backup og meta

สะตอ สุดยอดพืชผัก ของดีที่ชาวปักษ์ใต้ นิยมรับประทาน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 29/06/2020

    สะตอ สุดยอดพืชผัก ของดีที่ชาวปักษ์ใต้ นิยมรับประทาน

    หากเอ่ยถึงอาหารยอดนิยมในภาคใต้ เชื่อว่าหลายคนคงนึกถึง “สะตอ” หรือที่ชาวปักษ์ใต้เรียกว่า “กะตอ” เป็นอันดับต้นๆ อย่างแน่นอน ถึงแม้ว่าสะตอจะมีกลิ่นฉุน แต่ก็ไม่ทำให้ความนิยมในการรับประทานลดน้อยลงเลย นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับสะตอให้มากขึ้นกันค่ะ

    สะตอ ของดีจากชาวปักษ์ใต้

    สะตอ (Parkia speciosa หรือ Petai) มีรูปร่างคล้ายเมล็ดอัลมอนด์ เป็นที่รู้จักกันดีในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทย ประเทศสิงคโปร์ ประเทศลาว ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย เป็นต้น

    สะตอนั้นอุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการสูงมีโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต มีสรรพคุณที่ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยบำรุงสมองและสุขภาพดวงตา โดยส่วนใหญ่คนนิยมนำมารับประทานทั้งแบบดิบและแบบสุก  นอกจากนี้ยังสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู

    คุณค่าทางโภชนาการ

    คุณค่าทางโภชนาการของสะตอ 100 กรัม (ให้พลังงาน 124 กิโลแคลอรี่) ให้สารอาหาร ดังต่อไปนี้

    • ธาตุเหล็ก 3.4 มิลลิกรัม
    • วิตามินซี 32.7 มิลลิกรัม
    • วิตามินบี 1 0.15 มิลลิกรัม
    • วิตามินบี 2 0.2 มิลลิกรัม
    • วิตามินบี 3 0.5 มิลลิกรัม
    • โพแทสเซียม 376 มิลลิกรัม
    • แคลเซียม 126 มิลลิกรัม
    • โซเดียม 11 มิลลิกรัม
    • ฟอสฟอรัส 3 มิลลิกรัม
    • คาร์โบไฮเดรต 16.9 กรัม
    • โปรตีน 10 กรัม
    • ไขมัน 1.8 กรัม
    • ไฟเบอร์ 1 กรัม

     7 ประโยชน์จากสะตอ ที่คุณไม่เคยรู้

    • บรรเทาอาการซึมเศร้า

    สะตอมีทริปโตเฟน (Tryptophan) ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นสารเมลาโทนิน (Melatonin)  ช่วยบรรเทาอาการวิตกกังวล อาการเครียด ส่งผลให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์ดี

    • ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคโลหิตจาง

    สะตออุดมด้วยธาตุเหล็ก ที่ช่วยเสริมสร้างฮีโมโกลบินในเลือด ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคโลหิตจาง (Anemia)

    • ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิต

    องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (United States Food and Drug Administration : FDA) กล่าวว่า สะตอ มีธาตุโพแทสเซียมสูงและมีความเค็มต่ำ จึงมีคสรรพคุณที่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคดันโลหิตและโรคหลอดเลือดสมอง

    • รักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือด

    การรับประทานสะตอระหว่างมื้ออาหารจะช่วยรักษาระดับน้ำตาลกลูโคส (Glucose) ให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น และช่วยป้องกันอาการแพ้ท้องในสตรีมีครรภ์อีกด้วย

    • บรรเทาอาการท้องผูก

    สะตออุดมด้วยไฟเบอร์จำนวนมาก ช่วยฟื้นฟูลำไส้ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บรรเทาอาการท้องผูก นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาอาการเสียดท้องอีกด้วย

    • บำรุงสุขภาพดวงตา

    สะตอมีวิตามินเอสูงมากถึง 200 IU (หน่วยสากล) ต่อ 100 มิลลิกรัม ดังนั้นสะตอจึงมีคุณสมบัติในการช่วยบำรุงสุขภาพดวงตา และช่วยรักษากระจกตาให้มีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน

    • บำรุงสมอง

    มีงานวิจัยบางชิ้นระบุว่า สะตออุมด้วยโพแทสเซียมที่จะช่วยในการเรียนรู้ เพิ่มความจำ บำรุงสมองและยังช่วยกระตุ้นให้สมองตื่นตัว

    ผลข้างเคียงในการบริโภค

    ถึงแม้ว่าสะตอจะมีคุณค่าทางโภชนาการสูงและอุดมด้วยคุณประโยชน์มากมาย แต่หากรับประทานมากจนเกินไป ย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายได้เช่นกัน ดังนี้

    • สะตอมีกรดแจงโคลิก (Djenkolic acid)  เป็นกรดกำมะถัน มีพิษเล็กน้อย หากรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว และยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคเกาต์ โรคไตวายเฉียบพลัน โรคนิ่ว
    • เป็นที่ทราบกันดีว่าสะตอนั้นมีกลิ่นฉุน หากรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไปอาจทำให้มีกลิ่นปากและปัสสาวะมีกลิ่น

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 29/06/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา