backup og meta

การใช้หูฟัง ให้ปลอดภัย ไม่สูญเสียการได้ยิน


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 21/09/2021

    การใช้หูฟัง ให้ปลอดภัย ไม่สูญเสียการได้ยิน

    ปัจุบัน หูฟัง แทบจะเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่เราแทบจะขาดไม่ได้ ไม่ว่าจะขึ้นรถไฟฟ้า วิ่งที่สวนสาธารณะ หรือออกกำลังกายที่ฟิตเนส ทุกคนล้วนใช้หูฟังแทบจะตลอดเวลา บางครั้งขณะทำงานเราก็เปิดเพลง ใส่หูฟังไปด้วย แต่บางครั้งหลายคนอาจจะใช้หูฟังแบบผิดๆ จนทำให้เกิดปัญหาในการสูญเสียการได้ยิน วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำแนะนำใน การใช้หูฟัง อย่างไรให้ปลอดภัยมาฝากกันค่ะ

    การใช้หูฟัง ทำให้สูญเสียการได้ยินได้หรือไม่

    การที่ต้องเผชิญกับเสียงดังๆ อย่างในผับ คอนเสิร์ต หรือแม้กระทั่งในร้านคาราโอเกะ รวมไปถึงการใช้หูฟัง เปิดเพลงดัง ๆ เป็นเวลานาน กิจกรรมการได้รับเสียงดัง ๆ เหล่านี้ หากได้รับเสียงที่ดังในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดอันตรายต่อหู หรือเกิดความเสี่ยงในการสูญเสียการได้ยินได้

    องค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้มีการประมาณการไว้ว่าประชากรหนุ่มสาวกว่าหนึ่งพันล้านคนทั่วโลกนั้น อาจมีความเสี่ยงในการสูญเสียการได้ยิน จากในจำนวนนี้ ผู้ที่อายุ 13-35 ปี จำนวนมากว่า 43 ล้านคนใช้มีปัญหาในการสูญเสียการได้ยิน ซึ่งจำนวนร้อยละ 50 นั้นสูญเสียการได้ยินจากปัญหาในการใช้หูฟัง

    ใช้หูฟัง ให้ปลอดภัย ทำได้อย่างไร

    การใช้หูฟังให้มีความปลอดภัยนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 อย่างคือ ระดับความดัง ระยะเวลาในการใช้งาน และความถี่ที่ได้รับ ปัจจัยทั้งสามนี้มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ซึ่งการได้รับเสียงดัง ในระยะเวลาสั้น อาจมีค่าเท่ากับการได้รับเสียงที่เบาลงแต่ได้รับนานขึ้น

    ระดับเสียงสูงสุดที่มีความเหมาะสมและปลอดภัย ที่ควรจะได้รับคือ 85 เดซิเบลแต่ไม่ควรนานเกิน 8 ชั่วโมง แต่หากระดับเสียงที่เพิ่มขึ้น จำนวนเวลานั้นก็จะลดลงตามไปด้วย เช่น ระดับเสียง 100 เดซิเบล จะสามารถได้รับเสียงไม่เกิด 15 นาทีต่อวัน

    โดยทั่วไปแล้ว หูฟังที่เราใช้กันอยู่นั้นจะมีระดับเสียงเริ่มต้นตั้งแต่ 75 เดซิเบล ไปจนถึง 136 เดซิเบล ซึ่งปกติแล้วคนเรามักจะตั้งค่าระดับเสียงไว้ที่ 75-105 เดซิเบล ดังนั้นการที่จะใช้หูฟังให้มีความปลอดภัยนั้น คุณจะต้องคำนวณว่าคุณใช้ระดับเสียงอยู่ที่เท่าไร และใช้นานกี่ชั่วโมง เพื่อความปลอดภัยของสุขภาพหู

    วิธีง่ายๆ ที่ช่วยป้องกันการสูญเสียการได้ยิน

    เราไม่สามารถป้องกัน การสูญเสียการได้ยินได้เสมอไป เพราะบางครั้งอาจเกิดจากความแก่ตัวลง ทำให้อวัยวะนั้นเสื่อมสภาพลงไปด้วย แต่ก็ยังมีวิธีการบางอย่างที่สามารถช่วยป้องกันการสูญเสียการได้ยินได้ ดังนี้

    หลีกเลี่ยงเสียงดัง

    การหลีกเสี่ยงเสียงดัง เป็นวิธีการหลีกเลี่ยงการสูญเสียการได้ยินที่ดีที่สุด ซึ่งวิธีการสังเกตง่ายว่าเสียงนั้นดังเกินไปแล้วหรือไม่ คือ

    ระมัดระวังเมื่อใช้หูฟัง

    การฟังเพลงจากหูฟังนั้น บางครั้งอาจอาจเผลอเพิ่มเสียงจนดังเกินไป ซึ่งอาจทำให้ส่งผลกระทบกับการได้ยิน ซึ่งเราสามารถป้องกันได้ ด้วยวิธีเหล่านี้

    • ใช้หูฟังที่ช่วยตัดเสียงรบกวน เพื่อที่จะไม่ต้องเพิ่มเสียงให้ดังเพื่อกลบเสียงรบกวน
    • ปรับระดับเสียงให้พอเหมาะ ไม่ดังเกินไป
    • ไม่ปรับระดับเสียงเกินร้อยละ 60 ของเครื่องเล่นนั้นๆ
    • ไม่ใช้หูฟังมากกว่า 1 ชั่วโมงต่อครั้ง โดยให้ฟังอย่างน้อย 5 นาทีในทุก ๆ 1 ชั่วโมง

    ตรวจสุขภาพหู

    หากมีความกังวลว่าตนเองนั้นจะสูญเสียการได้ยิน หรือรู้สึกมีปัญหาในการได้ยิน ควรไปตรวจสุขภาพหูว่ายังปลอดภัยหรือไม่ สูญเสียการได้ยินหรือเปล่า อย่าปล่อยทิ้งปัญหาไว้นานเพราะอาจจะช้าเกินไปที่จะรักษา หากคุณเป็นนักดนตรี หรือต้องทำงานที่ได้ยินเสียงดัง ๆ อยู่เสมอควรไปตรวจสุขภาพหูอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 21/09/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา