backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

แมงกะพรุนต่อย (Jellyfish stings)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 16/07/2020

แมงกะพรุนต่อย (Jellyfish stings)

การถูกแมงกะพรุนต่อย(Jellyfish stings) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยามที่เราเล่นน้ำหรือดำน้ำในทะเล แมงกะพรุนบางชนิดอาจแค่ทำให้ปวดและเกิดผื่นนูนแดง แต่บางชนิดก็อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

คำจำกัดความ

แมงกะพรุนต่อย คืออะไร

แมงกะพรุน หรือ กะพรุน (Jellyfish) ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกกว่า 500 ล้านร้อยปี และแพร่กระจายอยู่ในทะเลทั่วโลก แมงกะพรุนมีอยู่มากมายหลายชนิด บางชนิดมีลักษณะเหมือนวุ้นใสก้อนกลมๆ เล็กๆ ขณะที่บางชนิดก็มีขนาดใหญ่ หลากสีสัน และมีรยางค์อยู่ใต้ลำตัว

อวัยวะส่วนที่ต่อยได้ของแมงกะพรุน ก็คือ รยางค์ หรือหนวดยาว ๆ ของมันนั่นเอง โดยแมงกะพรุนจะต่อยเหยื่อของมันด้วยเข็มพิษที่หนวด และปล่อยพิษเพื่อทำให้เหยื่อเป็นอัมพาต ปกติแล้วแมงกะพรุนจะไม่จู่โจมมนุษย์ แต่บางคนอาจว่ายน้ำจนไม่ทันระมัดระวัง เผลอไปโดนตัวมันเข้าจึงทำให้เกิดโดนต่อยขึ้น หรือแม้แต่แค่เราเหยียบโดนแมงกะพรุนที่ตายแล้ว ก็สามารถโดนต่อยได้เช่นกัน

การถูกแมงกะพรุนต่อย (Jellyfish Stings) อาจจะเจ็บปวด แต่ส่วนใหญ่มักไม่ใช่ภาวะฉุกเฉิน โดยปกติแล้ว หากถูกแมงกะพรุนต่อย จะทำให้ปวด เกิดรอยนูนแดง คัน หรือเกิดอาการชา แต่หากโดนแมงกะพรุนบางชนิดต่อย เช่น แมงกะพรุนกล่อง หรือที่เรียกว่าแมงกะพรุนสาหร่าย ก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน โดยแมงกะพรุนชนิดนี้พบมากในออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ มหาสมุทธอินเดีย และมหาสมุทธแปซิฟิกตอนกลาง

พบได้บ่อยแค่ไหน

การถูกแมงกะพรุนต่อยเป็นปัญหาที่ผู้ว่ายน้ำ เล่นน้ำ หรือดำน้ำในทะเลสามารถพบได้บ่อย หากคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติมใด ๆ โปรดสอบถามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญถึงความร้ายแรง หรือวิธีป้องกันเบื้องต้นก่อนคุณเตรียมตัวไปท่องเที่ยวทะเล

อาการ

อาการของการโดน แมงกะพรุนต่อย

อาการทั่วไปมีดังนี้

  • ปวดแสบปวดร้อน เจ็บแปล๊บ ปวดเหมือนโดนผึ้ง หรือแมลงต่อย
  • มีรอยแดง น้ำตาล หรือรอยสีม่วงบนผิว ในบริเวณที่สัมผัสกับรยางค์หรือหนวดแมงกะพรุน ลักษณะเหมือน “รอยประทับ’
  • คัน
  • บวม
  • รู้สึกปวดตุบ ๆ ที่บริเวณแขนหรือขา

อาการแมงกะพรุนต่อยที่รุนแรงนั้น สามารถส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ ในร่างกายได้ โดยอาการ เหล่านี้อาจเกิดขึ้นในทันที หรือเกิดขึ้นหลังจากถูกต่อยไปแล้วหลายชั่วโมงก็ย่อมได้เช่นกัน

สัญญาณและอาการของแมงกะพรุนต่อยที่รุนแรงมีดังนี้

ความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับอะไรได้บ้าง

  • ชนิดและขนาดของแมงกะพรุน
  • อายุ ขนาดตัว และสุขภาพของคุณ หากเป็นเด็ก หรือผู้ที่สุขภาพไม่แข็งแรง อาการอาจรุนแรงได้
  • ระยะเวลาการโดนแมงกะพรุนต่อย
  • บริเวณผิวของคุณที่ได้รับผลกระทบ

บางคนอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาคุณหมอทันที

ควรไปพบหมอเมื่อไร

เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน บางรายอาจไม่ออกอาการ แต่หากในกรณีที่คุณรู้สึกเริ่มวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ หายใจลำบาก ใจสั่น โปรดรับเข้าได้รับการรักษาในทันทีไม่ควรรีรอดูอาการให้ดีขึ้น เพราะคุณอาจกำลังโดนแมงกะพรุนสายพันธ์ที่มีพิษรุนแรงอยู่ก็เป็นได้

สาเหตุ

สาเหตุของพิษแมงกะพรุน

แมงกะพรุนจะมีเหล็กในหรือเข็มพิษอยู่ที่บริเวณรยางค์ หรือหนวด เข็มพิษแต่ละชิ้นจะมีกระเปาะเก็บน้ำพิษ และมีท่อนำพิษปลายแหลมขดอยู่ แมงกะพรุนจะใช้พิษนี้เพื่อป้องกันตัวเอง และสังหารเหยื่อ

เมื่อคุณสัมผัสถูกรยางค์ของแมงกะพรุน เข็มพิษจะถูกขับออกมา ท่อนำพิษจะแทงเข้าไปในผิวแล้วปล่อยพิษทันที ซึ่งพิษที่ปล่อยออกมาสามารถส่งผลกระทบกับบริเวณที่สัมผัส หรือแม้แต่ในกระแสเลือด  เช่นเดียวกับแมงกะพรุนที่ถูกพัดมาเกยตื้น หากโดนสัมผัสก็จะปล่อยพิษทันทีเช่นกัน

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงหลัง การถูกแมงกะพรุนต่อย

ปัจจัยเสี่ยงมีดังนี้

  • ว่ายน้ำในช่วงเวลา หรือฤดูที่มีแมงกะพรุนออกมามาก
  • ว่ายน้ำหรือดำน้ำในบริเวณที่มีแมงกะพรุนโดยไม่สวมชุดป้องกัน
  • เล่น หรืออาบแดดในบริเวณมีแมงกะพรุนเกยตื้น
  • ว่ายน้ำในสถานที่ที่ขึ้นชื่อว่ามีแมงกะพรุนชุกชุม

การวินิจฉัยโรคและการรักษาโรค

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยอาการแมงกะพรุนต่อย

โดยปกติแล้ว คุณไม่จำเป็นต้องไปพบคุณหมอหลัง การถูกแมงกะพรุนต่อย แต่หากไปพบคุณหมอ คุณหมอจะวินิจฉัยอาการบาดเจ็บของคุณได้ด้วยการสังเกต

บางครั้งการรักษาก็ขึ้นอยู่กับชนิดของแมงกะพรุน ดังนั้นคุณอาจจำเป็นต้องเก็บตัวอย่างของแมงกะพรุนมาด้วย

การรักษาอาการแมงกะพรุนต่อย

การรักษาอาการแมงกะพรุนต่อย มีทั้งการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการรักษาทางการแพทย์ ขึ้นอยู่กับชนิดของแมงกะพรุน ระดับความรุนแรง และปฏิกิริยาของคุณ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

อาการแมงกะพรุนต่อยส่วนใหญ่สามารถรักษาได้ดังนี้

  • ล้างบริเวณที่ถูกต่อยด้วยน้ำส้มสายชู
  • ใช้วัสดุแข็งๆ เช่น ไม้ กระดาษ แหนบ ค่อยๆ เขี่ยหรือดึงรยางค์ออก
  • แช่ผิวบริเวณที่ถูกต่อยในน้ำร้อนประมาณ 43-45 องศาเซียลเซียส หรืออาบน้ำร้อน 20 ถึง 45 นาที หากไม่มีเทอร์โมมิเตอร์ ลองให้ผู้อื่นช่วยทดสอบอุณหภูมิด้วยการหยดน้ำลงที่แขน หรือข้อศอก หากรู้สึกร้อนแต่ไม่ลวกผิวแปลว่าน้ำร้อนใช้ได้ 

วิธีการที่ควรหลีกเลี่ยง

วิธีต่อไปนี้คือวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกแมงกะพรุนต่อยที่ไม่มีประโยชน์ หรือยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าได้ผลจริง

  • ขูดเอาเข็มพิษออก
  • ล้างแผลด้วยน้ำทะเล
  • ล้างแผลด้วยปัสสาวะ
  • ล้างแผลด้วยน้ำเปล่า
  • ทาแผลด้วยผงหมักเนื้อ
  • ทาแอลกอฮอล์ เอธานอล หรือแอมโมเนีย
  • ใช้ผ้าขนหนูถูแผล
  • ใช้ผ้าพันแผลกดลงบนบาดแผล

การรักษาทางการแพทย์

  • การรักษาพยาบาลฉุกเฉิน คนที่มีปฏิกิริยาต่ออาการแมงกะพรุนต่อยอย่างรุนแรง อาจต้องการการปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) หรือต้องใช้เซรุ่มต้านพิษ (antivenin medication) หากเป็นพิษของแมงกะพรุนกล่อง
  • การให้ยารับประทาน ผดผื่นหรือปฏิกิริยาอื่นๆ ของผิวหนังที่มาจากภาวะภูมิแพ้ (hypersensitivity) ที่ล่าช้า อาจรักษาได้ด้วยยาต้านฮิสตามีน (antihistamines) คอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroids) และอาจต้องรับประทานยาแก้ปวดร่วมด้วย
  • ล้างตา (Eye flushing) หากแมงกะพรุนต่อยตรงบริเวณดวงตาหรือใกล้ดวงตา จำเป็นต้องให้การรักษาเพื่อควบคุมอาการปวด และล้างตาให้สะอาดทันที และอาจต้องรีบไปพบจักษุแพทย์โดยเร็วที่สุด

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองแบบไหนที่จะช่วยรักษาอาการแมงกะพรุนต่อย

รูปแบบการใช้ชีวิตและการเยียวยาด้วยตนเองต่อไปนี้อาจช่วยรักษาอาการแมงกะพรุนต่อยของคุณได้:

  • ก่อนลงเล่นน้ำ หรือเดินเล่นที่ชายหาด คอยมองหาป้ายเตือนภัยแมงกะพรุนเสมอ
  • เวลาไปทะเลหรือชายหาด ควรพกน้ำส้มสายชูและแหนบติดกระเป๋าไปด้วย

ก่อนไปท่องเที่ยวที่ทะเล หรือแหล่งที่มีแมงกะพรุนจำนวนมากนั้น โปรดขอเข้ารับการตรวจสุขภาพโดยแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอ เพื่อรับรู้ถึงประวัติทางสุขภาพ หรือโรคแทรกซ้อนของคุณว่าควรระมัดระวังด้านใดได้อีกบ้าง เพราะอาจทำให้คุณได้ท่องเที่ยวได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 16/07/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา