สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

ความชรา เป็นเรื่องธรรมชาติที่ไม่อาจหลีกหนีได้ ทั้งร่างกายและจิตใจของเราจะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น และการเรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองให้แข็งแรง อาจสามารถช่วยเพิ่มความมั่นใจ และ สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

เรื่องเด่นประจำหมวด

สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

ผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อย และการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม

ผู้สูงอายุ เป็นวัยที่ประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ ลดน้อยลง ทำให้เสี่ยงประสบปัญหาสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจได้บ่อยกว่าคนในวัยอื่น ๆ และที่มีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาสุขภาพหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ตัวอย่างปัญหาสุขภาพที่พบในผู้สูงอายุ เช่น โรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคข้ออักเสบ โรคอัลไซเมอร์ การปรับพฤติกรรมให้ดีต่อสุขภาพอาจช่วยให้ผู้สูงอายุป้องกันการเกิดโรคใหม่และลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่เป็นอยู่เดิมได้ [embed-health-tool-bmi] อายุเท่าไหร่ถึงเรียกว่า ผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุ (Olderly) หมายถึงผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เป็นวัยที่ควรเอาใจใส่เกี่ยวกับสุขภาพมากขึ้น เนื่องจากอาจเกิดปัญหาสุขภาพได้ง่ายกว่าคนในวัยอื่น โดยปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยมักมาจากกลุ่มโรคที่เกิดจากความชราภาพ ทำให้ร่างกายถดถอยและอวัยวะต่าง ๆ เสื่อมลง เช่น สายตาแย่ลง หูตึง กลั้นปัสสาวะไม่ได้ และกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่สะสมมาเป็นเวลานานหลายปี โดยอาจเกิดร่วมกับปัจจัยทางพันธุกรรม นำไปสู่โรคเรื้อรังต่าง ๆ ในวัยสูงอายุ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งการใส่ใจดูแลตัวเองตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกลุ่มหลังหรือลดความรุนแรงของโรคได้ นอกจากนี้ ผู้สูงอายุยังอาจมีกลุ่มอาการที่เกิดจากความเสื่อมถอยของสุขภาพในวัยชรา เช่น การหกล้ม อาการหลงลืม นอนไม่ค่อยหลับ เคลื่อนไหวได้ช้าลง ภาวะซึมเศร้า อารมณ์ไม่คงที่ ปัญหาสุขภาพ ผู้สูงอายุ […]

สำรวจ สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

ป้องกันปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ เพื่อสุขภาพที่ดีและมีชีวิตชีวา

ปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ เป็นเรื่องที่ควรใส่ใจ เนื่องจากสุขภาพร่างกายย่อมเสื่อมลงเมื่ออายุมากขึ้น และอาจทำให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้ ดังนั้นการดูแลและ ป้องกันปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีและสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น ปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ ปัจจุบันผู้สูงอายุในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า พ.ศ. 2563 มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่า 12 ล้านคน หรือราว 18% ของจำนวนประชากรทั้งหมด และจำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอีก 20% ในปี พ.ศ. 2564 จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นตามมา และปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย ได้แก่ โรคสามัญทั่วไป เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิต โรคไต รวมถึงกลุ่มอาการที่เกี่ยวของกับความชราภาพของร่างกาย การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้แข็งแรงและมีสุขภาพดี ด้วยการมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม รวมถึงครอบครัวและสังคมที่เข้าใจและให้ความช่วยเหลือจึงเป็นเรื่องสำคัญ การดูแลและ ป้องกันปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ อาจเกิดจากกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นเฉพาะในผู้สูงอายุเนื่องจากความเสื่อมของร่างกายเมื่อชราภาพ หรืออาจเกิดจากผลข้างเคียงจากโรคเรื้อรังที่เกิดขึ้นก่อนหน้า ซึ่งการดูแลและการป้องกันโรคที่ผู้สูงอายุกำลังเผชิญก็แตกต่างกันออกไป ดังนี้ ปัญหาความสมดุลของร่างกาย มึนงง และวิงเวียนศีรษะ ปัญหาความสมดุลของร่างกาย อาการมึนงง และวิงเวียนศีรษะ อาจเกิดจาก โรคทางสมอง โรคข้อเสื่อม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ความดันโลหิตต่ำ […]


สุขภาพจิตผู้สูงวัย

การฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุ สัญญาณและการป้องกัน

ผู้สูงอายุเป็นช่วงวัยที่เปราะบางทั้งทางร่างกายและจิตใจ หากผู้สูงอายุเกิดปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว โรคทางกาย หรือโรคซึมเศร้า อาจเกิดความคิดฆ่าตัวตายได้ ครอบครัวจึงควรเป็นส่วนสำคัญในการดูแล ใส่ใจและสังเกตสัญญาณปัญหาสุขภาพจิต เพื่อป้องกัน การฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุ ที่อาจเกิดขึ้นได้ การฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุ สถิติจากกรมสุขภาพจิตระบุว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จในผู้สูงอายุ สูงเป็นอันดับ 2 รองจากวัยทำงาน ตามสถิติล่าสุดในปี พ.ศ. 2562 พบว่า การฆ่าตัวตายสำเร็จในผู้สูงอายุ ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวน 927 คน และวัยทำงาน 3,380 คน  โดยสาเหตุการฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุที่พบบ่อย คือ ปัญหาความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด โรคเรื้อรังทางกาย และโรคซึมเศร้า ในปัจจุบันจำนวนประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น และเมื่อบุคคลมีอายุมากขึ้นอาจส่งผลต่อปัญหาสุขภาพร่างกายและสมอง ความสามารถในการทำงานลดลง ทำให้เกิดความเครียดและความวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้น ความสุขในชีวิตลดน้อยลง ซึ่งเป็นปัญหาที่อาจเพิ่มความเสี่ยงการฆ่าตัวตายในผู้สูงอายุได้เช่นกัน ผู้สูงอายุที่พยายาม ฆ่าตัวตาย ส่วนใหญ่มีภาวะซึมเศร้า ที่อาจเกิดขึ้นจากการสูญเสียคนที่รัก ความรู้สึกโดดเดี่ยว รู้สึกด้อยค่า หรือรู้สึกว่าเป็นภาระคนอื่น ความเจ็บป่วยเรื้อรัง หรืออาจเกิดจากปัญหาทางการเงิน ซึ่งผู้สูงอายุในประเทศไทยที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูง มักเป็นกลุ่มที่อยู่ติดบ้าน ถูกทอดทิ้ง ไม่มีคนใส่ใจดูแล ขาดคนรับฟังและพูดคุย จนผู้สูงอายุเกิดความน้อยใจ รู้สึกไม่มีส่วนร่วมกับครอบครัว เมื่อสิ่งเหล่านี้สะสมเป็นระยะเวลานาน […]


โภชนาการผู้สูงวัย

อาหารที่ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยง และควรจำกัดปริมาณให้เหมาะสม

ผู้สูงอายุควรได้รับสารอาหารในปริมาณที่พอเหมาะและหลากหลายเป็นประจำทุกวัน เพราะอาหารที่มีประโยชน์ช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี แต่อาจมี อาหารที่ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยง และควรจำกัดปริมาณให้เหมาะสม เนื่องจากอาหารเหล่านี้อาจส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมได้ โภชนาการผู้สูงอายุ รูปแบบการใช้ชีวิตและสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุที่เปลี่ยนแปลงไป อาจส่งผลต่อความอยากอาหาร ทำให้ได้รับปริมาณอาหารในแต่ละวันลดลง และส่งผลให้ผู้สูงอายุไม่ได้รับวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารอื่น ๆ อย่างครบถ้วน จนอาจทำให้เกิดความเจ็บป่วยตามมาได้ ผู้สูงอายุควรได้รับพลังงาน 1,500 – 2,000 กิโลแคลอรี/วัน และควรได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนและหลากหลายวันละ 3 มื้อ อีกทั้งควรจัดอาหารว่างให้เหมาะสมในแต่ละวันด้วย อาหารที่ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยง อาหารที่ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยง ไม่ในปริมาณมาก เพราะอาจส่งผลต่อสุขภาพได้ มีดังนี้ ไข่ดิบ ไข่เป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยโปรตีนและให้พลังงานแก่ร่างกาย แต่การรับประทานไข่ดิบอาจเป็นอันตรายต่อผู้สูงอายุได้ เนื่องจากไข่ดิบอาจมีเชื้อแบคทีเรีย ซัลโมเนลลา (Salmonella) ที่อาจทำให้เกิดอาการ ท้องเสีย มีไข้ ปวดท้อง และอาเจียน ถั่วงอกดิบ ถั่วงอกเจริญเติบโตในสภาพอากาศที่อบอุ่นและชื้น จึงอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรียจำนวนมาก ผู้สูงอายุและผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอจึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานถั่วงอกดิบ หรือควรนำไปปรุงให้สุกก่อนรับประทานทุกครั้ง เกลือและอาหารโซเดียมสูง ผู้สูงอายุสามารถรับประทานเกลือได้ในปริมาณที่พอเหมาะ เพียง 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน หรือประมาณ 1-2 ช้อนชา เพราะหากรับประทานเกลือมากเกินไป อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ผู้สูงอายุจึงควรหลีกเลี่ยงอาหาร จำพวก ขนมขบเคี้ยว อาหารกระป๋อง อาหารแปรรูป เช่น แฮม เบคอน […]


สุขภาพจิตผู้สูงวัย

สัญญาณปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ ที่ควรรู้

ผู้สูงอายุอาจเผชิญกับปัญหาสุขภาพ ความเครียด หรือภาวะทางจิต ซึ่งอาจทำให้เกิด ปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตทั้งในระดับครอบครัวและสังคม การสังเกต สัญญาณปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพจิต รู้ทันสัญญาณเหล่านี้เพื่อเข้ารับการรักษาได้ทัน ปัญหาด้านสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ   องค์การอนามัยโลก (WHO) คาดการณ์ว่า ระหว่างปี พ.ศ. 2558 – 2593 จำนวนประชากรผู้สูงอายุ ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป จะเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า จากประมาณ 12% เป็น 22% สำหรับประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ปี พ.ศ. 2563 จำนวนผู้สูงอายุ ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวนมากกว่า 12 ล้านคน หรือคิดเป็น 18% ของจำนวนประชากรทั้งหมด และจะเพิ่มขึ้นอีก 20% ในปี พ.ศ. 2564 ผู้สูงอายุจำนวนมากที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงเกิด ปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ เนื่องจากประมาณ 15% […]


สุขภาพกายผู้สูงวัย

5 ข้อต้องรู้ ดูแลความจำของผู้สูงอายุ

เคยสังเกตหรือไม่? ว่าคนสูงวัยในบ้านเริ่มมีอาการหลง ๆ ลืม ๆ เกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น ลืมกุญแจบ้าน จำชื่อเพื่อนไม่ได้ ลืมว่าจะเดินไปหยิบอะไร หรือแม้แต่เหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านมาก็สามารถลืมได้ง่ายขึ้น อาการที่เกิดขึ้นนั้นเป็นไปตามวัยที่เพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพของความจำก็เริ่มลดลง และยิ่งสังเกตได้ชัดเจนเมื่อเข้าสู่วัย 60 ปี เพราะสมองบางส่วนเริ่มหดตัว การจดจำจะลดลงตามไปด้วย หากไม่เพิ่มการดูแลร่างกายและใส่ใจรายละเอียดการช่วยฟื้นฟูให้มากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน จะยิ่งมีความเสี่ยงเกิดโรคสมองเสื่อมได้มากขึ้น เราในฐานะลูกหลานจึงควรหมั่นสังเกตสิ่งที่เปลี่ยนไป เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคสมองเสื่อมที่อาจเกิดขึ้นได้  ดังนั้น 5 วิธีดูแลความจำของผู้สูงอายุ ที่เราควรรู้ เพื่อรับมือดูแลการรับรู้และความจำของคุณพ่อคุณแม่สูงวัยได้อย่างเหมาะสม คือ 1. พฤติกรรมอะไรบ้าง ที่เป็นสัญญาณว่าเสี่ยงเข้าสู่ภาวะสมองเสื่อม มีปัญหาด้านการสื่อสาร การใช้คำ การเรียบเรียงประโยคที่ผิดไปจากเดิม จดจำข้อมูลไม่ค่อยได้ ลืมเหตุการณ์ต่าง ๆ ง่ายขึ้น แม้จะเป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นก็ตาม เรื่องที่เคยทำได้ก็จะกลายเป็นเรื่องยากขึ้น เช่น การคำนวณตัวเลข หรือ การทำอาหารที่กะสัดส่วนไม่ค่อยถูก มีปัญหาด้านการตัดสินใจ หรือการแก้ปัญหาต่าง ๆ บุคลิกภาพเปลี่ยนไป อารมณ์ไม่เหมือนเดิม ฉุนเฉียวง่าย บางครั้งอาจเกิดภาพหลอน 2. สาเหตุของการเกิดโรค สาเหตุหลัก […]


โภชนาการผู้สูงวัย

วิตามินและอาหารเสริมสำหรับผู้สูงอายุ จำเป็นหรือไม่

จากสถิติพบว่า มากกว่าครึ่งของผู้สูงอายุวัย 65 ปีขึ้นไป กินวิตามินและอาหารเสริม อย่างไรก็ตาม วิตามินและอาหารเสริมสำหรับผู้สูงอายุ จำเป็นหรือไม่ บทความนี้มีคำตอบมาให้คุณแล้ว วิตามินและอาหารเสริมสำหรับผู้สูงอายุ จำเป็นหรือไม่ โดยปกติแล้ว ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ จากการกินอาหารที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลทางสถิติพบว่า ผู้สูงอายุถือเป็นกลุ่มผู้บริโภคขนาดใหญ่ ที่บริโภควิตามินและอาหารเสริม โดยจากการสำรวจในกลุ่มผู้สูงอายุในหัวข้อ “วิตามินจำเป็นต่อผู้สูงอายุหรือไม่” ในปี 2013 พบว่า 68% ของชาวอเมริกันวัย 65 ปีขึ้นไป กินอาหารเสริมวิตามิน นอกจากนี้ ในปี 2017 ยังมีข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ระบุว่า 29% ของผู้สูงอายุบริโภคอาหารเสริม 4 ชนิดหรือมากกว่านั้น ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูลว่า โดยทั่วไปแล้ว วิตามินและอาหารเสริมไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด และในกรณีที่ร่างกายขาดสารอาหาร การกินอาหารเสริมก็ช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ต้องการได้ แต่สิ่งสำคัญคือ ผู้สูงอายุต้องตระหนักว่าอาหารเสริมไม่ใช่ยามหัศจรรย์ และไม่สามารถรักษาอาการป่วยได้ ดังนั้น หากต้องการบริโภคอาหารเสริม ควรปรึกษาแพทย์ และควรกินอาหารเสริมควบคู่กับการมีไลฟ์สไตล์ที่ส่งเสริมให้สุขภาพดี เช่น กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ วิตามินที่ผู้สูงอายุควรได้รับ สถาบันโภชนาการและการกำหนดอาหาร (The Academy of Nutrition and Dietetics) […]


ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

ปัญหาการนอนหลับของผู้สูงอายุ กับสาเหตุและวิธีแก้ไข

เมื่ออายุเริ่มมากขึ้น อะไร ๆ ก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ หรือด้านอื่น ๆ ที่อาจทำได้ช้าลง ซึ่งรวมไปถึง ปัญหาการนอนหลับของผู้สูงอายุ เช่น ง่วงเร็วขึ้น ตื่นเช้าขึ้น นอนหลับลึกน้อยลง แล้วเราจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรให้ผู้สูงอายุนอนหลับได้ง่ายขึ้น มาดูกันเลย ทำไมผู้สูงอายุมักมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ ปัญหาการนอนหลับของผู้สูงอายุ อาจมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง ได้แก่ ปัญหาทางเดินปัสสาวะ อาจทำให้ต้องลุกมาเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ ในช่วงเวลากลางดึก โรคกรดไหลย้อน หากมีการรับประทานอาหารมื้อหนักในช่วงเวลาเย็น หรือกลางดึก ความผิดปกติของระบบประสาท เช่น โรคอัลไซเมอร์ พาร์กินสัน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ สามารถส่งผลกระทบต่อระดับออกซิเจนในร่างกาย ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ง่วงนอนในตอนกลางวัน รวมไปถึงอาจมีปัญหาด้านกระบวนการทางความคิด มีภาวะเครียด หรือเป็นโรคซึมเศร้า ความเจ็บปวดที่เกิดจากโรคต่าง ๆ เช่น ข้ออักเสบ ข้อเข่าเสื่อม การเปลี่ยนแปลงการผลิตฮอร์โมน เช่น เมลาโทนิน คอร์ติซอล ปัญหา การนอนหลับ ของผู้สูงอายุจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น การดื่มคาเฟอีน หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การนอนงีบในช่วงเวลากลางวัน รวมไปถึงสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุ เทคนิคช่วยแก้ ปัญหาการนอนหลับของผู้สูงอายุ การวิจัยเผยว่าผู้สูงอายุสามารถทำตามขั้นตอนต่าง ๆ อาจช่วยปรับปรุงปัญหา การนอนหลับ ของผู้สูงอายุได้ โดยทั้งนี้ ผู้สูงอายุอาจจำเป็นจะต้องเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างเพื่อ การนอนหลับ อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารมื้อใหญ่ก่อนนอนไม่นาน […]


ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

เคล็ดลับการดูแล สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ให้เหมาะสมกับช่วงวัย

ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงอายุใด การรักษาสุขอนามัยภายในช่องปาก ก็ย่อมเป็นสิ่งสำคัญที่ควรต้องเอาใจใส่อยู่เสมอ  ถึงแม้จะมีวิธีการดูแลช่องปากพื้นฐานอย่างการแปรงฟันที่เหมือนกัน แต่บางครั้งเมื่ออายุมากขึ้น ก็อาจจำเป็นต้องตระหนักถึงการดูแลสุขภาพช่องปากมากขึ้นตามไปด้วย วันนี้ บทความของ Hello คุณหมอ จึงขอนำเคล็ดลับดี ๆ เกี่ยวกับการดูแล สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ มาฝากให้ทุกครอบครัวได้ทราบไปพร้อม ๆ กันค่ะ ปัญหาช่องปาก ที่มักพบเจอในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป มักเริ่มมีจำนวนฟันลดน้อยลงตามช่วงวัยและตามการดูแลรักษาสุขภาพฟัน ถ้าหากไม่มีการ ดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ หรือดูแลไม่ดี ก็อาจส่งผลให้ผู้สูงอายุนั้นมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับปัญหาทางด้านสุขภาพช่องปาก ดังต่อไปนี้ โรคเหงือก เป็นอาการที่เกิดจากการสะสมของคราบจุลินทรีย์ และเศษอาหารที่อยู่ติดตามซอกฟัน โดยมักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุจำนวนมากประมาณ 68% ในช่วงอายุ 65 ปีขึ้นไป สูญเสียฟัน ส่วนมากการสูญเสียฟันในช่องปากไปมักเกิดขึ้นได้กับผู้สูงอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้น แต่ก็สามารถเริ่มหลุดร่วงได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 65-74 ปี จนบางครั้งทำให้จำเป็นต้องหันมาปรับเปลี่ยนอาหารที่รับประทานในชีวิตประจำวัน ให้เป็นอาหารที่มีลักษณะอ่อนลง ง่ายต่อการเคี้ยวมาทดแทน ฟันผุ เมื่อรู้สึกปวดฟัน แต่ไม่เข้ารับการตรวจ หรือการรักษาอย่างเท่าทัน ก็อาจทำให้เศษอาหาร หรือแบคทีเรีย ๆ ต่าง ๆ เข้าไปกัดกร่อนจนก่อให้เกิดฟันผุ จนสามารถส่งผลเสียลึกต่อรากฟัน และค่อย ๆ […]


โภชนาการผู้สูงวัย

อาหารผู้สูงอายุ เพื่อสุขภาพดีของชาววัยเก๋า จึงต้องเลือกกิน

ผู้สูงอายุ เป็นช่วงวัยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลและเอาใจใส่ในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกิน ที่ควรใส่ใจมากเป็นพิเศษ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นและเหมาะสมกับสุขภาพ แต่วัยเก๋าควรจะกินอะไรเพื่อให้สุขภาพดีบ้างนั้น บทความนี้จาก Hello คุณหมอ มีสาระน่ารู้เกี่ยวกับ อาหารผู้สูงอายุ มาฝากค่ะ โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง วัยผู้สูงอายุ จำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่หลากหลาย เพื่อเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง โดยโภชนาการสำคัญสำหรับ ผู้สูงอายุ ได้แก่ ไฟเบอร์ เมื่ออายุมากขึ้น ระบบเผาผลาญของผู้สูงอายุก็จะเริ่มมีการเสื่อมสภาพ ทำให้เผาผลาญได้น้อยลง และมีผลให้การย่อยอาหารไม่ดีตามมาด้วย ผู้สูงอายุ จึงควรเลือกกินอาหารที่ให้ไฟเบอร์สูง เพราะไฟเบอร์จะช่วยกระตุ้นการทำงานในระบบทางเดินอาหาร ช่วยให้การย่อยอาหารทำได้ดีขึ้น และป้องกันปัญหาท้องผูกที่มักจะพบได้บ่อย ๆ ในกลุ่มผู้สูงอายุ โปรตีน โปรตีนเป็นสารอาหารทีสำคัญสำหรับทุกเพศและทุกวัย โดยเฉพาะวัยผู้สูงอายุ ควรกินอาหารที่ให้โปรตีนสูง เพื่อช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย แต่ถ้าให้ดีควรเลือกโปรตีนแบบไม่ติดมัน หรือลีนโปรตีนที่ให้โปรตีนล้วน เพื่อลดปัญหาคอเลสเตอรอลสูง แคลเซียม แคลเซียมมีส่วนช่วยสำคัญในการเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่เมื่ออายุมากขึ้นมวลกระดูกและกล้ามเนื้อก็เริ่มที่จะเสื่อมสลายลง เสี่ยงต่อการเปราะ หัก แตก หรือโรคกระดูกพรุน การกินอาหารที่ให้แคลเซียมจะช่วยป้องกันและชะลอโรคกระดูกพรุนได้ วิตามินดี เมื่ออายุมากขึ้นกระบวนการสังเคราะห์วิตามินดีในร่างกายจะเริ่มทำงานได้น้อยลง ผู้สูงอายุ จึงควรได้รับสารอาหารประเภทวิตามินดีเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพราะวิตามินดีมีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียม ทำให้ร่างกายได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ จึงอาจกล่าวได้ว่า วิตามินดีเองก็เป็นสารอาหารสำคัญในการบำรุงกระดูกด้วยเช่นกัน หากมีวิตามินดีน้อย ร่างกายก็จะดูดซึมแคลเซียมได้ไม่เต็มที่ มีผลต่อความแข็งแรงของมวลกระดูกและกล้ามเนื้อ อาหารผู้สูงอายุ ที่ควรรับประทานมีอะไรบ้าง สุขภาพของ ผู้สูงอายุ นั้นมีความเสื่อมลงไปตามอายุขัย […]


สุขภาพจิตผู้สูงวัย

วิกฤตวัยกลางคนในผู้หญิง เรื่องจริง หรือแค่คิดไปเอง

ในช่วงวัยรุ่น เราอาจจะคาดหวังอนาคตไว้มากมาย ตั้งแต่การทำงาน ไปจนถึงการสร้างครอบครัว บางคนอาจจะประสบความสำเร็จตามที่คาดหวังไว้ แต่บางคนอาจจะไม่ใช่แบบนั้น เรียกได้ว่า วิกฤตวัยกลางคนในผู้หญิง นี้เป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้หญิงวัยกลางคนอาจจะต้องพบเจอ แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรากำลังประสบกับปัญหาเหล่านั้น อยู่หรือเปล่า มาร่วมหาคำตอบได้ในบทความนี้ของ Hello คุณหมอ กันค่ะ วิกฤตวัยกลางคน คืออะไร วิกฤตวัยกลางคน (Midlife Crisis) ใช้เรียกช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงในช่วงชีวิตวัยกลางคน (ช่วงอายุ 35 ถึง 55 ปี)  โดยมีลักษณะที่เด่นชัดที่สุดคือ ความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลง มีความสับสนทางอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก โดยคนเรานั้นอาจจะมีลักษณะของวิกฤตวัยกลางคนแตกต่างกันไป แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว จะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางด้านการกระทำ และทางด้านความรู้สึก ตลอดไปจนถึงทางด้านมุมมองชีวิต ในบางครั้งวิกฤตวัยกลางคนนี้อาจใช้เวลานานหลายปี คนส่วนใหญ่จะรู้สึกถึงความสับสนทางอารมณ์อย่างรุนแรง ในช่วงวัย 40 ขึ้นไป วิกฤตวัยกลางคนนี้อาจจะประกอบไปด้วยหลายๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไขตั้งแต่สมัยก่อน ความไม่พึงพอใจใชชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบัน การสูญเสียโอกาส หรืออาจจะเป็นความหวาดกลัวต่ออนาคตที่ไม่แน่นอน และการแก่ตัวลง ในช่วงวัยรุ่น เราอาจจะมีความคาดหวังต่อชีวิตหลายๆ อย่าง แต่เมื่อมีอายุมากขึ้น ใช่ว่าทุกคนที่จะทำตามความฝันนั้นได้เสียทั้งหมด เมื่อเรามาถึงช่วงอายุ 40 ปี หลายคนจะเริ่มตระหนักว่าได้เดินทางมานานกว่าครึ่งชีวิต […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม