backup og meta

ทองแดง อีกหนึ่งแร่ธาตุสำคัญที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 16/07/2020

    ทองแดง อีกหนึ่งแร่ธาตุสำคัญที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

    ทองแดง (Copper) เป็นแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และมีความจำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย พบได้ในเนื้อเยื่อของร่างกาย ทองแดง มีบทบาทในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงและรักษาดูแลเซลล์ประสาทและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย นอกจากนี้ ทองแดง ยังช่วยให้ร่างกายสร้างคอลลาเจน ดูดซับธาตุเหล็ก และยังมีบทบาทสำคัญในการผลิตพลังงานให้กับร่างกาย

    ทองแดง จะพบได้ในตับ สมอง หัวใจ ไต และกล้ามเนื้อลาย การมีทองแดงในร่างกายมากเกินไปหรือน้อยเกินไป อาจจะส่งผลต่อการทำงานของสมอง แม้ว่าร่างกายจะต้องการทองแดงเพียงเล็กน้อยแต่ก็เป็นแร่ธาตุที่จำเป็น โดยปริมาณที่แนะนำให้ผู้ใหญ่รับ ทองแดง อยู่ที่ 900 ไมโครกรัมต่อวัน แต่ถ้าหากคุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรได้รับในปริมาณมากขึ้นเล็กน้อย 1 มิลลิกรัม หรือ 1.3 มิลลิกรัม ต่อวันตามลำดับ

     ทองแดงสามารถทำอะไรได้บ้าง

    • เป็นแหล่งผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง
    • ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต
    • ดูดซึมธาตุเหล็ก
    • ป้องกันการอักเสบของต่อมลูกหมาก
    • เสริมสร้างและบำรุงรักษากระดูก เนื้อเยื่อ และอวัยวะต่างๆ เช่น สมองและหัวใจกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

    แร่ธาตุทองแดง ประโยชน์ต่อร่างกาย

    • สุขภาพหัวใจและหลอดเลือด การมีระดับทองแดงในร่างกายต่ำ ส่งผลให้ร่างกายมีคอเลสเตอรอลและความดันโลหิตสูง นักวิจัยกลุ่มหนึ่งพบว่า การเพิ่มระดับทองแดงในร่างกายทำให้อาการของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวบางรายดีขึ้น
    • การส่งสัญญาณของเซลล์ประสาท จากงานวิจัยของศาสตราจารย์ Chris Chang ในปี 2016 ที่สามารถดูการเคลื่อนไหวเข้าออกเซลล์ประสาทของทองแดงได้โดยผ่านการใช้สารเรืองแสง พบว่าหากปริมาณทองแดงในเซลล์มากจะช่วยลดการส่งสัญญาณของเซลล์ประสาท หากระดับทองแดงในเซลล์ลดลง การส่งสัญญาณก็จะดำเนินต่อไป
    • การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน การมีระดับทองแดงในร่างกายต่ำอาจทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (Neutropenia) ซึ่งเม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่ในการป้องกันการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา พิษจากสารต่าง ๆ การมีระดับเม็ดเลือดขาวต่ำจะมีแนวโน้มในการเป็นโรคที่ติดเชื้อได้ง่าย
    • โรคกระดูกพรุน การขาดทองแดงอย่างรุนแรงเกี่ยวข้องกับความหนาแน่นของกระดูก แร่ธาตุในกระดูกที่ต่ำลงและมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุน ดังนั้นการขาดทองแดงอาจจะส่งผลต่อกระดูก จึงจำเป็นที่จะต้องมีการวิจัยใน่ส่วนของสุขภาพของกระดูกอย่างไร และการเสริมทองแดงอาจช่วยป้องกันและจัดการโรคกระดูกพรุนได้
    • การผลิตคอลลาเจน ทองแดงมีบทบาทสำคัญในการรักษาคอลลาเจนและอีลาสตินซึ่งเป็นองค์ประกอบ โครงสร้างที่สำคัญของร่างกาย นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งสมมติฐานว่าทองแดงอาจมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและร่วมกับสารต้านอนุมูลอิสระอื่นๆ การบริโภคที่ดีต่อสุขภาพอาจช่วยป้องกันริ้วรอยบนผิวหนัง หากไม่มีทองแดงเพียงพอร่างกายจะไม่สามารถแทนที่เนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เสียหายหรือคอลลาเจนซึ่งเป็นส่วนประกอบของกระดูก สิ่งนี้สามารถนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ รวมถึงข้อผิดพลาดของข้อต่อเนื่องจากเนื้อเยื่อของร่างกายเริ่มพังทลาย

    อาหารที่ให้แร่ธาตุทองแดงสูง

    • ตับ เป็นเครื่องในที่มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างมาก ตับให้สารอาหารที่ดีมากมาย เช่น วิตามินบี 12 วิตามินเอ ไรโบฟลาวิน (B2) โฟเลต (B9) เหล็กและโคลีน (2) ที่สำคัญตับยังเป็นแหล่งแร่ธาตุทองแดงที่ดีเยี่ยม ในตับลูกวัวหนึ่งชิ้น 67 กรัมให้ทองแดง 10.3 มิลลิกรัม อย่างไรก็ตามวิตามินเอในตับมีปริมาณสูง อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ ดังนั้นสตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีวิตามินเอสูงมาก หรือบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ
    • หอยนางรม หอยนางรมเป็นหอยชนิดหนึ่งที่สามารถกินได้ทั้งแบบปรุงสุกและดิบขึ้นอยู่กับความต้องการ หอยนางรมเป็นอาหารทะเลนี้มีแคลอรี่ต่ำและมีสารอาหารที่จำเป็นมากมาย เช่น สังกะสี ซีลีเนียมและวิตามินบี 12 นอกจากนี้หอยนางรมยังเป็นแหล่งทองแดงที่ดีโดยให้ 7.6 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม แต่การกินหอยนางรมและหอยอื่น ๆ อาจให้ปริมาณคอเลสเตอรอลที่สูง
    • สาหร่ายเกลียวทอง สาหร่ายเกลียวทองเป็นอาหารเสริมที่ทำจากผงไซยาโนแบคทีเรีย หรือสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ถือเป็นอาหารเพื่อสุขภาพหลังจาก NASA ประสบความสำเร็จในการใช้มันเป็นอาหารเสริมสำหรับนักบินอวกาศในภารกิจอวกาศ คุณค่าทางโภชนาการของสาหร่ายเกลียวทองมีมากมายเพียง 1 ช้อนโต๊ะ ให้พลังงานเพียง 20 แคลอรี่ แต่บรรจุโปรตีน 4 กรัมในปริมาณเดียวกันสำหรับทองแดงให้ 44% ของสารอาหารที่ควรบริโภคต่อวัน
    • เห็ดหอม เห็ดหอมอบแห้ง 4 ชิ้น (15 กรัม) ให้พลังงาน 44 แคลอรี่ ใยอาหาร 2 กรัมและสารอาหารมากมายรวมทั้งซีลีเนียม แมงกานีส สังกะสี โฟเลตและวิตามินบี 1 บี 5 บี 6 ดี และทองแดง
    • ถั่วและเมล็ดพืช เป็นแหล่งพลังงานขนาดเล็กด้านโภชนาการ พวกมันมีเส้นใย โปรตีนและไขมันที่ดีต่อร่างกายรวมถึงสารอาหารอื่น มากมาย แม้ว่าถั่วและเมล็ดพืชที่แตกต่างกันจะมีสารอาหารที่แตกต่างกัน แต่ก็มีปริมาณทองแดงอยู่มากมาย เช่น ในถั่วอัลมอนด์หรือเม็ดมะม่วงหิมพานต์ 28 กรัม มีปริมาณทองแดง 33% และ 67% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวันตามลำดับ
    • กุ้งมังกรหรือกุ้งล็อบสเตอร์ เป็นหอยขนาดใหญ่ในทะเล เนื้อกุ้งมังกรมีไขมันต่ำ โปรตีนสูงและอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุทั้งซีลีเนียมและวิตามินบี 12 นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งทองแดงที่ยอดเยี่ยม แม้ล็อบสเตอร์จะมีไขมันต่ำ แต่ก็มีคอเลสเตอรอลสูงเช่นกัน ดังนั้นปริมาณการบริโภคที่ไม่มาก และรับประทานอย่างพอเหมาะก็จะเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
    • ผักใบเขียว อย่างผักโขม คะน้า มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก เช่น ใยอาหาร วิตามินเค แคลเซียม แมกนีเซียม และโฟเลตในปริมาณแคลอรี่น้อยที่สุด และในผักใบเขียว มีทองแดงจำนวนมาก
    • ดาร์กช็อกโกแลต มีปริมาณโกโก้ที่สูง และมีปริมาณนมและน้ำตาลน้อยกว่าช็อคโกแลตทั่วไป นอกจากนี้ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ใยอาหารและสารอาหารหลายชนิด และเต็มไปด้วยแร่ธาตุทองแดงจำนวนมากด้วย ยิ่งไปกว่านั้นการบริโภคดาร์กช็อกโกแลตยังเป็นส่วนหนึ่งในการปรับปรุงปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ จึงควรบริโภคอย่างระมัดระวัง เพราะเป็นอาหารที่แคลอรี่สูงและเต็มไปด้วยไขมันและน้ำตาล

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 16/07/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา