backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ตรวจอุจจาระ (Stool Analysis)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 29/01/2020

ตรวจอุจจาระ (Stool Analysis)

ตรวจอุจจาระ เป็นชุดการตรวจตัวอย่างอุจจาระ แล้วส่งไปยังห้องปฏิบัติการ การตรวจในห้องปฏิบัติการ เพื่อช่วยวินิจฉัยภาวะบางประการที่ส่งผลต่อทางเดินอาหาร

ข้อมูลพื้นฐาน

การตรวจอุจจาระ คืออะไร

ตรวจอุจจาระ (stool analysis) เป็นชุดการตรวจตัวอย่างอุจจาระ เพื่อช่วยวินิจฉัยภาวะบางประการที่ส่งผลต่อทางเดินอาหาร ภาวะดังกล่าว ได้แก่ การติดเชื้อ (เช่น จากปรสิต ไวรัส หรือแบคทีเรีย) การดูดซึมแร่ธาตุได้น้อย หรือมะเร็ง

สำหรับการตรวจอุจจาระนั้น มีการเก็บตัวอย่างอุจจาระในภาชนะที่สะอาด แล้วส่งไปยังห้องปฏิบัติการ การตรวจในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ การทดสอบสารเคมี และการทดสอบทางจุลชีววิทยา จะมีการตรวจอุจจาระเพื่อดูสี ความต่อเนื่อง ปริมาณ รูปร่าง กลิ่น และเมือก อาจมีการตรวจอุจจาระเพื่อหาเลือดที่เจือปน (occult) ไขมัน เส้นใยเนื้อสัตว์ น้ำดี เซลล์เม็ดเลือดขาว และน้ำตาลที่เรียกว่าน้ำตาลในอุจจาระ (reducing substances) อาจมีการตรวจวัดค่า pH ของอุจจาระอีกด้วย กระเพาะเชื้อจากอุจจาระดำเนินการเพื่อดูว่าแบคทีเรียเป็นสาเหตุของการติดเชื้อหรือไม่

ความจำเป็นในการตรวจอุจจาระ

  • ตับอ่อน เอนไซม์บางชนิด (เช่น เอนไซม์ trypsin หรือ elastase) อาจมีการตรวจหาในอุจจาระเพื่อดูว่าตับอ่อนทำงานได้ทีเพียงใด
  • ช่วยหาสาเหตุของอาการต่างๆ ที่ส่งผลต่อทางเดินอาหาร ซึ่งได้แก่ อาการท้องร่วงเป็นเวลานาน ถ่ายเป็นเลือด มีแก๊สมากขึ้นในท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ไม่มีความอยากอาหาร ท้องอืด ปวดท้อง และเป็นตะคริว และมีไข้
  • คัดกรองมะเร็งลำไส้ด้วยการตรวจอุจจาระ เพื่อหาเลือดที่เจือปน
  • ตรวจหาปรสิต เช่น พยาธิเข็มหมุด หรือ Giardia
  • หาสาเหตุของการติดเชื้อ เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา หรือไวรัส
  • ตรวจหาการดูดซึมสารอาหารที่น้อยในทางเดินอาหาร (Malabsorption syndrome) ในการตรวจประเภทนี้ มีการเก็บตัวอย่างอุจจาระทั้งหมดเป็นเวลามากกว่า 72 ชั่วโมง แล้วตรวจหาไขมัน (และในบางครั้งตรวจหาเส้นใยเนื้อสัตว์) การตรวจแบบนี้เรียกว่า 72-hour stool collection or quantitative fecal fat test

ข้อควรรู้ก่อนตรวจ

ข้อควรรู้ก่อนตรวจอุจจาระ

  • การตรวจเชื้อในอุจจาระดำเนินการเพื่อหาสาเหตุของการติดเชื้อ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา หรือปรสิต
  • การตรวจอุจจาระเพื่อหาเอนไซม์ trypsin หรือ elastase ไม่มีความน่าเชื่อถือเท่ากับการตรวจเหงื่อ เพื่อตรวจหาโรคซิสติกไฟโบรซิส (cystic fibrosis)

ขั้นตอนการตรวจ

การเตรียมตัวตรวจอุจจาระ

ยาหลายชนิดสามารถเปลี่ยนแปลงผลการตรวจได้ คุณจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงยาบางชนิด โดยขึ้นอยู่กับประเภทของการตรวจอุจจาระ คุณอาจจำเป็นต้องหยุดใช้ยา เช่น ยาลดกรด (antacids) ยาแก้ท้องเสีย (antidiarrheal medicines) ยาถ่ายพยาธิ (antiparasite medicines) ยาปฏิชีวนะ (antibiotics) ยาถ่าย (laxatives) และยาแก้อักเสบที่ไม่มีสเตียรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs: NSAIDs) เป็นเวลา 1 ถึง 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการทดสอบ ให้แจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาที่ซื้อมาใช้เองและยาที่แพทย์สั่งทั้งหมดที่คุณใช้

ให้แจ้งแพทย์หากคุณ

  • เข้ารับการตรวจเอกซ์เรย์ในเร็วๆ นี้โดยใช้วัสดุสำหรับการสวนแบเรียม เช่น barium enema หรือ upper gastrointestinal series (barium swallow) แบเรียมสามารถส่งผลต่อผลการทดสอบได้
  • มีการเดินทางในช่วงสัปดาห์หรือเดือนในเร็วๆ นี้ โดยเฉพาะหากคุณเดินทางออกนอกประเทศ จะช่วยให้แพทย์ตรวจหาปรสิต เชื้อรา ไวรัส หรือแบคทีเรียที่อาจทำให้เกิดอาการได้

หากมีการตรวจอุจจาระเพื่อหาเลือดที่ปน คุณอาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดเป็นเวลา 2 ถึง 3 วันก่อนการตรวจ ขึ้นอยู่กับประเภทการตรวจอุจจาระ และห้ามเข้ารับการตรวจในช่วงมีประจำเดือน หรือหากคุณมีอาการเลือดออกจากภาวะริดสีดวง (hemorrhoids) หากคุณไม่มั่นใจเกี่ยวกับวิธีการเตรียมตัว ให้ปรึกษาแพทย์

ขั้นตอนการตรวจ

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจอุจจาระ

  • คุณสามารถเก็บตัวอย่างอุจจาระด้วยแผ่นพลาสติกที่วางอย่างหลวมๆ ไว้เหนือโถส้วม และยึดไว้ด้วยที่นั่งโถส้วม แล้วเก็บตัวอย่างอุจจาระไว้ในภาชนะที่สะอาด
  • ชุดตรวจอุจจาระ ที่มีกระดาษชำระชนิดพิเศษ ใช้เก็บตัวอย่างอุจจาระ หลังจากเก็บตัวอย่างอุจจาระแล้ว ให้เก็บตัวอย่างอุจจาระไว้ในภาชนะ
  • ระวังการปนเปื้อนตัวอย่างอุจจาระกับปัสสาวะ น้ำ หรือกระดาษชำระ

    สำหรับเด็กที่สวมใส่ผ้าอ้อมนั้น

    • เก็บตัวอย่างจากผ้าอ้อมโดยใช้แผ่นพลาสติก
    • วางแผ่นพลาสติกให้ถูกตำแหน่ง เพื่อป้องกันไม่ให้อุจจาระผสมกับปัสสาวะ จะทำให้ได้ตัวอย่างอุจจาระที่ดีกว่า

    หลังการตรวจอุจจาระ

    นำตัวอย่างอุจจาระส่งคืนห้องปฏิบัติการโดยเร็วที่สุด ห้ามรวมกระดาษชำระหรือปัสสาวะในตัวอย่างอุจจาระ

    Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ผลการตรวจ

    ผลการตรวจอุจจาระ

    ค่าปกติที่ระบุไว้ ณ ที่นี้ ซึ่งเรียกว่า ค่าอ้างอิง (reference range) เป็นเพียงแนวทางเท่านั้น ค่าเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามห้องปฏิบัติการ และห้องปฏิบัติการของคุณอาจมีค่าปกติที่แตกต่างออกไป รายงานจากห้องปฏิบัติการควรมีช่วงค่าที่ห้อปฏิบัติการของคุณใช้ นอกจากนี้ แพทย์จะประเมินผลการตรวจของคุณโดยยึดตามสุขภาพของคุณและปัจจัยอื่นๆ ซึ่งหมายความว่าค่าที่อยู่นอกเหนือจากค่าปกติที่ระบุไว้ ณ ที่นี้ อาจยังคงเป็นค่าปกติสำหรับคุณและห้องปฏิบัติการของคุณ

    ผลการตรวจอุจจาระมักใช้เวลาอย่างน้อย 1 ถึง 3 วัน

    ค่าปกติ: อุจจาระมีสีน้ำตาล อ่อนนุ่ม และจับตัวเป็นก้อนได้ต่อเนื่อง อุจจาระไม่มีเลือด เมือก หนอง เส้นใยเนื้อสัตว์ที่ไม่ย่อย แบคทีเรียที่เป็นอันตราย ไวรัส เชื้อรา หรือปรสิต อุจจาระรูปร่างเหมือนหลอด ค่า pH ของอุจจาระ คือ 7.0–7.5 อุจจาระมีน้ำตาลที่เรียกว่าน้ำตาลในอุจจาระ (reducing factors)1 น้อยกว่า 0.25 กรัมต่อเดซิลิตร (g/dL)/น้อยกว่า 13.9 มิลลิโมลต่อลิตร (mmol/L) อุจจาระมีไขมัน 2–7 กรัมต่อ 24 ชั่วโมง (g/24h)

    ค่าผิดปกติ: อุจจาระมีสีดำ แดง ขาว เหลือง หรือเขียว อุจจาระเหลวหรือแข็งมาก มีอุจจาระปริมาณมากเกินไป อุจจาระมีเลือด เมือก หนอง เส้นใยเนื้อสัตว์ที่ไม่ย่อย แบคทีเรียที่เป็นอันตราย ไวรัส เชื้อรา หรือปรสิต อุจจาระมีเอนไซม์ในปริมาณต่ำ เช่น เอนไซม์ trypsin หรือ elastase ค่า pH ของอุจจาระต่ำกว่า 7.0 หรือมากกว่า 7.5 อุจจาระมีน้ำตาลที่เรียกว่าน้ำตาลในอุจจาระ (reducing factors) ในปริมาณ 0.25 g/dL (13.9 mmol/L) หรือมากกว่า อุจจาระมีไขมันมากกว่า 7 g/24h (หากคุณบริโภคไขมันประมาณ 100 กรัมต่อวัน)

    ภาวะหลายประการสามารถเปลี่ยนแปลงผลการตรวจอุจจาระได้ แพทย์จะแจ้งให้คุณทราบเกี่ยวกับผลการตรวจที่ผิดปกติใดๆ ที่อาจสัมพันธ์กับอาการและสุขภาพในอดีตของคุณ

    ค่าผิดปกติ

    ระดับไขมันสูงในอุจจาระอาจเกิดจากโรคต่างๆ เช่น ตับอ่อนอักเสบ (pancreatitis) โรคบิดสปรู (sprue) หรือโรคเซลิแอค (celiac disease) โรคซิสติกไฟโบรซิส (cystic fibrosis) หรืออาการผิดปกติอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการดูดซึมไขมัน

    เส้นใยเนื้อสัตว์ที่ไม่ย่อยในอุจจาระอาจเกิดจากตับอ่อนอักเสบ

    ค่า pH ต่ำอาจเกิดจากการดูดซึมคาร์โบไฮเดรตหรือไขมันได้น้อย อุจจาระที่มีค่า pH สูงอาจหมายความว่า มีอาการอักเสบในลำไส้ (colitis) มะเร็ง หรือการใช้ยาปฏิชีวนะ

    เลือดปนในอุจจาระอาจเกิดจากภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร

    เซลล์เม็ดเลือดขาวในอุจจาระ อาจเกิดจากมีอาการอักเสบในลำไส้ เช่น โรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล (ulcerative colitis) หรือการติดเชื้อแบคทีเรีย

    ไวรัสโรต้า (Rotaviruses) เป็นสาเหตุที่พบได้ทั่วไปของอาการท้องร่วงในเด็กเล็ก หากมีอาการท้องร่วง อาจมีการทดสอบเพื่อตรวจหาไวรัสโรต้าในอุจจาระ

    น้ำตาลในอุจจาระ (reducing factors) ในปริมาณสูง อาจหมายความถึงปัญหาเกี่ยวกับการเผาผลาญน้ำตาลบางชนิด

    น้ำตาลในอุจจาระ (reducing factors) ในปริมาณต่ำอาจเกิดจากโรคบิดสปรู (โรคเซลิแอค) โรคซิสติกไฟโบรซิส หรือภาวะขาดสารอาหาร การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาโคลชิซีน (colchicine) สำหรับรักษาโรคเกาต์ หรือยาเม็ดคุมกำเนิด อาจทำให้น้ำตาลในอุจจาระมีปริมาณต่ำได้เช่นกัน

    จากผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการและโรงพยาบาล ค่าปกติสำหรับการตรวจอุจจาระอาจมีความหลากหลาย โปรดปรึกษาแพทย์ หากมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับผลการทดสอบ

    หากมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับการตรวจอุจจาระ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจคำแนะนำสำหรับคุณได้ดีขึ้น

    Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 29/01/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา