backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

อาการกิลแลง-บาร์เร (Guillain Barre Syndrome)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 12/06/2020

อาการกิลแลง-บาร์เร (Guillain Barre Syndrome)

อาการกิลแลง-บาร์เร (Guillain Barre Syndrome)  คือ ระบบประสาทเกิดความผิดปกติ จนทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการดังกล่าวนี้ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มักเกิดจากการติดเชื้อในกระเพาะลำไส้อักเสบ หรือการติดเชื้อในปอด  ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการชาบริเวณแขน และขา  บางรายอาจร้ายแรงจนกลายเป็นอัมพาต

คำจำกัดความ

อาการกิลแลง-บาร์เร (Guillain Barre Syndrome)  คืออะไร

อาการกิลแลง-บาร์เร (Guillain Barre Syndrome)  คือ ระบบประสาทเกิดความผิดปกติ จนทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการดังกล่าวนี้ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มักเกิดจากการติดเชื้อในกระเพาะและลำไส้อักเสบ หรือการติดเชื้อในปอด  ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการชาบริเวณแขน และขา  บางรายอาจร้ายแรงจนกลายเป็นอัมพาต

พบได้บ่อยเพียงใด

อาการกิลแลง-บาร์เรสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน พบได้บ่อยในเพศชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ขี้นไป

อาการ

อาการกิลแลง-บาร์เร

อาการกิลแลง-บาร์เรส่งผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนปลาย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ ดังต่อไปนี้

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของอาการกิลแลง-บาร์เร

ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ที่ทำให้เกิดอาการกิลแลง-บาร์เร โดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา (US Centers for Disease Control and Prevention : CDC)  พบว่า ผู้ป่วยที่มีอาการกิลแลง-บาร์เร ส่วนใหญ่เคยป่วยเป็นโรคอุจจาระร่วง หรือติดเชื้อในทางเดินอาหาร

การติดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์เจจูไน (Campylobacter Jejuni) มีความสัมพันธ์กับอาการกิลแลง-บาร์เร เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย นอกจากนี้เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์เจจูไน ยังพบในอาหารที่ปรุงไม่สุกอีกด้วย

หากคุณมีอาการติดเชื้อดังต่อไปนี้ อาจทำให้เกิดอาการกิลแลง-บาร์เร เช่น

  • ไข้หวัดใหญ่
  • ติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อไซโตเมกาโลไวรัส (Cytomegalovirus : CMV)
  • ติดเชื้อไวรัสเอ็บสไตบาร์ (Epstein-Barr Virus : EBV)
  • ปอดอักเสบจากไมโคพลาสมา (Mycoplasma Pneumonia)
  • โรคเอดส์ ติดเชื้อเอชไอวี (Acquired Immunodeficiency Syndrome : AIDS)

ปัจจัยเสี่ยงของอาการอาการกิลแลง-บาร์เร

เพศชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ขี้นไป มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอาการกิลแลง-บาร์เร สูง รวมถึงปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ดังนี้

  • ไข้หวัดใหญ่
  • ติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อไซโตเมกาโลไวรัส
  • ติดเชื้อไวรัสเอ็บสไตบาร์
  • โรคเอดส์ ติดเชื้อเอชไอวี
  • ปอดบวม
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยอาการกิลแลง-บาร์เร

ผู้ที่มีอาการกิลแลง-บาร์เร ในระยะแรกอาจทำการวินิจฉัยตรวจหาได้ยาก เนื่องจากอาการคล้ายคลึงกันมากกับความผิดปกติของระบบประสาทสาเหตุอื่นๆ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ภาวะพิษจากโลหะ โดยแพทย์จะทำการสอบถามอาการเบื้องต้นเพื่อหาสาเหตุ ในการยืนยันการวินิจฉัยของโรค ดังต่อไปนี้

  • การตรวจเจาะน้ำไขสันหลัง (Spinal tap)  การเจาะไขกระดูกสันหลังช่วงเอวเพื่อน้ำตรงส่วนนั้น ที่เรียกว่า  “น้ำไขสันหลัง” มาตรวจวัดระดับโปรตีน เนื่องจากผู้ที่ป่วยมีอาการกิลแลง-บาร์เร จะมีระดับโปรตีนสูงกว่าปกติ
  • การตรวจวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Electromyography)  ทดสอบการทำงานของระบบประสาท เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงนั้นเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทหรือจากกล้ามเนื้อ
  • การตรวจการชักนำกระแสประสาท (Nerve Conduction Tests) เพื่อทดสอบว่าเส้นประสาทและกล้ามเนื้อตอบสนองต่อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็กเพียงใด

การรักษาอาการกิลแลง-บาร์เร

ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุและวิธีการรักษาที่ระบุแน่ชัด  แต่ร่างกายของเราสามารถปรับตัวและหายเองได้  อย่างไรก็ตามคุณควรสังเกตอาการของตนเองอยู่เสมอ และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อรับคำแนะนำจากแพย์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง โดยส่วนใหญ่แพทย์จะทำการรักษา ดังต่อไปนี้

หากแพทย์พบว่าคุณมีอาการกิลแลง-บาร์เร  เบื้องต้นจะทำการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ นอกจากนี้แพทย์จะทำการเจาะกระดูกสันหลัง  เพื่อวัดระดับโปรตีน

  • การเปลี่ยนพลาสมา (Plasmapheresis) เพื่อกำจัดแอนติบอดี (Antibody) ในเลือด ที่แปลกปลอมเข้าไปทำลายเซลล์ประสาท โดยแพทย์จะทำการถ่ายเลือดออกจากร่างกายผู้ป่วย เพื่อคัดแยกแอนติบอดี้ที่ดีกลับคืนเข้าร่างกาย
  • การรักษาด้วยอิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulin Therapies) วิธีการรักษาด้วยการเปลี่ยนพลาสมากับการรักษาด้วยอิมมูโนโกลบูลินนั้นมีวิธีการรักษาและประสิทธิภาพเท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
  • วิธีการรักษาอื่น ๆ แพทย์อาจจ่ายยาเพื่อบรรเทาอาการปวดและป้องกันการอุดตันของเลือด และทำกายภาพบำบัดให้กับผู้ป่วยก่อน เพื่อสร้างความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อภายในร่างกาย

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาอาการกิลแลง-บาร์เร

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรับมืออาการกิลแลง-บาร์เร มีวิธี ดังนี้

อาการกิลแลง-บาร์เร สามารถรักษาให้หายได้ ถึงแม้ว่าจะยังไม่ทราบสาเหตุของโรคที่แน่ชัด คุณควรทำกายภาพบำบัด หรือเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 12/06/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา