backup og meta

น้ำแครอท เครื่องดื่มสมุนไพร ที่ช่วยเสริมสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 04/06/2020

    น้ำแครอท เครื่องดื่มสมุนไพร ที่ช่วยเสริมสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น

    แครอท เป็นผักที่มีลักษณะเรียวยาว มีสีส้มสดใส แถมมีรสชาติที่หวานกรอบ และมักอยู่ควบคู่แทบจะทุกเมนูในอาหาร ไม่ว่าจะเป็น ต้มจืด ข้าวผัด สลัด เป็นต้น สามารถรับประทานแบบสด ๆ ได้ พร้อมทั้งยังมีหลากหลายสายพันธุ์ให้เลือกสรรตามความชอบ บางคนก็นิยมนำมาสกัดเป็นเครื่องดื่มที่ทำให้สะดวกต่อการรับประทานมากขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ จึงได้นำสูตรการทำ น้ำแครอท แสนง่ายด้วยตัวคุณเอง รวมถึงคุณประโยชน์มากมายจากแครอท มาฝากทุกคนกัน

    ประโยชน์ที่ได้รับจากการดื่ม น้ำแครอท

    การดื่มน้ำผัก หรือน้ำผลไม้สด มักให้พลังงาน และสารอาหารแก่ร่างกายเราเสมอ หากดื่มในระดับที่พอดี และเพียงพอต่อวัน โดยการทานน้ำแครอทก็เช่นกันนอกจากความอร่อยแล้วยังสามารถเพิ่มคุณประโยชน์ให้สุขภาพของเราให้ดีขึ้นได้อีก ดังนี้

    • เพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน

    เมื่อร่างกายคุณเริ่มอ่อนแอ หรือมีอาการเจ็บป่วยอยู่บ่อยครั้ง นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกคุณได้ว่าภูมิคุ้มกันของคุณไม่เพียงพอต่อต้านกับเชื้อโรค หรือไวรัสที่เล็ดลอดเข้ามาภายในร่างกายได้ ดังนั้นการดื่มน้ำแครอทอาจเป็นตัวช่วยที่ดีในเรื่องของการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และฟื้นฟูเซลล์ที่ถูกทำลายจากสิ่งแปลกปลอมให้กลับเข้าสู่ภาวะคงเดิมได้

    • ลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง

    ในการศึกษาสารสกัดที่อยู่ภายในน้ำแครอทพบว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งในเม็ดเลือดขาวที่ได้การรับประทานเครื่องดื่มผักสดชนิดนี้ ทำให้เซลล์เนื้องอกของมะเร็งถูกยับยั้ง และชะลอการเจริญเติบโต ทั้งนี้แครอทยังมีสารเบต้าแคโรทีน (beta-carotene) ช่วยปกป้องให้คุณห่างไกลจากมะเร็งต่อมลูกหมากได้อีกด้วย

    • เสริมสมรรถภาพการทำงานของสมอง

    การดื่มน้ำแครอทที่มีสารอาหารของเบต้าแคโรทีน เป็นหลักนี้ อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยความจำ และลดความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมที่เกิดจากความเครียด หรือปฏิกิริยาของออกซิเดชั่น ต้นเหตุของการสร้างความเสียหายให้แก่เซลล์ในสมอง และเซลล์ประสาท เพราะฉะนั้นถ้าหากคุณไม่ชอบการทานอาหารเสริมบำรุงสมองชนิดเม็ดแล้วละก็ การดื่มน้ำแครอทอาจเป็นตัวช่วยที่ดีอีกทางหนึ่งสำหรับคุณก็เป็นได้

    นอกจากวิตามินซี เบต้าแคโรทีนแล้ว แครอทยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ ที่มีส่วนช่วยปรับปรุงในเรื่องของการมองเห็นได้ดีโดยเฉพาะกับผู้ที่มีปัญหาทางด้านสายตา หรือการใช้งานด้านการมองเห็นมาอย่างหนัก เช่น ผู้ที่นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน หรือพนักงานออฟฟิศ เป็นต้น และยังป้องกันการเสื่อมสภาพของจอประสาทตาได้ในอนาคต ซึ่งถ้าหากจอประสาทตาของคุณเสื่อมคุณภาพลงไม่ได้รับการดูแลด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อาจทำให้คุณนั้นถึงขั้นตาบอด หรือสูญเสียการมองเห็นไปเลยทีเดียว

    สูตรการทำน้ำแครอท แสนอร่อยพร้อมดื่ม

    สูตรการทำน้ำแครอทไม่มีขั้นตอน หรือส่วนประกอบที่ตายตัว เพราะขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคล บางครัวเรือนก็อาจนำผลไม้ หรือผักชนิดอื่นมาปั่นรวมกันเพื่อเพิ่มอรรถรส และเพิ่มกลิ่นให้มีความหอมยิ่งขึ้น

    สิ่งที่ต้องเตรียม

    • แครอทขนาดกลางที่ล้างด้วยน้ำสะอาด ประมาณ 6 ผล
    • มะนาว 1 ลูก
    • ขิง 1/2 นิ้ว

    วิธีทำน้ำแครอท

    1. ปลอกเปลือกรอบนอกของแครอท และขิงออก
    2. หั่นแครอท และขิงออกเป็นชิ้น ๆ ให้ง่ายต่อการนำมาปั่น
    3. ใส่แครอท ขิงที่ถูกหั่นลงในเครื่องปั่น พร้อมกับเติมน้ำดื่มสะอาดลงไปตามปริมาณที่พอเหมาะ
    4. เทใส่แก้ว และปรุงรสด้วยน้ำมะนาวเล็กน้อยเพิ่มรสชาติ

    แต่ถ้าคุณอยากทานน้ำแครอทแบบสดชื่น คุณสามารถนำไปแช่ตู้เย็นโดยใส่ในภาชนะที่มีฝาปิดสนิท เป็นเวลา 1-3 ชั่วโมงก่อนนำออกมารับประทานได้เช่นกัน

    ข้อควรระวังก่อนรับประทาน น้ำแครอท

    ก่อนที่คุณจะนำมาประกอบอาหาร หรือนำมาคั้นเป็นเครื่องดื่ม คุณควรรักษาความสะอาดด้วยการล้างน้ำให้สะอาด หรืออาจแช่ในน้ำยาสำหรับล้างผัก จากนั้นค่อยนำมาล้างด้วยน้ำสะอาดอีกรอบเพื่อลดสารเคมีตกค้างในร่างกายเมื่อเรารับประทาน

    สำหรับสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ ควรเลือกน้ำผลไม้พาสเจอร์ไรส์ ที่ผ่านกระบวนกระผลิต หรือมีเครื่องหมายรับรองความปลอดภัยบนฉลากผลิตภัณฑ์เท่านั้น มิควรดื่มผลไม้คั้นสดมากท่าไหร่นัก ถึงแม้อาจจะได้วิตามินที่เยอะกว่า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะปลอดภัยต่อทารกในครรภ์เสมอไป  และสำหรับบุคคลทั่วไปที่รับประทานในปริมาณมากเกินควรอาจส่งผลให้สีผิวคุณเปลี่ยนแปลง มีความอมเหลือง อมส้มตามสีของแครอทได้

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 04/06/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา