backup og meta

เครื่องดื่มรสหวาน ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 31/12/2022

    เครื่องดื่มรสหวาน ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

    หากรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลมากเกินไปย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพ รวมถึง เครื่องดื่มรสหวาน ต่าง ๆ ที่มีน้ำตาลสูงด้วย เช่น น้ำอัดลม น้ำหวาน เครื่องดื่มชูกำลัง หรือชาเย็น กาแฟเย็นใส่นมข้นและน้ำตาลปริมาณมาก เครื่องดื่มรสหวานอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงโรคมะเร็งบางชนิดด้วย

    เครื่องดื่มรสหวาน ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

    ดื่มเครื่องดื่มรสหวานเป็นประจำ อาจส่งผลต่อสุขภาพ ดังต่อไปนี้

    เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

    งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการ Journal of the Endocrine Society ให้ข้อมูลว่า การดื่มเครื่องดื่มรสหวานเป็นประจำ ไม่เพียงแค่เพิ่มความเสี่ยงในการมีน้ำหนักตัวเพิ่ม แต่ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีบางงานวิจัยที่พบว่า การบริโภคเครื่องดื่มรสหวานเพียงประมาณ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เชื่อมโยงกับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ ได้แก่ กลุ่มอาการอ้วนลงพุง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง

    เพิ่มความเสี่ยงกลุ่มอาการอ้วนลงพุง

    มีงานวิจัยที่ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่ดื่มเครื่องดื่มรสหวานมากกว่า 5 ครั้งต่อสัปดาห์ งานวิจัยพบว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มอาการอ้วนลงพุง กับการดื่มเครื่องดื่มรสหวานที่มีน้ำตาลสูง

    โดยกลุ่มอาการอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome) จะเกิดขึ้นเมื่อมีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ ได้แก่

  • ระดับไตรกลีเซอไรด์สูง
  • ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
  • ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ไม่สูงจนถึงขั้นเป็นโรคเบาหวาน
  • อ้วนลงพุง
  • สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ก็อาจส่งผลเช่นเดียวกัน

    งานวิจัยแนะนำว่า คนที่กินน้ำอัดลม 0 แคลอรี่ หรือน้ำอัดลมที่ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล แทนการเติมน้ำตาล กลุ่มคนเหล่านี้มีแนวโน้มว่า ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตลดลง แต่อย่างไรก็ตาม หากผู้หญิงดื่มเครื่องดื่มที่มีสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ในปริมาณ 4 แก้วต่อวันหรือมากกว่า อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

    ถ้าต้องการดื่มเครื่องดื่มรสหวาน ควรทำอย่างไรดี

    เครื่องดื่มรสหวาน มักจะมีน้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลมปริมาณ 12 ออนซ์อาจมีน้ำตาลถึง 39 กรัม  นอกจากนี้ถึงแม้ว่าจะดื่มน้ำผลไม้ ก็สามารถส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดและระดับอินซูลินได้เช่นกัน เพราะน้ำผลไม้มีน้ำตาลจากธรรมชาติ ดังนั้นหากคุณต้องการดื่มน้ำหวาน ควรระวังปริมาณน้ำตาล

    โดยสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (American Heart Association) แนะนำว่า ผู้ชายควรบริโภคน้ำตาล 38 กรัม หรือประมาณ 9 ช้อนชาต่อวัน ส่วนผู้หญิงควรบริโภคน้ำตาล 25 กรัม หรือประมาณ 6 ช้อนชาต่อวัน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 31/12/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา