backup og meta

"NANA (นานะ)" ในรังนกแท้ สิ่งดีๆ ที่ธรรมชาติมอบให้ในรังนกแท้ เพื่อภูมิคุ้มกันของร่างกาย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 23/11/2020

    "NANA (นานะ)" ในรังนกแท้ สิ่งดีๆ ที่ธรรมชาติมอบให้ในรังนกแท้ เพื่อภูมิคุ้มกันของร่างกาย

    จากสถานการณ์ปัจจุบันที่เต็มไปด้วยเชื้อโรค หากให้แนะนำอาหารสักหนึ่งอย่างที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายคงต้องยกให้ รังนก (Edible bird’s nests) อาหารระดับตำนานที่มีจุดเริ่มต้นมาจากเครื่องเสวยของฮ่องเต้ ซึ่งเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยคุณค่าและเป็นที่นิยมของคนจีนมาเป็นเวลานาน จนได้รับการขนานนามว่า “ทองคำขาวแห่งท้องทะเล’

    โดยในรังนกแท้นั้นมี ไกลโคโปรตีน ที่มี NANA (นานะ) (N-Acetyl-Neuraminic Acid) หรือเรียกว่า กรดไซอะลิค (Sialic Acid) สารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่เกี่ยวข้องกับระบบ ซึ่งพบในสัดส่วนที่สูงใน “รังนกแท้” (ประมาณ 9%) เมื่อเทียบกับปริมาณโปรตีนสัตว์ในชนิดอื่น เช่น เนื้อไก่ เนื้อเป็ด และ เนื้อปลา เป็นต้น (ในเนื้อไก่ และเนื้อเป็ด พบนานะ (NANA) ในสัดส่วนที่น้อยมากเพียง 0.02% และ ในเนื้อปลาแซลมอน พบเพียง 0.01%)

    นานะ-รังนกแท้-ไกลโคโปรตีน
    NANA (N-Acetyl-Neuraminic Acid)

    จากข้อมูลทางการแพทย์พบว่าสารสำคัญใน “รังนก”  หรือ NANA (นานะ) มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งไม่ให้ไวรัส เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ เข้าสู่เซลล์ด้วยกลไกการจับกับเชื้อไวรัสโดยตรง และการขัดขวางการจับตัวระหว่างเชื้อไวรัสกับเซลล์เม็ดเลือดแดง ทั้งนี้นักวิจัยพบว่ารังนกที่มีปริมาณ NANA (นานะ) สูงก็จะมีความสามารถในการต้านไวรัสดีขึ้น ดังนั้น NANA (นานะ)  จึงอาจเป็นสารสำคัญในการต้านไวรัสนัั้นเอง

    ขณะเดียวกัน ไกลโคโปรตีน ในรังนก ยังช่วยเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน โดยช่วยเพิ่มการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิด โมโนไซด์ (Monocyte) ซึ่งทำหน้าที่ช่วยปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคต่าง ๆ จึงนับได้ว่า “รังนก” มีสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ทั้งยังดีกับผิวพรรณและระบบประสาทอีกด้วย

    รังนกแท้ กับความนิยมของคนจีน

    จากคุณสมบัติดังกล่าว เป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยอธิบายว่า เหตุใด “รังนก’ จึงเป็นหนึ่งในบรรดาอาหารยอดนิยมของคนจีนเป็นเวลานานนับพันปีตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง โดยในวัฒนธรรมจีน ถือว่า “รังนก’ หรือ “เยี่ยนโว (燕窝)’ เป็นของล้ำค่า ที่มักใช้มอบเป็นของขวัญให้กับเชื้อพระวงศ์และขุนนางระดับสูงในทุกยุคสมัย และในปัจจุบันชาวจีนก็ยังคงเชื่อมั่นในสรรพคุณของรังนก จนกลายเป็นของหายาก และของฝากทรงคุณค่า

    โดยในตำราแพทย์แผนจีนจะใช้รังนกเป็นส่วนผสมในตำรับยา เพราะเชื่อกันว่า รังนกมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลังชั้นดีในการฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วย ช่วยรักษาโรคทางเดินหายใจ บำรุงสุขภาพเด็กที่ไม่แข็งแรง และส่งเสริมสุขภาพ โดยช่วยการย่อยและการดูดซึมสารอาหารให้ดีขึ้น เพราะเหตุนี้จึงมีการกล่าวว่าการรับประทานรังนกช่วยให้อายุยืน และชะลอความชรานั้นเอง

    รังนกแท้ VS รังนกปลอม ความเหมือนในความต่าง… คุณสังเกตได้

    นานะ-รังนกแท้-รังนกปลอม

    รังนกขาว – เป็นรังนกที่พบส่วนใหญ่ตามธรรมชาติ รังนกคุณภาพดีจะมีเส้นยาว ขาว สะอาด และมีขนาดใหญ่ จึงถือเป็นรังนกที่มีความบริสุทธิ์ ปราศจากสิ่งปลอมปน จากการวิจัยโครงสร้างทางเคมีต่อการเปลี่ยนแปลงของสีของรังนก พบว่า รังนกสีขาวตามธรรมชาติ จะสามารถเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีอื่นๆได้นั้น เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีของรังนกกับอากาศในถ้ำรังนก หรือในบ้านรังนกที่มีความชื้นและมีก๊าซไนโตรเจนสูง โดยไกลโคโปรตีนในรังนกจะทำปฎิกริยากับสารกลุ่มไนเตรตทำให้เกิดสีขึ้น ทำให้รังนกไม่บริสุทธิ์ และอาจมีผลเสียต่อสุขภาพ

    ในปัจจุบันรังนกแท้มีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดและมีราคาแพงมาก ทำให้มีคนฉวยโอกาสผลิตรังนกปลอมนํามาจําหน่ายในท้องตลาดทั้งในรูปแบบของรังนกแห้งและแบบสําเร็จรูป ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกันมากจนไม่สามารถแยกได้ด้วยตาเปล่า โดยรังนกปลอมส่วนใหญ่จะผลิตจากยางไม้  คือยางคารายา มีลักษณะสีขาว หรือ สีเหลืองอมชมพูจนถึงสีนํ้าตาลเข้มไม่ละลายนํ้า แต่สามารถดูดนํ้าทำให้พองตัวคล้ายวุ้น ขุ่นเล็กน้อยเมื่อนำมาต้มจะคล้ายรังนกแต่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

    หากต้องการซื้อรังนกนางแอ่นแท้ชนิดแห้งควรซื้อจากแหล่งจําหน่ายที่น่าเชื่อถือไว้ใจได้ซึ่งมีวิธีสังเกตรังนกแท้และรังนกปลอมจากยางคารายา ดังนี้

    ทั้งนี้เพื่อให้แยกความแตกต่างของรังนกแท้กับรังนกปลอมได้ชัดเจน จึงมีการนำเทคนิคอินฟราเรดสเปคโตรสโคปี (Infrared spectroscopy: FTIR) ซึงเป็นเทคนิคเดียวกับเครื่องตรวจเพชรมาใช้ในกระบวนการตรวจสอบโดยรังนกแท้จะมีรูปแบบของอินฟราเรดสเปคตรัม (Infrared spectrum) ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของรังนกแท้นั้นเอง

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 23/11/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา