backup og meta

อาหารแปรรูป กับ ความเสี่ยงสุขภาพ ที่อาจตามมา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 09/07/2020

    อาหารแปรรูป กับ ความเสี่ยงสุขภาพ ที่อาจตามมา

    กล่าวได้ว่า อาหารแปรรูป ที่เรามักชอบรับประทานกัน ไม่ว่าจะเป็น ไส้กรอก แฮม ลูกชิ้น หรืออาหารแช่แข็งต่าง ๆ นั้นไม่ดีต่อสุขภาพ เพราะนอกจากปริมาณโซเดียมที่สูงแล้ว ยังมีส่วนผสมของสารปรุงแต่งต่างๆ ที่จะส่งผลต่อสุขภาพในแง่อื่น ๆ อีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่ได้รับการรับรองเกี่ยวกับอาการแปรรูป กับความเสี่ยงสุขภาพ มาฝากกันค่ะ

    อาหารแปรรูป คืออะไร

    อาหารแปรรูปเป็นอาหารที่ถูกผ่านกระบวนการยืดอายุ หรือเรียกง่ายๆ ว่า เป็นการถนอมอาหารโดยวิธีการต่าง ๆ เหล่านี้ เช่น การบ่ม การรมควัน การอบแห้ง และการอัดกระป๋อง ผลิตภัณฑ์ของอาหารแปรรูปนั้นมีหลากหลายชนิด เช่น

  • ไส้กรอก ฮอตด็อก ซาลามี่
  • แฮม เบคอน
  • เนื้อรมควัน
  • เนื้อแห้ง เนื้อแดดเดียว
  • เนื้อกระป๋อง
  • คุกกี้
  • น้ำอัดลม
  • ลูกอม
  • ชีสแผ่น
  • ในขณะเดียวกันเนื้อสัตว์แช่งแข็ง หรือเนื้อสัตว์ที่ไม่ผ่านกระบวนการทางเคมี เช่น เนื้อสไลด์ เนื้อชิ้นแช่แข็ง จะไม่ถือว่าเป็น เนื้อแปรรูป

    อาหารแปรรูป ส่งผลต่อสุขภาพ อย่างไรบ้าง

    การรับประทานอาหารแปรรูปทำให้เพิ่มอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จากงานวิจัยพบว่า ผู้ที่บริโภคอาหารแปรรูปบ่อยๆ มักมีเป็นโรคต่างๆ เหล่านี้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าอาหารแปรรูป เป็นต้นเหตุของการเกิดโรคเหล่านี้ แต่บางงานวิจัยชี้ว่าอาหารแปรรูป มีสารประกอบทางเคมีที่เป็นอันตรายและก่อให้เกิดโรคเรื้อรังได้

    โรคอ้วน

    น้ำตาลถือเป็นปัจจัยสำคัญในการก่อให้เกิด โรคอ้วน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วอาหารแปรรูป มักจะมีน้ำตาลเป็นส่วนผสมเป็นจำนวนมาก แม้ฉลากผลิตภัณฑ์ข้างกล่องอาหารอาจไม่มีคำว่าน้ำตาลอยู่ในส่วนผสม แต่ก็ควรดูส่วนผสมเหล่านี้ด้วยเช่น ฟรุกโตส กลูโคส น้ำเชื่อมข้าวโพด ซูโคส น้ำตาลมอลโทส น้ำผึ้ง กากน้ำตาล หรือน้ำหวานกากเกสรดอกไม้ เพราะสารเหล่านี้ถือเป็นน้ำตาลเช่นกัน การบริโภคน้ำตาล ทำให้ร่างกายหลั่งสารโดพามีน ซึ่งทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื้น เมื่อร่างกายได้รับน้ำตาลเป็นประจำแล้วมีความสุข สดชื้น ก็จะยิ่งทำให้ร่างกายต้องการน้ำตาลอยู่เสมอ เปรียบเสมือนการเสพสารเสพติดชนิดหนึ่ง เมื่อเรามีการรับประทานอาหารแปรรูปอยู่เป็นประจำ ก็จะทำให้ร่างกายชินกับการได้รับน้ำตาล ทำให้ต้องการรับประทานอาหารแปรรูปบ่อย ๆ จนส่งผลทำให้เกิด โรคอ้วน

    โรคมะเร็ง

    อาหารแปรรูปเป็นอาหารที่ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในอาหารแปรรูปส่วนใหญ่แล้วมักจะมีสาร ไนไทรต์ (Nitrite) สารเอ็นไนโตรโซ (Nnitroso compounds) ไนโตรซามีน (Nitrosamines) โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic Aromatic Hydrocarbons, PAHs) และ สารเฮเทอโรไซคลิกแอโรแมติกเอมีน (Heterocyclic Amines, HCAs) ซึ่งสารต่างๆ เหล่านี้ ที่อยู่ในอาหารแปรรูปนั้น ล้วนเป็นสารก่อมะเร็ง สามารถทำให้เกิดมะเร็งบางชนิดได้ เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก อาหารแปรรูป เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ จากการศึกษาพบว่าการรับประทานอาหารแปรรูป 50 กรัมต่อวัน ทำให้มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ถึงร้อยละ 18

    โรควิตกกังวลและอาการซึมเศร้า

    การรับประทานอาหารแปรรูปนั้น เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรควิตกกังวลและอาการซึมเศร้า เพราะน้ำตาลปริมาณมากในอาหารแปรรูป จะเข้าไปทำลายสารเซโรโทนินในลำไส้ ซึ่งสารเซโรโทนิน เป็นสารที่มีส่วนช่วยในการควบคุมอารมณ์แต่ร้อยละ 90 ของเซโรโทนินนั้น จะพบในระบบทางเดินอาหารและเกล็ดเลือด เซโรโทนินช่วยทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย มีความสดชื่น กระปรี้กระเปร่า หากสารเซโรโทนินในร่างกายต่ำลง ก็จะมีส่วนส่งผลให้เรารู้สึกวิตกกังวลและซึมเศร้าได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 09/07/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา