backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

เอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาด (Anterior Cruciate Ligament Tear)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 17/12/2020

เอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาด (Anterior Cruciate Ligament Tear)

หากคุณพบว่าตนเองมีอาการบาดเจ็บบริเวณหัวเข่า ส่งผลให้เคลื่อนไหวได้ยากลำบากกว่าเดิม ก็สามารถเป็นไปได้ว่าคุณอาจกำลังประสบกับสัญญาณแรกเริ่มของอาการ เอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาด (Anterior Cruciate Ligament Tear ; ACL) และอาจจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัย รวมถึงเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

คำจำกัดความ

เอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาด (Anterior Cruciate Ligament Tear) คืออะไร

เอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาด (Anterior Cruciate Ligament Tear ; ACL) คือ ความเสียหายของเส้นเอ็นบริเวณหน้าหัวเข่าที่ทำการไขว้กับเอ็นไขว้หลังเป็นรูปตัว X เกิดการฉีกขาด ซึ่งเส้นเอ็นไขว้หน้านี้มักมีหน้าที่หลักในการช่วยให้คุณควบคุมการเคลื่อนไหวของข้อต่อได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การเดิน การวิ่ง การกระโดด และการหมุนขา เป็นต้น

ดังนั้น เมื่อคุณมีการเคลื่อนไหวแบบผิดรูปแบบเมื่อใด ก็อาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะประสบกับภาวะเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาดได้ในทันที

เอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาด สามารถพบบ่อยได้เพียงใด

เส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาด อาจพบได้บ่อยกับทุกเพศทุกวัย ที่มีการเคลื่อนไหวด้วยความเร็วและเปลี่ยนทิศทางกะทันหัน โดยเฉพาะกับนักกีฬาที่ใช้มีการใช้ความคล่องตัวสูง เช่น ฟุตบอล บาสเก็ตบอล วอลเลย์บอล เทนนิส เป็นต้น

อาการ

อาการเส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาด

อาการแรกเริ่มผู้ป่วยอาจมีการได้ยิ่งเสียงดังออกมาจากภายในบริเวณเอ็นไขว้หน้าหัวเข่า เนื่องจากเป็นเสียงที่เกิดจากความเสียหายเมื่อคุณมีการเคลื่อนไหวผิดจังหวะ จากนั้นอาจมีอาการบวม และเจ็บปวดอย่างรุนแรงในเวลาถัดมา ซึ่งสามารถทำให้คุณมีการเคลื่อนไหวได้อย่างลำบากมากขึ้น จนถึงขั้นเคลื่อนไหวตามปกติไม่ได้เช่นเดิม โดยเฉพาะการขึ้น-ลงบันได หรือตามพื้นผิวขรุขระ

สาเหตุ

สาเหตุ เส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาด

การบาดเจ็บของเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาดมักเกิดขึ้นระหว่างที่คุณกำลังดำเนินกิจกรรมทางด้านกีฬา และการออกกำลังกายที่อาจทำให้เกิดความเครียดที่หัวเข่าเสียมากกว่า โดยอาจใช้การเคลื่อนไหวด้วยรูปแบบดังต่อไปนี้

  • เปลี่ยนทิศทางกะทันหัน
  • ข้อเข่า และเท้ามีการหมุนตัว หรือบิดแรง
  • หยุดการเคลื่อนไหวกะทันหัน
  • เกิดการกระแทกโดยตรงบริเวณหัวเข่า

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิด เส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาด

  • การเล่นกีฬาบางประเภทที่มีการเคลื่อนไหวสูง
  • สวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมกับเท้า และการใช้งาน
  • ความแตกต่างทางพันธุกรรมทางกล้ามเนื้อของแต่ละบุคคล

ที่สำคัญผู้หญิงนั้น อาจสามารถประสบกับภาวะ เส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาด ได้มากกว่าผู้ชาย เพราะเนื่องจาก ร่างกายของผู้หญิงมีกระดูกเชิงกรานที่กว้างกว่าผู้ชายทำให้กระดูกช่วงโคนขา และกระดูกบริเวณแข้ง มีผลต่อการเคลื่อนไหว ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อความเสียหายของเส้นเอ็นไขว้หน้าเข่าได้

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัย เส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาด

แพทย์อาจเริ่มทำการประเมินอาการบาดเจ็บของคุณ ด้วยการเอกซเรย์ (X-rays)  การถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI)  และอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) เพื่อตรวจสอบโครงสร้างภายในบริเวณขาทั้งหมดที่ได้รับความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ และกระดูก

จากนั้นเมื่อทราบสาเหตุของอาการบาดเจ็บแล้ว แพทย์จึงจะค่อยเริ่มขั้นตอนการรักษาในลำดับถัดไปให้เหมาะสมตามอาการของแต่ละบุคคล

การรักษา เส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาด

หากอาการไม่อยู่ในขั้นรุนแรงมากนัก แพทย์อาจแนะนำเป็นการรับประทานยาต้านการอักเสบ และยาบรรเทาอาการปวดบวม พร้อมให้ผู้ป่วยสวมใส่อุปกรณ์ที่ช่วยพยุงหัวเข่าไว้ เพื่อให้ไม่ให้คุณนั้นต้องออกแรง หรือทิ้งน้ำหนักมากเกินไป

หากเป็นในกรณีที่มีอาการรุนแรงแพทย์อาจจำเป็นต้องทำการผ่าตัด เพื่อนำเอ็นที่มีการฉีกขาดออก และแทนที่ด้วยเส้นเอ็นที่เป็นเนื้อเยื่อใหม่ให้เชื่อมกับกระดูก และกล้ามเนื้อเดิม

ภายหลังจากการผ่าตัดนั้น คุณอาจจำเป็นต้องได้รับการกายภาพบำบัดร่วมด้วย เพื่อเป็นการฟื้นฟูความยืดหยุ่นของข้อเข่า และเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อขาในการเคลื่อนไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองเพื่อป้องกันและรักษาเ อ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาด

เพื่อลดความเสี่ยงก่อนการเกิดอาการบาดเจ็บบริเวณเส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่า คุณควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันร่วมด้วย ดังต่อไปนี้

  • การออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อขา สะโพก กระดูกเชิงกราน
  • เลือกรองเท้าที่เหมาะสมกับการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ
  • ฝึกการเคลื่อนไหวให้หัวเข่าได้คล่องตัวมากขึ้น โดยเฉพาะการฝึกเพื่อรองรับน้ำหนักขณะกระโดด
  • ปรับปรุงเทคนิคการหมุนตัว หมุนหัวเข่ากะทันหัน เพื่อป้องกันเส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 17/12/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา