backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

กลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด (Antiphospholipid Syndrome)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 30/09/2020

กลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด (Antiphospholipid Syndrome)

กลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด (Antiphospholipid Syndrome)  เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของการสร้างแอนติบอดี้ ส่งผลให้เลือดจับตัวเป็นก้อนตามบริเวณอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ไต ปอด สมอง นอกจากนี้หากสตรีมีครรภ์อยู่ในภาวะต้านฟอสโฟลิพิด อาจส่งผลให้เกิดการแท้งบุตรได้

คำจำกัดความ

กลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด (Antiphospholipid Syndrome) คืออะไร

กลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด (Antiphospholipid Syndrome) เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของการสร้างแอนติบอดี้ ส่งผลให้เลือดจับตัวเป็นก้อนตามบริเวณอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ไต ปอด สมอง นอกจากนี้หากสตรีมีครรภ์อยู่ในภาวะต้านฟอสโฟลิพิด อาจส่งผลให้เกิดการแท้งบุตรได้

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษากลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิดที่แน่ชัด แต่การรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดแข็งตัวได้

 พบได้บ่อยเพียงใด

อาการของกลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิดพบได้บ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ เช่น โรคลูปัส (Lupus) หรือกลุ่มอาการโจเกรน (Sjogren’s Syndrome)

อาการ

อาการของกลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด

ผู้ป่วยที่อยู่กลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด จะมีอาการดังต่อไปนี้

  • เลือดอุดตันที่ขา เช่น อาการปวดและบวมแดง
  • การแท้งบุตรบ่อย ๆ หรือปัญหาในการคลอดบุตร รวมถึงปัญหาภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น ความดันโลหิตสูง ครรภ์เป็นพิษ
  • ผื่น มีอาการผื่นแดงขึ้นตามบริเวณร่างกาย
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • อาการทางระบบประสาท เช่น อาการปวดศีรษะ ไมเกรน ภาวะสมองเสื่อมและอาการชัก
  • เลือดออกเป็นระยะๆ โดยเฉพาะบริเวณจมูกและเหงือก นอกจจากนี้อาจมีเลือดออกที่ผิวหนัง ซึ่งจะปรากฏเป็นจุดสีแดงๆ เล็กๆ เป็นหย่อมๆ

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของกลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด

สาเหตุของกลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่ผลิตแอนติบอดี้ผิดพลาด ซึ่งส่งผลให้เลือกจับตัวเป็นก้อน อาจส่งผลให้เกิดโรคหรือติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด

ปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด มีดังนี้

  • เพศ พบได้บ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
  • ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น ภาวะภูมิแพ้ตัวเอง โรคลูปัสหรือกลุ่มอาการของโรคโจเกรน
  • การติดเชื้อ พบได้บ่อยในผู้ที่ติดเชื้อบางชนิด เช่น ซิฟิลิส เอชไอวี เอดส์ ไวรัสตับอักเสบ และโรคไลม์ เป็นต้น
  • ยายางชนิด เช่น ยาสำหรับรับประทานโรคความดันโลหิตสูง ยาควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ ยาป้องกันอาการชัก
  • ประวัติครอบครัว หากสมาชิกในครอบครัวเคยอยู่ในกลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด อาจเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น
  • การวินิจฉัยและการรักษา

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยกลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด

    การวินิจฉัยกลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด ในเบื้องต้นแพทย์จะนำเลือดของผู้ป่วยมาตรวจเพื่อตรวจหาความผิดปกติ หากพบความผิดปกติแพทย์จะตรวจอีกครั้งเพื่อยืนยันการวินิจฉัยของโรค

    การรักษากลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด

    โดยส่วนใหญ่แพทย์มักตรวจพบแอนติบอดี้ต่อต้านฟอสโฟลิพิดหลังจากพบการแข็งตัวของเลือดหรือภาวะแท้งซ้ำๆ ดังนั้นเป้าหมายหลักของการรักษาคือการบำบัดหรือลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้อีกครั้ง โดยมีวิธีการรักษาดังนี้

    • วิธีการรักษาที่เกิดจากการแข็งตัวของเลือด แพทย์อาจเริ่มจากการฉีดยาเฮพาริน (Heparin) เพื่อต้านการแข็งตัวของเลือด ร่วมกับการรับประทานยาวาร์ฟาริน (Warfarin) ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงแพทย์อาจต้องฉีดยาเพื่อรีบป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด
    • วิธีการรักษาผู้ป่วยสตรีมีครรภ์หรือวางแผนคลอดบุตร แพทย์อาจเริ่มจากการฉีดยาเฮพาริน (Heparin) และให้รับประทานยาแอสไพริน (Aspirin) ในปริมาณน้อย เพื่อป้องกันการแท้งบุตร

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษากลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษากลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด  มีดังนี้

    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
    • ปรึกษาหมอเป็นประจำเพื่อติดตามอาการอยู่เสมอ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 30/09/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา