backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ลิ้นแตกเป็นร่อง สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 20/09/2023

ลิ้นแตกเป็นร่อง สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา

ลิ้นแตกเป็นร่อง (Fissured Tongue)  คือ ภาวะที่เป็นพิษต่อลิ้นส่งผลให้ลิ้นมีลักษณะเป็นร่องแตกยาว โดยปกติลิ้นรอยแยกหลักจะเกิดขึ้นที่กลางลิ้น อย่างไรก็ตามอาการลิ้นแตกเป็นร่องไม่ใช่โรคติดต่อหรือส่งผลอันตรายต่อสุขภาพแต่อย่างใด

คำจำกัดความ

ลิ้นแตกเป็นร่อง คืออะไร  

ลิ้นแตก เป็นร่อง (Fissured Tongue)  คือ ภาวะที่เป็นพิษต่อลิ้นส่งผลให้ลิ้นมีลักษณะเป็นร่องแตกยาว โดยปกติลิ้นรอยแยกหลักจะเกิดขึ้นที่กลางลิ้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจมีอาการลิ้นลายแผนที่ (Geographic Tongue) เกิดร่วมด้วย

อย่างไรก็ตามอาการลิ้นแตกเป็นร่องไม่ใช่โรคติดต่อหรือส่งผลอันตรายต่อสุขภาพแต่อย่างใด

พบได้บ่อยเพียงใด

ผู้ป่วยลิ้นแตกเป็นร่องสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัยโดยส่วนใหญ่มักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยเฉพาะกลุ่มอาการดาวน์ (Down syndrome) และกลุ่มอาการเมลเคอร์สสัน-โรเซ็นทาล (Melkersson-Rosenthal)

อาการ

อาการของลิ้นแตกเป็นร่อง

ผู้ป่วยจะสังเกตเห็นรอยแตกที่ร่องที่ลิ้นได้อย่างชัดเจน ร่องลิ้นจะลึก โดยเฉพาะส่วนตรงกลางของลิ้นจะสังเกตได้ง่ายที่สุด  ลักษณะเป็นรอยแยก สีแดง หรือสีชมพู นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายอาจมีลิ้นลายแผนที่เกิดร่วมด้วย และมีความลึกของร่องลิ้นไม่เกิน 6 มิลลิเมตร รอยแตกแต่ละรอยอาจเชื่อมกับรอยแตกอื่น ๆ โดยแยกรอยแตกออกเป็นส่วนเล็ก ๆ หรือส่วนต่าง ๆ

อาการลิ้นแตกเป็นร่อง อาจส่งผลให้ลิ้นผู้ป่วยบางรายไวต่อความรู้สึกเร็วเกินไป จนทำให้รู้สึกไม่สบายตัว ระคายเคืองได้

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของกลุ่ม อาการลิ้นแตกเป็นร่อง

ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของอาการลิ้นแตกเป็นร่อง โดยมีข้อสันนิษฐานว่าอาจได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรืออาจเกิดขึ้นครั้งแรกในวัยเด็ก รวมถึงสาเหตุอื่นๆ ดังนี้

  • การขาดสารอาหาร และขาดวิตามิน
  • ภาวะที่มีอาการบวมที่ริมฝีปากและใบหน้า (Orofacial Granulomatosis) เป็นภาวะที่หาได้ยาก ทำให้เกิดอาการบวมในริมฝีปากและบริเวณรอบปาก
  • โรคสะเก็ดเงิน
  • กลุ่มอาการดาวน์ (Down syndrome)
  • กลุ่มอาการเมลเคอร์สสัน-โรเซ็นทาล (Melkersson-Rosenthal)

ปัจจัยเสี่ยงของ อาการลิ้นแตกเป็นร่อง

  • ลิ้นลายแผนที่ (Geographic tongue) อาจส่งผลให้ลิ้นผู้ป่วยมีลักษณะแตกเป็นร่อง และไวต่ออาหารร้อนและเผ็ด
  • กลุ่มอาการเมลเคอร์สสัน-โรเซ็นทาล (Melkersson-Rosenthal) พบได้ยากทำให้เกิดรอยแยกของลิ้นเท่านั้น แต่อาจส่งผลให้ริมฝีปากมีอาการบวม หรือใบหน้าเป็นอัมพาต ( Bell’s palsy )
  • กลุ่มอาการดาวน์ (Down syndrome) เด็กส่วนใหญ่ที่อยู่ในกลุ่มอาการดาวน์ หรือดาวน์ซินโดรมถึง 80% มีอาการลิ้นแตกเป็นร่อง

โดยปกติทั่วไป อาการลิ้นแตกเป็นร่อง จะไม่สงผลกระทบใดๆ ต่อสุขภาพ หากผู้ป่วยรู้สึกผิดปกติควรปรึกษาทันตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การรักษากลุ่มอาการลิ้นแตกเป็นร่อง

โดยทั่วไปแล้ว อาการลิ้นแตกเป็นร่อง ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา เพียงดูแลสุขอนามัยช่องปากเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากแบคทีเรียและคราบจุลินทรีย์สามารถสะสมในรอยแยกของลิ้น อาจนำไปสู่ปัญหากลิ่นปากและเพิ่มโอกาสในการเกิดฟันผุ  ดังนั้นผู้ป่วยควรดูแลสุขอนามัยช่องปากด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง/วัน และพบทันตแพทย์เป็นประจำ

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อรักษา อาการลิ้นแตกเป็นร่อง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษา อาการลิ้นแตกเป็นร่อง สามารถป้องกันตนเองจากอาการดังกล่าวด้วยการรักษาสุขอนามัยช่องปากอย่างสม่ำเสมอ

แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และพบทันตแพทย์ปีละ 2 ครั้ง เพื่อรับการดูแลรักษาเป็นประจำ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 20/09/2023

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา