backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ภาวะอาหารเป็นพิษ (Food Poisoning)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย เธียรธัช มีโภคา · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ภาวะอาหารเป็นพิษ (Food Poisoning)

คำจำกัดความ

ภาวะอาหารเป็นพิษ คืออะไร

ภาวะอาหารเป็นพิษ (Food Poisoning) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต หรือ เจือปนสารพิษ นี่คือสาเหตุหลักของภาวะอาหารเป็นพิษ โดยทั่วไปแล้วภาวะอาหารเป็นพิษไม่ใช่อาการร้ายแรง และผู้ที่มีภาวะนี้ส่วนใหญ่จะสามารถหายเองได้ในเวลาไม่กี่วันโดยไม่ต้องรับการรักษา

ภาวะอาหารเป็นพิษ พบได้บ่อยเพียงใด

ภาวะอาหารเป็นพิษพบได้ทั่วไป เกิดขึ้นได้ในคนทุกวัย สามารถจัดการได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของภาวะอาหารเป็นพิษ

สัญญาณและอาการทั่วไปของภาวะอาหารเป็นพิษ ได้แก่

อาจมีอาการบางอย่างที่ไม่ได้รวมอยู่ในอาการข้างต้นนี้ หากคุณมีข้อกังวลเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์

ควรไปพบหมอเมื่อใด

ควรไปพบหมอหากมีอาการดังต่อไปนี้

  • อาเจียนบ่อยและไม่สามารถกลั้นอาเจียนได้
  • อาเจียนหรือขับถ่ายเป็นเลือด
  • ท้องเสียนานเกินกว่า 3 วัน
  • รู้สึกเจ็บปวดหรือเกร็งบริเวณช่องท้องอย่างรุนแรง
  • วัดอุณหภูมิทางปากสูงได้เกินกว่า 38.6 องศาเซลเซียส
  • รู้สึกกระหายน้ำอย่างรุนแรง ปากแห้ง ปัสสาวะเพียงเล็กน้อยหรือไม่ได้ปัสสาวะเลย อ่อนเพลียอย่างรุนแรง วิงเวียนหรือมึนงงศีรษะ
  • สายตาพร่ามัว กล้ามเนื้อไม่มีแรง และเป็นเหน็บตามแขน

สาเหตุ

สาเหตุของภาวะอาหารเป็นพิษ

ภาวะอาหารเป็นพิษสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีการปนเปื้อน ซึ่งการปนเปื้อนนั้นอาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการแปรรูปหรือผลิตอาหาร รวมถึงสามารถปนเปื้อนได้ตั้งแต่ขั้นตอนการเพาะปลูก เก็บเกี่ยว แปรรูป กักเก็บ ขนส่ง หรือระหว่างเตรียมพร้อม ถ้ารับประทานอาหารที่ปรุงไม่สุก อย่างเช่น ผักสลัด หรือพืชผัก ผลไม้ ชนิดอื่นๆ เชื้อโรคหรือสารพิษที่เป็นอันตรายก็อาจไม่ได้ถูกทำลาย และอาจเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะอาหารเป็นพิษได้

แบคทีเรีย ไวรัส หรือปรสิตจำนวนมาก เป็นสาเหตุหลักของภาวะอาหารเป็นพิษ โดยไวรัส ถือเป็นสาเหตุที่พบมากที่สุด ตามมาด้วยเชื้อแบคทีเรีย

สารพิษ ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลัก สามารถเกิดขึ้นได้จากแบคทีเรียในอาหาร รวมถึงในผัก เนื้อสัตว์และเนื้อปลาที่มีสารพิษตกค้าง นอกจากนี้ สารพิษก็อาจหมายถึงสารเคมี ซึ่งสามารถก่อให้เกิดภาวะอาหารเป็นพิษได้เช่นกัน

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของภาวะอาหารเป็นพิษ

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเกิดภาวะอาหารเป็นพิษ ประกอบด้วย

  • ผู้สูงอายุ เมื่อเราอายุมากขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายจะอ่อนแอลง และรับมือต่อการติดเชื้อได้น้อยลง
  • หญิงตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์นำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงในด้านระบบเผาผลาญและการไหลเวียนโลหิต ซึ่งช่วยเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะอาหารเป็นพิษ ภาวะอาหารเป็นพิษอาจรุนแรงมากขึ้นในระหว่างช่วงการตั้งครรภ์
  • ทารกและเด็กเล็ก เพราะมีระบบภูมิคุ้มกันที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่
  • บุคคลที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง อย่างเช่น เบาหวาน โรคตับ หรือโรคเอดส์
  • การวินิจฉัยและการรักษาโรค

    ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยภาวะอาหารเป็นพิษ

    การวินิจฉัยอาหารเป็นพิษส่วนมากขึ้นอยู่กับประวัติการรักษา รวมถึงระยะเวลาการป่วย และสิ่งที่รับประทานเข้าไปซึ่งทำให้เกิดอาการ นอกจากนี้ คุณหมออาจจะสั่งตรวจร่างกายเพื่อหาสัญญาณของภาวะการขาดน้ำ ต่อจากนั้น คุณหมออาจสั่งตรวจเพิ่มเติมสำหรับประกอบการวินิจฉัย เช่น การตรวจเลือด ตรวจอุจจาระ หรือตรวจหาพยาธิ เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการ และยืนยันการวินิจฉัย

    หลังได้รับอุจจาระของผู้มีอาการแล้ว คุณหมอจะส่งตัวอย่างไปยังห้องแล็บเพื่อระบุตัวเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ แต่ในบางกรณี สาเหตุของอาหารเป็นพิษก็ไม่อาจระบุได้

    การรักษาภาวะอาหารเป็นพิษ

    สำหรับคนส่วนใหญ่ ภาวะอาหารเป็นพิษจะหายไปได้เองโดยไม่ต้องรับการรักษาภายใน 2 ถึง 3 วัน แต่ภาวะอาหารเป็นพิษบางชนิดอาจใช้เวลานานกว่านั้น อย่างไรก็ตาม หากเกิดอาการนานแล้วยังไม่หายขาด คุณหมอก็อาจพิจารณาวิธีการรรักษา โดยยึดตามความเจ็บป่วยและความหนักของอาการคนไข้เป็นหลัก

    นอกจากนี้ คุณหมอยังสามารถแนะนำให้ทดแทนการสูญเสียน้ำในร่างกาย โดยการดื่มน้ำและอิเล็กโตรไลท์ รวมถึงกานได้รับแร่ธาตุอย่าง เช่น โซเดียม โพแทสเซียม และแคลเซียม ซึ่งจะช่วยรักษาความสมดุลของน้ำในร่างกายที่สูญเสียไประหว่างเกิดอาการท้องเสีย รวมถึงการให้น้ำเกลือผ่านทางหลอดเลือดดำ เพื่อป้องกันและรักษาภาวะร่างกายขาดน้ำ

    ยาปฏิชีวนะก็อาจถูกนำมาใช้ในกรณีที่ภาวะอาหารเป็นพิษเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และคนไข้มีอาการหนัก ในกรณีที่เกิดอาการในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะก็จะช่วยป้องกันทารกจากการติดเชื้อได้

    หากไม่ได้ขับถ่ายเป็นเลือด หรือมีไข้ร่วมด้วย คุณหมอก็อาจให้คนไข้รับยาแก้ท้องเสีย ชนิด โลเพอราไมด์ (Imodium A-D) หรือ ยาบิสมัท ซับซาลิไซเลต (Pepto-Bismol)

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองที่รับมือกับภาวะอาหารเป็นพิษ

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยให้คุณรับมือกับอาหารเป็นพิษได้ดียิ่งขึ้น

    • ปล่อยให้กระเพาะได้พักฟื้น ยังไม่ควรทานหรือดื่มอะไรในไม่กี่ชั่วโมงหลังเกิดอาการ
    • ลองอมน้ำแข็ง หรือจิบน้ำปริมาณน้อยๆ ดื่มน้ำอัดลมผสมเกลือ หรือเครื่องดื่มเกลือแร่ชนิดปลอดคาเฟอีน
    • หลังจาการรักษาอาการใหม่ ควรเริ่มต้นด้วยการรับประทานอาหารรสไม่จัด ไขมันต่ำ ย่อยง่าย เช่น ขนมแคร็กเกอร์ ขนมปังปิ้ง เจลาติน กล้วยหอม และข้าว
    • ความป่วยไข้และภาวะขาดน้ำ จะทำให้ผู้ป่วยเหนื่อยล้าและอ่อนแอ ผู้เกิดอาการอาหารเป็นพิษจึงจำเป็นต้องพักผ่อนมากๆ

    หากมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณได้ดีขึ้น

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย เธียรธัช มีโภคา · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา