backup og meta

สูตรน้ำองุ่น และประโยชน์ต่อสุขภาพ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/10/2022

    สูตรน้ำองุ่น และประโยชน์ต่อสุขภาพ

    องุ่น เป็นผลไม้ที่มีเมล็ดค่อนข้างเล็ก บางคนจึงอาจเผลอรับประทานเมล็ดเข้าไป อาจไม่ถูกกับรสขมของเมล็ด แต่หากนำมาทำเป็น สูตรน้ำองุ่น จะทำให้ทุกคนนั้นรับประทานองุ่นได้อย่างสะดวกขึ้น

    ประโยชน์สุขภาพขององุ่น

    องุ่น ตามท้องตลาดที่เราพบเห็นได้ทั่วไปนั้น มีหลากหลายสายพันธุ์ให้เราได้เลือกรับประทาน ไม่ว่าจะเป็น องุ่นเขียว องุ่นดำ องุ่นแดง องุ่นไร้เมล็ด เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินเค วิตามินซี ไฟเบอร์ และแร่ธาตุอื่น ๆ ที่สามารถให้คุณประโยชน์แก่ร่างกายของเราได้อย่างแน่นอน ดังนี้

    • ต้านอนุมูลอิสระ

    เนื่องจากองุ่นมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อว่า เรสเวอราทรอล (Resveratrol) เควอซิทิน (Quercetin) ไลโคปีน (lycopene) ที่ช่วยเข้าไปซ่อมแซมความเสียหายของเซลล์ภายในร่างกายที่อาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น อีกทั้งยังเป็นการป้องกันความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ และโรคมะเร็งได้อีกด้วย

    • ป้องกันโรคเบาหวาน

    ถึงองุ่นจะมีรสชาติที่ค่อนข้างหวานจนทำให้หลายคนคงเป็นกังวลแน่นอนว่าจะก่อให้เกิดน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น จนส่งผลให้โรคเบาหวานตามมาหรือไม่ ซึ่งแท้จริงแล้ว สมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา ได้มีการสนับสนุนให้ผู้คนล้วนหันมาบริโภคองุ่นได้ แต่ควรอยู่ในปริมาณที่พอดีเทียบเท่ากับปริมาณการรับประทานคาร์โบไฮเดรตในแต่วัน

    อีกทั้งยังมีผลการศึกษาของนักวิจัยที่ให้ผู้บริโภคกลุ่มที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงของโรคเบาหวาน ทำการรับประทานองุ่น หรือลูกเกดเป็นเวลา 3 สัปดาห์ โดยมีผลการศึกษาบ่งชี้ว่า บุคคลกลุ่มนี้สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ไปได้ ถึง 7 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับประทานองุ่น

    • เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานดวงตา

    ลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน (Zeaxanthin) ในองุ่นถูกจัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจช่วยบำรุงดวงตาของคุณให้ไกลจากภาวะจอประสาทตาเสื่อม ต้อกระจก และต้อหิน จากอนุมูลอิสระที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นในร่างกายของเราได้

    อีกทั้งยังมีการทดสอบถึงประสิทธิภาพของ เรสเวอราทรอล (Resveratrol)  ในองุ่นร่วมด้วย ซึ่งชี้ให้เห็นได้ว่า สารดังกล่าวเป็นสารที่อาจป้องกันปัญหาสายตาต่าง ๆ ของเราได้เป็นอย่างดีเมื่อเรารับประทานองุ่นเป็นประจำ

    • ช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน

    วิตามิน แร่ธาตุ และสารประกอบหลายชนิด ที่อยู่ในองุ่น อาจมีการส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันของคุณให้ทำงานได้ดีมากขึ้น และอาจเข้าไปชะลอการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อร่างกายอย่าง เชื้ออีโคไล (E. coli) ที่อาจส่งผลให้คุณนั้นมี อาการเจ็บป่วย หรือไข้หวัดใหญ่ร่วมด้วยได้

    สูตรน้ำองุ่น-ผลไม้-ประโยชน์ขององุ่น

    สูตรน้ำองุ่น

    วัตถุดิบในการทำน้ำองุ่น

    • องุ่น สายพันธุ์ให้ก็ได้ที่คุณชื่นชอบ 500 กรัม
    • น้ำมะนาว 1 ช้อนชา (อาจไม่จำเป็นสำหรับบางบุคคล)
    • น้ำดื่มสะอาด (อาจไม่จำเป็นสำหรับบางบุคคล)
    • น้ำตาล (อาจไม่จำเป็นสำหรับบางบุคคล)

    วิธีทำน้ำองุ่น

    1. ล้างองุ่นที่คุณจะนำมาใช้ให้สะอาด
    2. น้ำองุ่นใส่ลงไปในเครื่องปั่นไฟฟ้าจนละเอียด บางครั้งหากน้ำในองุ่นของคุณมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอ อาจทำการเติมน้ำดื่มสะอาดเข้าไปร่วมด้วยเล็กน้อยได้
    3. เทเนื้อ และน้ำองุ่นที่ทำการปั่นลงในตะแกรงกรอง โดยมีภาชนะรองรับน้ำองุ่นอยู่ด้านล่าง
    4. จากนั้นเค้นน้ำในตะแกรงให้ได้น้ำองุ่นเยอะที่สุด แล้วทำการชิมรสชาติ หากยังไม่มีรสชาติหวานแต่อย่างใด คุณสามารถเติมน้ำตาลลงคนให้เข้ากันได้
    5. จัดแต่งใส่แก้วพร้อมรับประทาน หรือเหยือกที่มีฝาปิดสนิทแช่เก็บไว้ในตู้เย็น

    หากรสชาติน้ำองุ่นของคุณหวานจัดจนเกินไป อาจทำการเติมน้ำมะนาวเพิ่มความเปรี้ยวลงไปร่วมด้วยได้ เพื่อเป็นการตัดรสชาติเลี่ยนขณะดื่ม

    ความเสี่ยงของการทาน องุ่น ที่คุณควรรู้

    กลุ่มคณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม (EWG) ระบุว่า องุ่น จัดอยู่หนึ่งในผลไม้ที่มีสารเคมีตกค้างมากที่สุด จึงทำให้ผู้บริโภคนั้นอาจได้รับสารเคมีเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายไปด้วยได้ ที่สำคัญผู้ที่กำลังมีการใช้ยาลดความอ้วน หรือผู้ที่มีภาวะทางสุขภาพเกี่ยวข้องกับไตอยู่นั้น อาจไม่เหมาะกับการรับประทานองุ่นอย่างมาก เนื่องจากโพแทสเซียมในองุ่นอาจเพิ่มฤทธิ์การแข็งตัวของหลอดเลือด และยังส่งผลให้ไตคุณมีการทำงานได้ไม่เต็มที่ บางกรณีก็สามารถถึงแก่ชีวิตได้เลยทีเดียว

    ดังนั้นก่อนการรับประทานอาหารใด ๆ ทุกครั้งควรมีการปรึกษา และขอรับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน เพราะอาหารบางชนิดที่คุณอยากรับประทานอย่างใจจดใจจ่อ ก็อาจเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะกับภาวะทางสุขภาพของคุณที่กำลังประสบอยู่ได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/10/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา