backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ตรวจวัดการแข็งตัวของเลือด (Activated Clotting Time)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ตรวจวัดการแข็งตัวของเลือด (Activated Clotting Time)

การ ตรวจวัดการแข็งตัวของเลือด (Activated Clotting Time) คือการตรวจสอบประสิทธิภาพของสารต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาเฮพาริน หรือยากลุ่มทรอมบินอินฮิบิเตอร์

ข้อมูลพื้นฐาน

การตรวจวัดการแข็งตัวของเลือด คืออะไร

การตรวจวัดการแข็งตัวของเลือด (Activated clotting time หรือ ACT) เป็นการตรวจสอบประสิทธิภาพของสารต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาเฮพาริน (heparin) หรือยากลุ่มทรอมบินอินฮิบิเตอร์ (thrombin inhibitors) ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการผ่าตัดขยายเส้นเลือด (angioplasty) การฟอกไต (kidney dialysis) และการผ่าตัดบายพาสหัวใจ (CPB)

การตรวจชนิดนี้จะวัดระยะเวลาการแข็งตัวของเลือด หลังจากให้สารกระตุ้น แพทย์จะติดตามอาการของคุณในขณะที่คุณเข้ารับการรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาเฮพาริน

การตรวจวัดการสร้างสภาวะลิ่มเลือด (Activated Partial Thromboplastin Time หรือ APTT) และการตรวจวัดการแข็งตัวของเลือด (ACT) จะใช้เพื่อติดตามอาการของผู้ที่กำลังรักษาด้วยยาเฮพาริน จากการเข้ารับการผ่าตัดบายพาสหัวใจ (Cardiopulmonary Bypass หรือ CPB) แต่การตรวจวัดการแข็งตัวของเลือด มีข้อดีมากกว่าการตรวจวัดการสร้างสภาวะลิ่มเลือด

ประการแรก การตรวจวัดการแข็งตัวของเลือดให้ผลที่แน่นอนกว่า เมื่อมีการให้ยาเฮพารินเพื่อต้านการแข็งตัวของเลือดในปริมาณสูง วิธีการนี้มีประโยชน์ในกรณีที่มีการใช้ยาเฮพารินปริมาณสูง เช่น การทำบายพาสหัวใจ ซึ่งต้องใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดมากกว่าลิ่มเลือดถึง 10 เท่า การตรวจวัดการสร้างสภาวะลิ่มเลือด ไม่สามารถวัดภาวะปริมาณยาที่สูงได้ ระยะเวลาที่เหมาะสมในการแข็งตัวของเลือดคือ 400-480 วินาที ในผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดบายพาสเลือดเลือดหัวใจ

ประการที่สอง การตรวจวัดการแข็งตัวของเลือดมีค่าใช้จ่ายถูกกว่า และทำได้ง่ายกว่า อีกทั้งยังมีขั้นตอนน้อยกว่าด้วย

ความจำเป็นในการ ตรวจวัดการแข็งตัวของเลือด

เนื่องจากการตรวจวัดการแข็งตัวของเลือดมีค่าใช้จ่ายถูกกว่า และสามารถทำได้ง่ายกว่า คือ แทบจะสามารถทำได้ที่บ้าน การตรวจชนิดนี้จึงเหมาะกับกลุ่มผู้ป่วยดังนี้

ข้อควรรู้ก่อนตรวจ

ข้อควรรู้ก่อนการ ตรวจวัดการแข็งตัวของเลือด

ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการตรวจมีดังต่อไปนี้

  • ภาวะทางร่างกาย เช่น ภาวะตัวร้อนเกินไป ภาวะโลหิตจาง จำนวนและการทำงานของเกล็ดเลือดผิดปกติ
  • ปัจจัยที่ส่งผลต่อเภสัชจลนศาสตร์ของยาเฮพาริน เช่น โรคไต โรคตับ รวมถึงยาต้านเฮพารินสามารถส่งผลกระทบต่อผลการตรวจได้
  • ลิ่มเลือดอาจทำให้ผลการตรวจวัดการแข็งตัวของเลือดเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ ซึ่งทำให้ผลคลาดเคลื่อนได้

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์

ขั้นตอนการตรวจ

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจวัดการแข็งตัวของเลือด

คุณไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวเป็นพิเศษก่อนเข้ารับการตรวจนี้ แต่แพทย์อาจทำการตรวจสุขภาพทั่วไป โดยคุณสามารถสอบถามแพทย์ได้ว่าต้องเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษหรือไม่

คุณควรสวมเสื้อแขนสั้น เพื่อให้เจาะเลือดบริเวณแขนได้สะดวก

ขั้นตอนการตรวจวัดการแข็งตัวของเลือด

เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ที่ทำการเจาะเลือดจะดำเนินการต่อไปนี้

  • รัดยางรอบต้นแขน เพื่อหยุดการไหลเวียนของเลือด หลอดเลือดด้านล่างยางรัดจะขยายตัวขึ้น ทำให้เจาะหลอดเลือดได้ง่ายขึ้น
  • ทำความสำอาดบริเวณที่เจาะเลือดด้วยแอลกอฮอล์
  • เจาะเข็มเข้าไปในหลอดเลือด อาจจำเป็นต้องเจาะมากกว่าหนึ่งครั้ง
  • ติดหลอดบรรจุเลือดเข้ากับเข็มเจาะเลือด
  • นำยางรัดออกจากแขน เมื่อเก็บเลือดเพียงพอแล้ว
  • วางผ้ากอซหรือก้อนสำลีไว้บนบริเวณที่เจาะเลือดในขณะที่ดึงเข็มออก
  • กดบริเวณที่เจาะเลือดแล้วปิดด้วยผ้าพันแผล

หลังการตรวจวัดการแข็งตัวของเลือด

การรัดยางที่ต้นแขนอาจแน่นมาก จนคุณอาจรู้สึกเจ็บแขนได้บ้าง แต่คุณอาจไม่รู้สึกใดๆ จากเข็มเจาะ หรืออาจมีเพียงความรู้สึกเหมือนมดกัดหรือแมลงต่อยเท่านั้น

หลังเจาะเลือด คุณควรปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ และกดบริเวณรอยเจาะเพื่อห้ามเลือด และสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติหลังการเจาะเลือด

หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับการตรวจวัดการแข็งตัวของเลือด โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจข้อควรปฏิบัติได้ดีขึ้น

ผลการตรวจ

ผลการตรวจวัดการแข็งตัวของเลือด

ค่าปกติที่ระบุไว้ ณ ที่นี้ ซึ่งเรียกว่า ค่าอ้างอิง (reference range) เป็นเพียงแนวทางเท่านั้น ค่าเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามห้องปฏิบัติการ และห้องปฏิบัติการของคุณอาจมีค่าปกติที่แตกต่างออกไป รายงานจากห้องปฏิบัติการควรมีช่วงค่าที่ห้องปฏิบัติการของคุณใช้

นอกจากนี้ แพทย์จะประเมินผลการตรวจของคุณโดยยึดตามสุขภาพของคุณและปัจจัยอื่นๆนั่นหมายความว่า ค่าที่อยู่นอกเหนือจากค่าปกติที่ระบุไว้ ณ ที่นี้ อาจยังคงเป็นค่าปกติสำหรับคุณและห้องปฏิบัติการของคุณ

ค่าปกติ

เลือดแข็งตัวภายใน 70-120 วินาที

หากคุณรับการรักษาการต้านการแข็งตัวของเลือด เวลาที่ใช้สำหรับการแข็งตัวของเลือดปกติ คือ 150-600 วินาที

ค่าผิดปกติ

ระยะเวลาการแข็งตัวของเลือดที่นานขึ้น เกิดจากสาเหตุดังนี้

  • การใช้ยาเฮพาริน (Heparin)
  • ขาดปัจจัยในการแข็งตัวของเลือด
  • โรคตับแข็ง
  • ลูปัสอินฮิบิเตอร์
  • การใช้วาร์ฟาริน (Warfarin)

ระยะเวลาในการแข็งตัวของเลือดจะสั้นลง เนื่องจากเลือดอุดตันที่ทำให้การแข็งตัวของเลือดในหลอดเลือดผิดปกติ

ค่าปกติสำหรับการตรวจวัดการแข็งตัวของเลือดอาจมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับห้องปฏิบัติการและโรงพยาบาล โปรดปรึกษาแพทย์หากมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับผลการทดสอบอย่างละเอียด

หากมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับการตรวจคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือด โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจคำแนะนำของแพทย์ได้ดีขึ้น

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา