backup og meta

ประโยชน์ของวิตามินดี ที่มีต่อสุขภาพ มีอะไรบ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 15/11/2022

    ประโยชน์ของวิตามินดี ที่มีต่อสุขภาพ มีอะไรบ้าง

    ประโยชน์ของวิตามินดี นอกจากจะช่วยเรื่องการดูดซึมแคลเซียม และฟอสฟอรัสแล้ว ยังอาจมีส่วนช่วยในการป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคอัลไซเมอร์ ดังนั้น การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินดี จึงอาจช่วยส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรงได้

    วิตามินดี มีส่วนช่วยบำรุงร่างกายอย่างไร

    วิตามินดีอาจมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างแคลเซียมภายในร่างกาย ทำให้กระดูกแข็งแรง และป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ นอกจากนี้ วิตามินยังอาจช่วยป้องกันโรคหัวใจวาย โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โรคแพ้ภูมิต้านทานตัวเอง และอาการผมร่วง ซึ่งในยุคปัจจุบันคนส่วนใหญ่มักมีอาการขาดวิตามินดีกันมากขึ้น เนื่องจากต้องนั่งทำงานอยู่ในออฟฟิศเป็นระยะเวลานาน หรือแม้แต่ทาครีมกันแดด เลยทำให้ผิวไม่ได้รับการกระตุ้นจากแสงแดดในการสร้างวิตามินดีขึ้นมา

    อาการขาดวิตามินดีของแต่ละคนอาจะแตกต่างกันไป แต่โดยส่วนใหญ่แล้วก็มักจะมีอาการปวดบริเวณข้อต่อ กล้ามเนื้อ รู้สึกอ่อนเพลีย มีปัญหาด้านการหายใจ และมีภาวะซึมเศร้าปะปน

    ประโยชน์ของวิตามินดี มีอะไรบ้าง

    สำหรับประโยชน์ของวิตามินดีต่อสุขภาพ อาจมีดังนี้

    1. อาจช่วยป้องกันต้านทานโรคมะเร็ง

    โรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งลำไส้อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาการขาดวิตามินดีในร่างกาย นอกจากนี้ ยังพบว่าการมีวิตามินดีในระดับสูง ยังช่วยป้องกันโรคมะเร็งเต้านมในผู้หญิงได้ด้วย ดงันั้น หากร่างกายมีวิตามินดีมากก็อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมได้

    มีนักวิจัยได้คำนวณเอาไว้ว่า ผู้ที่มีระดับวิตามินดีต่ำกว่าที่ระบุเอาไว้แนวทางปัจจุบันนั้น มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งลำไส้เพิ่มขึ้น 31 เปอร์เซ็นต์ ส่วนคนที่มีระดับวิตามินดีสูงกว่าที่ระบุเอาไว้ จะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งชนิดนี้ลดลง 22 เปอร์เซ็นต์

    2. อาจช่วยป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลว

    วิตามินดีอาจช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจได้ แต่ยังต้องหามีการศึกษาเพิ่มเติมว่า วิตามินส่งผลเช่นนี้ได้อย่างไร โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการรายงานว่า นักวิจัยได้ทำการทดสอบกับหนูทดลอง เพื่อทำการศึกษาในเรื่องเนื้อเยื่อบริเวณหัวใจที่เกิดรอยแผลเป็น เนื่องจากเวลาที่เนื้อเยื่อบริเวณหัวใจเกิดรอยแผลเป็นนั้น หัวใจก็จะสูบฉีดเลือดได้ยากลำบากขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการหัวใจล้มเหลวขึ้นในที่สุด

    ซึ่งผลการศึกษาวิจัย พบว่า วิตามินดีช่วยไม่ให้เนื้อเยื่อบริเวณหัวใจของหนูทดลอง เกิดเป็นรอยแผลเป็นขึ้นมา จึงช่วยป้องกันการอุดตันในระบบหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งถ้าทำการศึกษาวิจัยต่อไปให้มากขึ้น นักวิจัยเชื่อว่าวิตามินดีน่าจะเป็นตัวช่วยในการป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลวในมนุษย์ได้

    3. อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์

    ในการหาข้อสรุปว่าวิตามินดีสามารถช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้มั้ยนั้น ผลการศึกษาวิจัยได้เผยข้อสรุปออกมาว่า อาการขาดวิตามินดีนั้นไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์ แต่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกันระหว่างการโดนรังสียูวีในแสงแดด กับการป้องกันโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคพาร์กินสัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการผลิตวิตามินดีในร่างกายด้วย ซึ่งยังคงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อหาข้อสรุปในเรื่องนี้

    4. กำจัดไขมันบริเวณหน้าท้อง

    การศึกษาวิจัยอีกชิ้นหนึ่ง ที่ทำการศึกษาในเรื่องความสัมพันธ์กันระหว่างโรคอ้วน กับการมีระดับวิตามินดีต่ำ โดยเน้นศึกษาเรื่องไขมันในร่างกายชนิดไหนที่อาจตอบสนองต่อวิตามินดี ซึ่งนักวิจัยรายงานว่าไขมันส่วนเกินบริเวณหน้าท้องนั้น มีส่วนเกี่ยวข้องกับการมีวิตามินดีในระดับต่ำ

    อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อหาข้อสรุปว่าการขาดวิตามินดีทำให้เกิดไขมันส่วนเกินบริเวณหน้าท้อง หรือการมีไขมันส่วนเกินบริเวณหน้าท้องแล้วทำให้เกิดอาการขาดวิตามินดีกันแน่

    อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินดี มีอะไรบ้าง

    นอกจากการได้รับวิตามินดีจากแสงแดดแล้ว การรับประทานอาหารเหล่านี้ก็อาจช่วยเพิ่มระดับวิตามินดีได้

    • ปลาแซลมอน ผลการศึกษาวิจัยพบว่าปลาแซลมอนมีวิตามินมากถึง 988 IU ต่อน้ำหนัก 100 กรัม ซึ่งมากกว่าปริมาณที่ควรกินในแต่ละวันถึง 247%
    • ปลาซาร์ดีน มีวิตามินดีอยู่ 272 IU ซึ่งมากกว่าปริมาณที่ควรกินในแต่ละวัน 68%
    • น้ำมันปลา น้ำมันปลาหนึ่งช้อนชามีวิตามินดีอยู่ 450 IU ซึ่งใช้ป้องกันการขาดวิตามินดีในเด็กกันมานานแล้ว
    • ปลาทูน่ากระป๋อง ปลาทูน่ากระป๋องมีวิตามินดี 236 IU ต่อน้ำหนัก 100 กรัม ซึ่งมากกว่าปริมาณที่ควรกินในแต่ละวัน 50%
    • หอยนางรม มีวิตามินดี 320 IU ต่อน้ำหนัก 100 กรัม ซึ่งมากกว่าปริมาณที่ควรกินในแต่ละวัน 80% แต่มีแคลอรี่มากถึง 68 แคลอรี่

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 15/11/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา