backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ปวดส้นเท้า (Heel Pain)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ปวดส้นเท้า (Heel Pain)

คำจำกัดความ

เท้าและข้อเท้าของคุณสร้างขึ้นมาจากกระดูก 26 ชิ้น ข้อต่อ 33 ชิ้น และมากกว่า 100 เส้นเอ็น ส้นเท้าเป็นกระดูกที่ใหญ่ที่สุดในเท้าของคุณ ถ้าคุณใช้งานมากเกินไป หรือทำให้เท้าของคุณนั้นบาดเจ็บ คุณอาจกำลังประสบกับอาการ ปวดส้นเท้า  (Heel Pain)

อาการเจ็บปวดมักจะปรากฎใต้ส้นเท้าหรือด้านหลังเท้า ตรงส่วนที่เอ็นร้อยหวายเชื่อมกับกระดูกส้นเท้า บางครั้งมันยังส่งผลกระทบไปยังด้านข้างของส้นเท้า

  • อาการปวดที่ปรากฎใต้ส้นเท้านั้นเรียกว่า โรครองช้ำ (plantar fascitis) โรคนี้เป็นสาเหตุที่พบได้ประจำของอาการเจ็บส้นเท้า
  • อาการปวดหลังส้นเท้านั้นคือ เอ็นร้อยหวายอักเสบ อาการเจ็บยังสามารถส่งผลไปที่ข้างเท้าด้านในและด้านนอกของเท้าและส้นเท้า

ในหลายๆ กรณี อาการเจ็บปวดไม่ได้เกิดขึ้นจากอาการบาดเจ็บ ในตอนแรก มันมักจะเจ็บเบาๆ แต่อาการอาจรุนแรงขึ้นได้ และบางครั้งก็ใช้งานไม่ได้ อาการนี้มันจะหายได้เองโดยที่ไม่ต้องรักษา แต่บางครั้ง มันก็อาจจะเรื้อรังได้

ปวดส้นเท้าเป็นอาการที่พบบ่อยแค่ไหน

อาการปวดส้นเท้าเป็นปัญหาที่เกิดกับเท้าที่พบได้ทั่วไป แต่สามารถจัดการได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงของคุณ โปรดปรึกษากับหมอของคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

  • อาการปวดส้นเท้านั้นจะรู้สึกเจ็บปวดใต้ส้นเท้า หรืออาจจะแค่ด้านหลังส้นเท้า อย่างใดอย่างหนึ่ง
  • อาการปวดโดยปกตินั้นจะเริ่มจากอาการเจ็บปวดเล็กๆ น้อยๆ โดยไม่มีบาดแผลตรงส่วนที่ติดเชื้อ แต่มันจะแสดงอาการบ่อยครั้งเมื่อสวมใส่รองเท้าส้นแบนราบ
  • ในหลายกรณี อาการปวดจะอยู่บริเวณใต้เท้า ไปยังส่วนหน้าของเท้า
  • ถ้าคุณมีความกังวลเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์

ปวดส้นเท้า เมื่อไหร่ที่เราควรไปหาหมอ

คุณควรปรึกษาแพทย์ของคุณถ้าหากคุณมีอาการดังต่อไปนี้

  • อาการเจ็บปวดนั้นถึงขั้นรุนแรง
  • อาการเจ็บปวดนั้นเกิดขึ้นแบบฉับพลัน
  • คุณมีรอยแดงตรงส้นเท้า
  • คุณมีอาการบวมตรงส้นเท้า
  • คุณไม่สามารถเดินได้เนื่องจากคุณมีอาการปวดส้นเท้า

ถ้าคุณหรือคนใกล้ตัว มีสัญญาณหรืออาการอะไรก็ตามที่เหมือนอาการตามด้านบน หรือหากคุณมีคำถามอะไรก็ตาม ได้โปรดปรึกษากับหมอ เพราะร่างกายของทุกคนแตกต่างกัน จึงเป็นการดีที่สุดเสมอในการปรึกษากับแพทย์ ว่าควรรักษาอาการอย่างไร

สาเหตุ

อาการปวดส้นเท้าไม่เพียงแต่จะเกิดจากการบาดเจ็บเพียงตำแหน่งเดียว อย่างข้อเท้าพลิกข้อเท้าแพลงหรือหกล้ม แต่ยังมาจากความเครียดสะสมและการบวมของส้นเท้า

  • โรครองช้ำ โรครองช้ำมักจะปรากฏเมื่อมีแรงกดลงบนเท้ามากเกินไป จนสร้างความเสียหายต่อเส้นเอ็นฝ่าเท้า ก่อให้เกิดอาการเจ็บและตึงเท้า ค้นหาสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการนี้และตัวเลือกการรักษาที่เป็นไปได้
  • ข้อเคล็ดและขัดยอก อาการเคล็ดและขัดยอก เป็นอาการบาดเจ็บของร่างกาย ที่มักจะมาจากผลของการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องทางกายภาพ อาการเหล่านี้เป็นอาการที่พบเห็นได้ทั่วไป และอาการของมันไล่ตั้งแต่เล็กน้อยจนไปถึงขั้นรุนแรง ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการเคล็ดและขัดยอก
  • อาการแตกหรือหัก เป็นการแตกหักของกระดูก อาการนี้เป็นกรณีทางการแพทย์ขั้นฉุกเฉิน การเข้ารับการดูแลรักษานั้นเป็นสิ่งที่จำเป็น ควรรู้ว่าอาการอะไร ที่เรากำลังมองหา และใครที่มีความเสี่ยง
  • เอ็นร้อยหวายอักเสบ เอ็นร้อยหวายอักเสบเกิดขึ้นเมื่อเส้นเอ็นที่เชื่อมต่อกับกล้ามเนื้อน่องไปยังส้นเท้า มีอาการปวดหรืออักเสบ อันเนื่องมาจากการใช้งานหนักเกินไปจนบาดเจ็บ ค้นหาว่าอาการนี้ถูกวินิจฉัยและรักษาได้อย่างไรบ้าง
  • การอักเสบของถุงน้ำข้อต่อ ถุงของเหลวบริเวณข้อต่อของคุณ (หรือ Bursae) อยู่ล้อมรอบบริเวณที่เส้นเอ็น ผิวหนัง และเยื่อกล้ามเนื้อมาบรรจบกับกระดูก
  • ข้อกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด ภาวะข้อต่ออักเสบรูปแบบนี้ โดยทั่วไปจะส่งผลกระทบต่อกระดูกสันหลังของคุณ ซึ่งเป็นสาเหตุของการอักเสบอย่างรุนแรงของกระดูกสันหลัง ซึ่งอาจจะนำไปสู่อาการบาดเจ็บเรื้อรังและพิการในที่สุด เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ ข้อกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด (ankylosing spondylitis)
  • กระดูกตาย (Osteochondroses) ความผิดปกติเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเติบโตของกระดูกในวัยเด็กและวัยรุ่น เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความแตกต่างด้านประเภทของโรคนี้
  • ปฏิกิริยาจากข้ออักเสบ (Arthritis) การติดเชื้อในร่างกายที่ไปกระตุ้นอาการปวดส้นเท้าอาจมาจากอาการอักเสบ ค้นหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสาเหตุของมัน อาการ และการรักษาที่เป็นไปได้

การวินิจฉัยและการรักษา

*ข้อมูลในที่นี้ไม่สามารถทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ใดๆ กรุณาปรึกษากับหมอของคุณทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพื่อเติม

จะวินิจฉัยอาการเจ็บส้นเท้าได้อย่างไร

ถ้าหากคุณมีอาการปวดส้นเท้าที่รุนแรงขึ้น คุณสามารถลองวิธีการเหล่านี้ที่บ้านเพื่อบรรเทาความเจ็บ

  • พักผ่อนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • เอาน้ำแข็งมาประคบที่ส้นเท้าเป็นเวลา 10 ถึง 15 นาที สองครั้งต่อวัน
  • กินยาแก้ปวดที่หาซื้อได้เองจากร้านขายยยา
  • สวมใส่รองเท้าที่พอดีกับรูปเท้า
  • สวมเฝือกอ่อนสำหรับกลางคืน อุปกรณ์เสริมพิเศษ ที่จะช่วยยืดเท้าขณะที่คุณหลับ
  • ใช้ที่เสริมส้นหรือแผ่นรองพื้นรองเท้าเพื่อบรรเทาอาการปวด
  • ถ้าหากการรักษาที่บ้าน ไม่ช่วยให้อาการเจ็บปวดของคุณหายไป คุณอาจจำเป็นจะต้องไปพบหมอ พวกเขาจะทำการทดสอบทางกายภาพ และถามคุณเกี่ยวกับอาการของคุณเมื่อพวกเขาเริ่มการทดสอบ หมอของคุณอาจจะให้ทำการเอ็กซ์เรย์ เพื่อหาสาเหตุของอาการเจ็บส้นเท้า เมื่อหมอของคุณทราบถึงสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการเจ็บเท้า พวกเขาถึงจะสามารถทำการรักษาที่เหมาะสมให้แก่คุณได้

    จะรักษาอาการปวดส้นเท้าได้อย่างไร

    • ในหลายๆ กรณี หมอของคุณอาจสั่งให้กายภาพบำบัด สิ่งนี้สามารถช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ที่สามารถจะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงจากอาการบาดเจ็บได้มากขึ้น หากอาการปวดของคุณเข้าขั้นรุนแรง หมอของคุณอาจให้การรักษาต้านการอักเสบ โดยอาจเป็นการฉีดยาหรือรับประทานยา
    • คุณหมออาจแนะนำให้คุณดูแลเท้าของคุณให้มากเท่าที่จะทำได้ โดยการใช้เทปกาวพันเท้าหรือใช้อุปกรณ์สวมใส่แบบพิเศษที่เท้า
    • กรณีที่พบได้ยาก คือคุณหมออาจจะแนะนำให้ผ่าตัดเพื่อแก้ไขปัญหา แต่การผ่าตัดส้นเท้ามักจะต้องใช้เวลานานในการพักฟื้น และอาจจะไม่ทำให้หายจากอาการเจ็บเท้าเสมอไป

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองแบบไหน ที่สามารถช่วยเราจัดการกับอาการปวดส้นเท้า

    มันอาจจะเป็นไปไม่ได้ที่จะหลีกเลี่ยงอาการปวดส้นเท้าได้ทั้งหมด แต่ทว่ามันมีขั้นตอนที่ง่ายที่คุณสามารถนำไปใช้ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บตรงส้นเท้า และบรรเทาอาการปวด

    • สวมใส่รองเท้าที่พอดีและเข้ากับเท้าของเรา
    • สวมรองเท้าให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่ทำ
    • ยืดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกาย
    • รักษาระดับความเร็วของตัวเองระหว่างทำกิจกรรมทางกายภาพ
    • ควบคุมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ
    • พักผ่อนเมื่อคุณรู้สึกเหนื่อย หรือเมื่อกล้ามเนื้อของคุณมีอาการเจ็บ
    • ควบคุมน้ำหนัก

    หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษากับแพทย์ของท่าน เพื่อเข้าใจวิธีแก้ปัญหาที่ชัดเจนยิ่งขึ้นสำหรับตัวท่านเอง

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา