backup og meta

ทดสอบอัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซิน (Alpha-1 Antitrypsin Test)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 09/07/2020

    ทดสอบอัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซิน (Alpha-1 Antitrypsin Test)

    การ ทดสอบอัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซิน หรือ(AAT) เครดิตภาพ: bloodtestslondon.com

    กระบวนการ ทดสอบอัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซิน หรือ(AAT) เป็นการทดสอบเพื่อวัดระดับสาร AAT ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งในเลือด ที่ทำหน้าที่ป้องกันปอดไม่ให้ถูกทำลายจากเอนไซม์ต่างๆ ในเลือด การทดสอบต่างๆ ที่สัมพันธ์กันสามารถตัดสินได้ว่า ผู้ป่วยคนนั้นได้รับการถ่ายทอดโปรตีน AAT ที่มีความผิดปกติในรูปแบบใด

    การ ทดสอบอัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซิน ทำหน้าที่อะไร 

    หน้าที่หลักของAAT คือการช่วยยับยั้งการออกฤทธิ์ของเอนไซม์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอีลาสเตส (Elastase)  ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่สร้างโดยเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟีล (Neutrophils) และเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการตอบสนองต่อการบาดเจ็บและการอักเสบตามปกติ โดยอีลาสเตสจะย่อยโปรตีนต่างๆ เพื่อให้ร่างกายสามารถกำจัดและนำกลับมาใช้ได้ใหม่ ซึ่งถ้าหากไม่มี AAT คอยควบคุมแล้วล่ะก็ อีลาสเตสก็จะเริ่มย่อยสลายและทำลายเนื้อเยื่อปอดไปด้วย

    ทำไมต้อง ทดสอบอัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซิน

    เหตุผลที่ต้องทำการทดสอบอัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซินมีดังนี้ :

    • การทดสอบอัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซิน (AAT) เพื่อวินิจฉัยภาวะขาดเอนไซม์อัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซิน ในกรณีที่เป็นโรคถุงลมโป่งพองระยะเริ่มแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ป่วยรายนั้นไม่ได้มีปัจจัยเสี่ยงที่ชัดเจน อย่างการสูบบุหรี่ หรือมีประวัติสัมผัสฝุ่นละอองและควัน
    • การทดสอบนี้ยังใช้เพื่อช่วยวินิจฉัยสาเหตุของการเกิดภาวะดีซ่านเรื้อรัง และสัญญาณความผิดปกติของตับอื่นๆได้ ซึ่งมักจะใช้กับเด็ก แต่จริงๆแล้วสามารถใช้ได้กับผู้คนทุกช่วงอายุ
    • การทดสอบ AAT มี 3 แบบ ซึ่งอาจใช้แบบเดียวหรือหลายๆแบบ เพื่อประเมินผู้ป่วยแต่ละราย
    • การทดสอบอัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซินโดยทั่วไปเป็นการตรวจดูระดับโปรตีน AAT ในเลือด
    • การทดสอบอัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซิน ฟีโนไทด์ (Alpha-1 antitrypsin genotype testing หรือการตรวจ DNA) จะเป็นการคำนวณปริมาณและประเภทของ AAT ที่ถูกผลิตขึ้น แล้วเปรียบเทียบกับแพทเทิร์นที่เป็นปกติ

    การทดสอบอัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซิน ฟีโนไทด์ (Alpha-1 antitrypsin genotype testing หรือการตรวจ DNA) สามารถใช้เป็นตัวตั้งต้นยีน SERPINA1 รวมถึงยีน M ตามปกติ หรือรูปแบบของยีนชนิดอื่นๆ การทดสอบนี้ไม่ได้เป็นการระบุเอกลักษณ์ของยีนที่ต่างจากปกติ แต่จะใช้ดูยีนแบบธรรมดาที่สุด (คู่ S และ Z) เช่นเดียวกับยีนที่มีความต่างจากปกติ ซึ่งอาจพบได้ทั่วไปหรือในครอบครัว เมื่อยีน SERPINA1 ส่งผลกระทบถึงใครแล้ว ก็ต้องทำการทดสอบสมาชิกในครอบครัวของผู้นั้นด้วย เพื่อดูว่ามีความเสี่ยงที่จะพัฒนาไปสู่การเกิดโรคถุงลมโป่งพอง และ/หรือความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับตับ และอาจจะถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกหรือไม่

    ข้อควรระวัง/คำเตือน

    ข้อควรรู้ก่อนเข้ารับการทดสอบของอัลฟ่าวันแอนตี้ทริปซินมีอะไรบ้าง?

    การทดสอบอัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซินอาจจะใช้ในกรณีต่อไปนี้:

    เด็กทารกเกิดภาวะดีซ่านที่นานกว่า 1 หรือ 2 สัปดาห์ ภาวะม้ามโต ภาวะที่มีของเหลวในช่องท้อง (ฝี) อาการคันเรื้อรัง และสัญญาณอื่น ๆ ที่บ่งบอกว่าตับถูกทำลาย

    ผู้ที่อายุน้อยกว่า 40 ปี ที่มีอาการหายใจมีเสียงหวีด ไอเรื้อรังหรือหลอดลมอักเสบ มีภาวะหายใจไม่ทันหลังใช้แรงมากๆ และ/หรือ มีสัญญาณของโรคถุงลมโป่งพอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผู้นั้นไม่ได้สูบบุหรี่ และไม่เคยสัมผัสกับสารที่ระคายเคืองปอด รวมทั้งเมื่อมีความเสียหายปรากฏขึ้นในบริเวณส่วนล่างของปอด

    ผู้ที่มีญาติสนิทที่มีภาวะขาดเอนไซม์อัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซิน

    ผู้ที่มีครอบครัวมีสมาชิกในครอบครัวได้รับผลกระทบ และต้องการรู้ว่าลูกๆจะมีโอกาสได้รับผลกระทบด้วยหรือไม่

    AAT เป็นตัวทำปฏิกิริยาแบบฉับพลัน จึงมีจำนวนเพิ่มขึ้นในกรณีที่เกิดการอักเสบเรื้อรังหรือเฉียบพลัน การติดเชื้อและในโรคมะเร็งบางชนิด การเพิ่มขึ้นของระดับ AAT อาจพบได้ในผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิด ตั้งครรภ์ และมีความเครียด การเพิ่มขึ้นของ AAT แบบยาวนานแม้เพียงแค่ชั่วคราว ก็อาจทำผู้ที่มีภาวะขาด AAT ระดับความรุนแรงน้อยถึงปลานกลางดูเป็นปกติได้

    ระดับของเอเอทีอาจลดลงได้ ในกรณีที่มีภาวะที่ทำให้เกิดการลดลงของโปรตีนเซรั่ม เช่น โรคไต ภาวะขาดสารอาหาร และมะเร็งบางชนิด

    ระดับ AAT อาจลดลงได้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการหายใจลำบาก ในทารกแรกเกิด และในผู้ที่อยู่ในภาวะโปรตีนในน้ำเหลืองลดลง เช่นโรคไต ภาวะขาดสารอาหาร และมะเร็งบางชนิด

    ขั้นตอนการทดสอบ

    การเตรียมการสำหรับทดสอบอัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซินทำอย่างไร

    สิ่งที่ท่านต้องเตรียมก่อนการทดสอบนั้นมีอยู่มากมายหลายประการ ซึ่งรวมถึง:

    • การรัดต้นแขนด้วยแถบยางยืด เพื่อห้ามการไหลของเลือด วิธีนี้จะทำให้เส้นเลือดดำที่อยู่ใต้แถบยางยืดขยายใหญ่ขึ้น ซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการใช้เข็มเจาะเข้าไปในเส้นเลือดดำ
    • ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะเจาะด้วยแอลกอฮอล์
    • แทงเข็มเข้าเส้นเลือดดำ (บางทีอาจต้องใช้เข็มมากกว่า 1 เข็ม)
    • ต่อหลอดเก็บเลือดเข้ากับเข็ม เพื่อให้เลือดไหลเข้าสู่หลอดเก็บเลือด
    • คลายแถบยางที่รัดออกจากต้นแขนเมื่อได้เลือดในปริมาณที่เพียงพอแล้ว
    • ใช้สำลีปิดบริเวณที่เจาะในขณะที่ดึงเข็มออก
    • ใช้นิ้วกดบริเวณที่เจาะแล้วปิดพลาสเตอร์

    สิ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างการทดสอบอัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซินมีอะไรบ้าง

    ในระหว่างการทดสอบท่านจะมีอาการดังนี้:

    ตัวอย่างเลือดที่เก็บจากแขนซึ่งมีแถบบางยืดอีลาสติครัดบริเวณต้นแขน ดังนั้นจึงอาจรู้สึกรัดและไม่สะดวกสบายบ้าง ท่านอาจไม่รู้สึกอะไรเลยจากเข็มหรืออาจรู้สึกเจ็บเหมือนถูกแทนหรือหยิบแบบเร็วๆได้

    หลังการทดสอบอัลฟ่าวันแอนตี้ทริปซินจะมีอาการอย่างไร

    และหลังการทดสอบด้วยสารคลอนิดีนจะมีอาการอย่างไร

    มีโอกาสที่จะเกิดปัญหาน้อยมากจากการเก็บตัวอย่างเลือดจากเส้นเลือดดำ

    ประการแรก คุณอาจมีรอยช้ำเป็นบริเวณบริเวณเล็กๆ อย่างไรก็ตามคุณสามารถลดโอกาสที่จะเกิดการช้ำได้โดยกดบริเวณที่ถูกเจาะไว้ซักระยะหนึ่ง

    ในบางกรณีซึ่งพบไม่บ่อยนัก เส้นเลือดดำอาจบวมหลังจากการเจาะตัวอย่างเลือดไปตรวจซึ่งเรียกว่าภาวะหลอดเลือดดำอักเสบ การประคบร้อนวันละหลายๆ ครั้งจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ นอกจากนี้การเกิดภาวะเลือดออกก็สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยบางรายที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ อีกทั้งการใช้ยาบางชนิดเช่น แอสไพริน วาร์ฟาริน (Coumadin) และยาลดการเกาะตัวของเม็ดเลือดอื่นๆ ก็อาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกมากขึ้นได้ ถ้าท่านมีภาวะเลือดเลือดออกผิดปกติ หรือมีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด หรือกำลังรับประทานยาลดการเกาะตัวของเลือด กรุณาแจ้งแพทย์ก่อนทำการเก็บตัวอย่าง

    หากท่านมีข้อสงสัยใดๆเกี่ยวกับการทดสอบอัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซิน กรุณาปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้มากขึ้น

    คำอธิบายผลตรวจ

    ผลตรวจบ่งบอกถึงอะไรได้บ้าง

    • ระดับของ AAT

    การมีระดับ AAT ในเลือดต่ำบ่งบอกว่าผู้นั้นอาจมีภาวะขาดเอนไซม์อัลฟ่าวัน แอนตี้ทริปซิน ยิ่งมีระดับ AAT ต่ำเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีแนวโน้มจะเป็นโรคถุงลมโป่งพองได้มากเท่านั้น

    • การทดสอบฟีโนไทด์

    ในผู้ที่มี AAT ชนิดที่ผิดปกตินั้น ความเสี่ยงที่จะพัฒนาไปเป็นโรคก็จะขึ้นอยู่กับว่า ร่างกายผลิต AAT ที่ผิดปกติขึ้นมามากขนาดไหน และมีค่าความแตกต่างประมาณไหน ค่าความแตกต่างน้อยๆ อาจนำไปสู่การเกิดโรคทั้งถุงลมโป่งพอง (เพราะมันไม่ได้ช่วยปกป้องปอด) และโรคตับ (เนื่องจากมีการผลิต AAT ขึ้นในเซลล์ตับ)

    • การทดสอบจีโนไทด์

    คนส่วนใหญ่จะมีรูปแบบยีนปกติมากมายซึ่งจะทำให้สามารถผลิต AAT ได้เพียงพอ

    หากผลการทดสอบดีเอ็นเอระบุว่ามีความผิดปกติของยีน SERPINA1 จำนวน 1 หรือ 2 ชุด ก็จะทำให้การผลิต AAT เกิดความผิดปกติหรือผลิตได้น้อย ซึ่งจะทำให้อยู่ในภาวะขาด AAT และระดับความเสียหายของปอดและ/หรือตับก็อาจแปรปรวนได้อย่างมาก โปรดปรึกษาแพทย์หากท่านมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลการทดสอบ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 09/07/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา