟโบรซิสมีระดับเกลือในเหงื่อที่สูงกว่าปกติ พ่อแม่สามารถรู้สึกถึงรสของเกลือได้เมื่อจูบลูกของตน

อาการอื่นๆ ได้แก่

สิ่งบ่งชี้และอาการเกี่ยวกับทางเดินหายใจ

ผู้ป่วยโรคซิสติกไฟโบรซิสมีเมือกหนาและเหนียว ที่ก่อตัวขึ้นในทางเดินหายใจ การก่อตัวขึ้นของเมือก ทำให้แบคทีเรียเติบโต และทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายยิ่งขึ้น การติดเชื้อจะอุดกั้นทางเดินหายใจ และทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง ที่ก่อให้เกิดเสมหะ หรือเมือกหนาที่มีเลือดปนในบางครั้ง

นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคซิสติกไฟโบรซิสยังมีโอกาสที่จะมีภาวะโพรงจมูกอักเสบชั่วคราว ปอดบวม และปอดติดเชื้อ ที่ไม่มีการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะทั่วไป เมื่อโรคซิสติกไฟโบรซิสมีอาการแย่ลง คุณอาจมีภาวะที่รุนแรงขึ้น เช่น ภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ (pneumothorax) หรือโรคหลอดลมพอง (bronchiectasis)

สิ่งบ่งชี้และอาการเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร

สำหรับโรคซิสติกไฟโบรซิส เมือกจะอุดกั้นหลอดหรือช่องในตับอ่อน (อวัยวะภายในช่องท้อง) การอุดกั้นดังกล่าวนี้ป้องกันไม่ให้เอนไซม์ไปยังลำไส้ได้

ผลก็คือ ลำไส้จะไม่สามารถดูดซึมไขมันและโปรตีนได้อย่างเต็มที่ ก่อให้เกิดอาการท้องเสียเรื้อรัง และมีอุจจาระก้อนใหญ่ มีกลิ่นเหม็นและเหนียว การอุดกั้นในลำไส้สามารถเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะในเด็ก แก๊สที่มากเกินไปในลำไส้ หรืออาการท้องผูกรุนแรง อาจทำให้มีอาการปวดท้องและแน่นท้อง

เมื่อโรคซิสติกไฟโบรซิสมีอาการแย่ลง ปัญหาอื่นๆ อาจเกิดขึ้นตามมา อย่างเช่น

  • ตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis) เป็นภาวะที่ตับอ่อนเกิดการอักเสบ ซึ่งทำให้เกิดอาการเจ็บปวด
  • ทวารหนักย้อย (Rectal prolapse) อาการไอเรื้อรัง หรือปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่าย อาจทำให้เนื้อเยื่อทวารหนักจากด้านใน เกิดการเคลื่อนตัวออกมาจากทวารหนักได้
  • โรคตับที่เกิดจากท่อน้ำดีติดเชื้อหรืออุดกั้น
  • โรคเบาหวาน
  • นิ่วในถุงน้ำดี
  • ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

    หากคุณหรือลูกของคุณมีอาการของโรคซิสติกไฟโบรซิส หรือหากคนในครอบครัวของคุณเป็นโรคซิสติกไฟโบรซิส ให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการตรวจโรคนี้ ให้เข้ารับการรักษาโดยทันที หากคุณหรือลูกของคุณมีอาการหายใจลำบาก ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

    สาเหตุ

    สาเหตุของโรคซิสติกไฟโบรซิสเกิดจากอะไร

    ความบกพร่องที่เกิดขึ้นในยีน CFTR เป็นสาเหตุของโรคซิสติกไฟโบรซิส ยีนชนิดนี้สร้างโปรตีนที่ควบคุมการเคลื่อนตัวของเกลือและน้ำ ที่เข้าและออกจากเซลล์ร่างกายของคุณ ในผู้ป่วยโรคซิสติกไฟโบรซิส ยีนที่สร้างโปรตีนชนิดนี้ทำงานได้ไม่ดี จึงก่อให้เกิดเมือกข้นและเหนียว และเหงื่อที่มีรสเค็มมาก

    เด็กจำเป็นต้องได้รับหนึ่งสำเนายีนจากทั้งพ่อและแม่ ถึงจะสามารถทำให้เกิดโรคขึ้นได้ หากเด็กได้รับเพียงหนึ่งสำเนายีน เด็กจะไม่พัฒนากลายเป็นโรคซิสติกไฟโบรซิส แต่จะเป็นพาหะนำโรค และอาจจะถ่ายทอดยีนดังกล่าวไปสู่ลูกของพวกเขาได้

    ปัจจัยเสี่ยง

    ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคซิสติกไฟโบรซิส

    ปัจจัยเสี่ยงสำหรับโรคซิสติกไฟโบรซิส ได้แก่

    • ประวัติครอบครัว เนื่องจากโรคซิสติกไฟโบรซิสเป็นภาวะผิดปกติ ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม จึงเกิดขึ้นในครอบครัวได้ หากสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคดังกล่าว
    • เชื้อชาติ ถึงแม้ว่าโรคซิสติกไฟโบรซิสจะสามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยทุกเชื้อชาติ แต่โรคซิสติกไฟโบรซิสนั้นสามารถพบได้มากที่สุดในคนผิวขาว ที่มีบรรพบุรุษมาจากยุโรปตอนเหนือ

    การวินิจฉัยและการรักษา

    ข้อมูลที่นำเสนอมิได้ใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยอาการของโรคซิสติกไฟโบรซิส

    แพทย์ทำการวินิจฉัยโรคซิสติกไฟโบรซิสโดยยึดตามผลที่ได้จากการตรวจที่หลากหลาย ได้แก่

    • การตรวจเหงื่อ ใช้สารเคมีกระตุ้นเหงื่อในบริเวณเล็ก ๆ ที่ผิวหนัง แล้วนำเหงื่อที่เก็บได้ไปตรวจสอบเพื่อดูว่ามีเกลือเจือปนมากกว่าปกติหรือไม่
    • การตรวจยีน สามารถตรวจตัวอย่างดีเอ็นเอจากเลือดเพื่อหาข้อบกพร่องเฉพาะในยีนที่ก่อให้เกิดโรคซิสติกไฟโบรซิส
    • การตรวจการขับถ่าย (อุจจาระ) และเลือดเพื่อหาความผิดปกติในตับอ่อน
    • การตรวจเอ็กซ์เรย์ปอด หรือตรวจการหายใจเพื่อตรวจสภาพปอด
    • การตรวจก่อนเกิด (prenatal testing) สามารถช่วยวินิจฉัยโรคนี้ได้

    การรักษาอาการของโรคซิสติกไฟโบรซิส

    โรคซิสติกไฟโบรซิสไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การบำบัดสามารถช่วยบรรเทาอาการของโรค และลดภาวะแทรกซ้อนได้

    • การใช้ยาช่วยละลายเมือก และป้องกันปอดอุดกั้นได้
    • ยาปฏิชีวนะ มักใช้สำหรับอาการติดเชื้อด้วยเช่นกัน
    • การใช้อาหารเสริมเอนไซม์ใช้ทดแทนการขาดเอนไซม์ในตับอ่อน อาหารที่มีโปรตีนสูงและไขมันต่ำชนิดพิเศษ อาจช่วยเสริมสร้างภาวะโภชนาการได้
    • การรักษาระบบทางเดินหายใจ สามารถช่วยกำจัดเมือกจากปอดได้โดยการเคาะปอด (chest percussion) โดนการนอนลงให้ศีรษะอยู่ในระดับต่ำกว่าเท้า
    • การตัดติ่งเนื้อเมือกจมูกออก แพทย์อาจแนะนำการผ่าตัด เพื่อตัดติ่งเนื้อเมือกจมูกที่อุดกั้นการหายใจออกไป
    • หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจที่รุนแรง มีภาวะแทรกซ้อนในปอดที่เป็นอันตรายต่อชีวิต หรือมีการดื้อยาปฏิชีวนะที่เพิ่มมากขึ้นที่ใช้รักษาภาวะปอดติดเชื้อ การปลูกถ่ายปอดอาจเป็นทางเลือกในการรักษาได้อีกทางหนึ่ง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองเพื่อรับมือกับอาการของโรคซิสติกไฟโบรซิส

    โรคซิสติกไฟโบรซิสมักสัมพันธ์กับอาการปวดที่ค่อนข้างมาก คุณสามารถบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ดังนี้

    • ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ และรับประทานยา และเข้ารับการรักษาตามที่ได้รับคำแนะนำ ให้พาลูกของคุณไปพบหมออย่างน้อยสามหรือสี่ครั้งต่อปี
    • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
    • พาลูกของคุณไปเข้ารับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำปี
    • ให้ดื่มน้ำมากๆ
    • ให้หลีกเลี่ยงละอองและควัน ปัจจัยเหล่านี้จะทำให้ปอดระคายเคืองและทำให้โรคซิสติกไฟโบรซิสมีอาการแย่ลง
    • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    • รับประทานอาหารเสริมเอนไซม์ อาหารที่มีโปรตีนสูงและไขมันต่ำชนิดพิเศษอาจช่วยเสริมสร้างภาวะโภชนาการได้

    หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

    Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 05/07/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา