backup og meta

ไขมันสะสม ส่งผลให้โรคเรื้อรังอะไรบ้าง ที่ทำลายสุขภาพ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 15/06/2021

    ไขมันสะสม ส่งผลให้โรคเรื้อรังอะไรบ้าง ที่ทำลายสุขภาพ

    สุขภาพเป็นเรื่องสำคัญที่เราไม่ควรละเลย โดยเฉพาะการปล่อยให้มี ไขมันสะสม จำนวนมากอยู่ตามจุดต่าง ๆ ภายใต้ผิวหนังของร่างกาย เนื่องจาก ดูผิวเผินร่างกายของคุณอาจไม่แสดงอาการใด ๆ แต่หากเวลาผ่านไป ไขมันสะสมนี้อาจแปรเปลี่ยน หรือนำพาโรคเรื้อรังต่าง ๆ มาสู่ร่างกายของคุณได้ แต่ไขมันสะสมนั้นจะส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังอะไรได้บ้าง แล้วมันทำลายสุขภาพอย่างไร ติดตามได้ในบทความนี้ของ Hello คุณหมอ

    ไขมันสะสม คืออะไร

    ไขมันสะสม (Subcutaneous Fat) มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ไขมันใต้ผิวหนัง’ โดยเป็นไขมันที่เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่ในปริมาณมาก และไม่ได้รับการเผาผลาญด้วยการออกกำลังกายเสียส่วนใหญ่ นอกจากนั้นผู้ที่มีภาวะดื้ออินซูลิน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ก็สามารถเกิดภาวะ ไขมันใต้ผิวหนัง ได้เช่นกัน เรื่องจากผู้ป่วยโรคนี่ร่างกายอาจทำหน้าที่สลายไขมันได้ยาก จนทำให้เกิดไขมันสะสมภายในช่องท้อง และนำไปสู่การเกิดโรคต่าง ๆ ตามมา

    ความเสี่ยงก่อให้เกิดโรคจากไขมันสะสม

    หากร่างกายมี ไขมันใต้ผิวหนัง เป็นเวลานาน โดยไม่ได้รับการเผาผลาญและเปลี่ยนเป็นพลังงานเพื่อนำมาใช้ในแต่ละวัน เมื่อคุณอายุมากขึ้น หรือมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ก็สามารถส่งทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เหล่านี้ได้

    บางกรณี อาจทำให้ร่างกายคุณได้รับโรคดังกล่าวโรคใดโรคหนึ่ง หรือสามารถเป็นพร้อมกันหลาย ๆ โรคได้ ดังนั้น หากคุณยังรักสุขภาพตนเอง และอยากเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง โปรดขอคำปรึกษาจากแพทย์ พร้อมตรวจร่างกายเพิ่มเติมเพื่อรับวิธีการดูแลอย่างถูกต้อง ก่อนเกิด ไขมันใต้ผิวหนัง จำนวนมาก

    วิธีกำจัด ไขมันใต้ผิวหนัง ง่าย ๆ ที่คุณควรลอง

    สำหรับวิธีการลดไขมันสะสม ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันบางอย่างให้มีระเบียบวินัยมากขึ้น เป็นวิธีที่คุณสามารถทำเองได้ง่าย ๆ ที่บ้าน โดยวิธีการกำจัดไขมันใต้ผิวหนัง สามารถทำได้ดังนี้

    • เลือกรับประทานอาหารที่ประกอบด้วยโปรตีน ผัก ผลไม้ และหลีกเลี่ยงอาหารที่ให้น้ำตาลสูง หากคุณต้องการสารให้ความหวาน ควรเลือกจากส่วนประกอบที่สกัดจากธรรมชาติแคลอรี่ต่ำ เช่น น้ำเชื่อมหญ้าหวาน เป็นต้น
    • การออกกำลังกายในรูปแบบแอโรบิค คาร์ดิโอ พร้อมกับฝึกฝนความแข็งแรงของมวลกล้ามเนื้อร่วม
    • ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ลดระดับความเครียดลง เพราะความเครียดและความวิตกกังวล จะส่งผลให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ออกมา

    สำหรับบางคนที่ต้องการปรับเปลี่ยนวิธีการรับประทานอาหาร และออกกำลังกาย อาจจำเป็นต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ นักโภชนาการ หรือเทรนเนอร์เสียก่อน นอกจากนั้น อาจจะต้องมีการตรวจวินิจฉัยอาการที่คุณเป็นอยู่ร่วมด้วย เพื่อจะได้วางแผนการปรับรูปแบบวิธีการรับประทานอาหาร และออกกำลังกายให้เหมาะสมกับคุณ ไปพร้อม ๆ กับการมีสุขภาพที่แข็งแรง

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 15/06/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา