backup og meta

นอนน้อย ส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตอย่างที่คุณอาจนึกไม่ถึง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    นอนน้อย ส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตอย่างที่คุณอาจนึกไม่ถึง

    นอนไม่พอ นอนน้อย หรือนอนหลับไม่ถึง 6 ชั่วโมงนั้น นอกจากจะทำให้เสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนเวลาอันควรแล้ว ผลการศึกษาวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ยังระบุว่า การนอนน้อยอาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตทางด้านสังคม ดังต่อไปนี้

    นอนน้อย ส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตอย่างไรบ้าง

    ลดการมีปฎิสัมพันธ์กับผู้คน

    การนอนไม่พออาจทำให้ผู้คนเข้าสังคมน้อยลง และรู้สึกโดดเดี่ยวเดียวดาย โดยเหตุผลก็คือ สมองอ่านการแสดงอารมณ์บนใบหน้าได้ยาก และอาจทำให้การถอดความหมายจากสีหน้า ให้ดูเป็นการคุกคาม จึงทำให้เกิดการสนทนาระหว่างกันน้อยลง ฉะนั้น การนอนไม่พอในระดับรุนแรง จึงอาจทำให้เกิดการหลีกเลี่ยงการมีปฎิสัมพันธ์ทางสังคมได้ ซึ่งมักจะเกิดกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เนื่องจากผู้หญิงมักจะรู้จักพูดคุย และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนได้ดีกว่าผู้ชายนั่นเอง

    เกิดปฎิกิริยาทางด้านอารมณ์มากขึ้น

    การนอนไม่พอยังทำให้เกิดปฎิกิริยาทางด้านอารมณ์มากขึ้นด้วย ทำให้ผู้คนด่วนตัดสินใจ หงุดหงิด และมีอารมณ์แปรปรวน คนที่นอนไม่พอจึงมีแนวโน้มจะเกิดปฎิกิริยาทางด้านลบ เมื่อมีเหตุการณ์ร้ายๆ เกิดขึ้น เนื่องจากอาการอดนอนจะกระตุ้นให้สมองส่วนอะมิกเดลา (Amygdala) ที่ทำให้เกิดความรู้สึกทางด้านลบ อย่างเช่น อารมณ์โกรธขึ้นมา นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคนทำงานถึงควบคุมอารมณ์อารมณ์กันไม่ค่อยอยู่ การศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่าการนอนไม่พอจะทำให้ความรู้สึกดีๆ ลดลง และจะรู้สึกโกรธ เกรี้ยวกราด หรือซึมเศร้าอยู่ตลอดเวลา

    ไม่สามารถประมวลผลข้อมูลทางด้านอารมณ์

    การนอนไม่พอยังส่งผลต่อการประมวลผลข้อมูลทางด้านอารมณ์ด้วย ซึ่งมักจะทำให้เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นได้น้อยลง นอกจากนี้ยังลดความสามารถในการเห็นอกเห็นใจในสถานการณ์ต่างๆ ของคนอื่นด้วย จริงๆ แล้ว คนที่นอนไม่พอมักจะไม่ค่อยแสดงอารมณ์บนใบหน้าออกมาด้วย ซึ่งส่งผลให้เกิดความเข้าผิดระหว่างเพื่อนร่วมงานได้

    ส่งผลต่อการทำงาน

    นอนไม่พออาจมีปัญหาต่อการตัดสินใจและการแก้ปัญหา และในบางกรณีก็อาจก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ดูไม่มีศีลธรรมด้วย เนื่องจากควบคุมตัวเองไม่ได้ นอกจากนี้ งานวิจัยที่ทำการศึกษาปัญหาการนอนที่ส่งผลกระต่อการทำงาน แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างคนที่คดโกงและคนที่ไม่ได้คดโกง โดยพบว่าการนอนไม่หลับมีส่วนเชื่อมโยงกับพฤติกรรมเบี่ยงเบน ซึ่งคนที่นอนไม่พอนั้น มีแนวโน้มที่จะทำอะไรป่าเถื่อนและมีความรุนแรง

    ขาดการรับรู้เกี่ยวกับตัวเอง

    นอกเหนือจากการขาดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นแล้ว คนที่นอนไม่พอก็มักจะขาดความรับรู้เกี่ยวกับตัวเอง ส่งผลให้มีอาการอ่อนเพลียที่ส่งผลต่อจิตใจ และการทำงานโดยรวมได้ไม่ถูกต้อง โดยทั่วไปแล้ว การดูแลตัวเองและการตัดสินใจก็จะเป็นอะไรที่เกิดความผิดพลาดด้วย และในกรณีที่นอนไม่พอในระดับรุนแรง คนที่นอนไม่พอนั้นก็จะเกิดอาการซึมเศร้าขึ้นมาด้วย นอกจากนี้ยังส่งผลต่อด้านความจำ ความคิด การตัดสินใจ การรับรู้ และการแก้ปัญหา ซึ่งการนอนไม่พอจะทำให้สมองบางส่วนที่ควบคุมการแสดงออกทางพฤติกรรมต่างๆ เกิดความแปรปรวน และส่งผลให้คนที่นอนไม่พอนั้นอาจแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีออกมาได้

    เคล็ดลับที่ทำให้การนอนมีคุณภาพมากขึ้น

    การนอนที่มีคุณภาพจะช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของคุณดีขึ้นได้อย่างมาก ซึ่งเคล็ดลับดีๆ ต่อไปนี้น่าจะช่วยให้คุณนอนหลับพักผ่อนได้อย่างเต็มอิ่ม

    • เข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลา แม้แต่ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ วิธีนี้จะช่วยให้ร่างกายสร้างนาฬิกาชีวภาพขึ้นมา ซึ่งนั่นจะช่วยให้คุณรู้สึกง่วง หรือนอนหลับได้สนิทในช่วงกลางคืน
    • สร้างกิจกรรมชวนผ่อนคลายก่อนนอน กิจกรรมชวนผ่อนคลายเหล่านั้นจะช่วยแยกเวลานอนออกจากกิจกรรมที่ชวนให้รู้สึกตื่นเต้น เครียด หรือวิตกกังวล ซึ่งอาจทำให้คุณไม่รู้สึกง่วง หรือไม่สามารถนอนหลับได้ลึกๆ หรือนานๆ ได้
    • หลีกเลี่ยงการงีบหลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงกลางวัน ซึ่งจะช่วยให้คุณรู้สึกง่วงเมื่อถึงเวลานอนได้
    • ออกกำลังกายทุกวัน การออกกำลังกายอย่างหนักหน่วงจะช่วยคุณได้ดีที่สุด แต่การออกกำลังกายเบาๆ ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลยนะ แต่อย่าออกกำลังกายในช่วงใกล้เวลานอนก็แล้วกัน
    • ใช้หมอนและที่นอนที่นุ่มสบาย หมอนและที่นอนที่คุณใช้มานานนับสิบปีอาจจะหมดอายุขัยไปแล้วก็ได้ ฉะนั้นก็ควรเปลี่ยนใหม่ตามความเหมาะสม หมอนและที่นอนใหม่ๆ อาจชวนให้คุณมีความรู้สึกอยากนอนมากขึ้นก็ได้ นอกจากนี้ยังอาจช่วยลดฝุ่นหรือสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ ที่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณนอนหลับไม่สนิทก็ได้

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา