backup og meta

แผลติดเชื้อ (wound infection)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 15/07/2020

    แผลติดเชื้อ (wound infection)

    แผลติดเชื้อ (wound infection) เกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียเข้าไปในรอยแผลที่ผิวหนัง อาจเกิดขึ้นที่ผิวหนังเท่านั้น หรือส่งผลต่อเนื้อเยื่อที่อยู่ลึกลงไปหรืออวัยวะที่อยู่ใกล้แผล

    คำจำกัดความ

    แผลติดเชื้อคืออะไร

    แผลติดเชื้อ (wound infection) เกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียเข้าไปในรอยแผลที่ผิวหนัง การติดเชื้ออาจเกิดขึ้นที่ผิวหนังเท่านั้น หรือส่งผลต่อเนื้อเยื่อที่อยู่ลึกลงไปหรืออวัยวะที่อยู่ใกล้แผล การติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดบาดทะยัก (tetanus) อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

    อาการแทรกซ้อนของแผลติดเชื้อ มีความหลากหลายตั้งแต่การติดเชื้อเฉพาะที่ ไปจนถึงทั่วร่างกาย อาการแทรกซ้อนเฉพาะบริเวณของแผลติดเชื้อที่รุนแรงที่สุดก็คือแผลหายช้า ทำให้แผลไม่หายง่ายๆ มักทำให้เกิดอาการเจ็บปวด อาการไม่สบาย และอาการไม่สบายทางจิตใจเป็นอย่างมาก อาการแทรกซ้อนทั่วร่างกาย ได้แก่ เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (cellulitis) หรือการติดเชื้อแบคทีเรียของผิวหนังชั้นหนังแท้หรือใต้ผิวหนัง กระดูกอักเสบ (osteomyelitis) หรือการติดเชื้อแบคทีเรียของกระดูกและไขกระดูก หรือติดเชื้อในกระแสเลือด (septicemia) หรือการมีแบคทีเรียในเลือดที่สามารถทำให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย

    พบได้บ่อยเพียงใด

    แผลติดเชื้อค่อนข้างพบได้ทั่วไป โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

    อาการ

    อาการของแผลติดเชื้อ

    อาการทั่วไปของแผลติดเชื้อ ได้แก่

    • มีของเหลวสีเหลือง สีเหลืองปนเขียว หรือมีกลิ่นเหม็นออกจากแผล
    • มีอาการปวด บวม หรือรอยแดงมากขึ้นในบริเวณหรือใกล้แผล
    • มีการเปลี่ยนสีหรือขนาดของแผล
    • มีรอยแดงที่ผิวหนังโดยรอบแผล
    • มีไข้

    อาจมีบางอาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่างๆ โปรดปรึกษาแพทย์

    ควรไปพบหมอเมื่อใด

    หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้นหรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

    สาเหตุ

    สาเหตุของแผลติดเชื้อ

    แผลติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรีย ซึ่งเกิดทั้งจากเชื้อที่อยู่ที่ผิวหนังตามปกติ หรือแบคทีเรียจากส่วนอื่นๆ ของร่างกาย หรือสิ่งแวดล้อมภายนอก แบคทีเรียที่ทำให้เกิดแผลติดเชื้อที่พบได้มากที่สุด คือ สแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) และสแตฟิโลค็อกคัสประเภทอื่นๆ

    ปัจจัยเสี่ยง

    ความเสี่ยง

    มีความเสี่ยงสำหรับแผลติดเชื้อหลายประการ เช่น

    • การไหลเวียนโลหิตที่ไม่ดี
    • เบาหวาน
    • โรคอ้วน
    • ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือภูมิคุ้มกันถูกขัดขวาง
    • การเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวที่ลดลง
    • ภาวะขาดสารอาหาร
    • สุขอนามัยที่ไม่ดี

    การวินิจฉัยและการรักษาโรค

    ข้อมูลที่นำเสนอมิได้ใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยแผลติดเชื้อ

    ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพจะสอบถามเกี่ยวกับประวัติสุขภาพและตรวจร่างกายของคุณ โดยจะถามสาเหตุและเวลาที่เกิดแผล คุณอาจได้รับการตรวจดังต่อไปนี้

    • การตรวจเลือด เพื่อตรวจหาการติดเชื้อ
    • เอกซเรย์หรือการตรวจโรคด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจหาการติดเชื้อในเนื้อเยื่อที่อยู่ลึกลงไป หรือตรวจหาสิ่งแปลกปลอมที่แผล คุณอาจต้องใช้สารทึบรังสีเพื่อช่วยให้แสดงภาพได้ดีขึ้น ให้แจ้งผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ หากคุณเคยมีอาการแพ้สารทึบรังสี
    • การเพาะเชื้อของตัวอย่างเนื้อเยื่อแผลหรือของเหลว ซึ่งจะถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการ และตรวจสอบหาเชื้อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ

    การรักษาแผลติดเชื้อ

    การรักษาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแผล บริเวณที่เป็นแผล และมีบริเวณอื่นๆ ที่เป็นแผลหรือไม่ นอกจากนี้ยังอาจขึ้นอยู่กับสุขภาพและระยะเวลาที่เป็นแผลอีกด้วย ให้สอบถามผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้และการรักษาอื่นๆ ที่จำเป็น

    • อาจมีการให้ยาเพื่อรักษาอาการติดเชื้อ และลดอาการปวดและอาการบวม
    • อาจต้องมีการดูแลแผลเพื่อทำความสะอาดแผล และช่วยให้แผลหาย อาจต้องมีการทำแผลแบบสูญญากาศเพื่อช่วยให้แผลหาย
    • อาจใช้การบำบัดด้วยออกซิเจนความดันบรรยากาศสูง (Hyperbaric oxygen therapy: HBO) เพื่อให้เนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนมากขึ้นเพื่อช่วยให้แผลหาย คุณจะได้รับออกซิเจนความดันบรรยากาศสูง ขณะที่นั่งอยู่ในอุโมงค์ออกซิเจน
    • อาจจำเป็นต้องมีการผ่าตัด เพื่อทำความสะอาดแผล หรือกำจัดเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อหรือตายออกไป อาจจำเป็นต้องมีการผ่าตัดเพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอม

     การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และเยียวยาตนเองเพื่อรับมือกับแผลติดเชื้อ

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองดังต่อไปนี้จะช่วยให้คุณรับมือกับแผลติดเชื้อได้

    • ดูแลแผลตามที่แพทย์แนะนำ ให้ทำให้แผลสะอาดและแห้ง คุณอาจจำเป็นต้องปิดแผลเวลาอาบน้ำ เพื่อไม่ให้แผลเปียก ให้ทำความสะอาดแผลตามที่แพทย์แนะนำ โดยใช้สบู่และน้ำ หรือน้ำยาทำความสะอาดแผล ให้ใช้ผ้าพันแผลที่ใหม่และสะอาดตามที่แพทย์สั่ง ให้เปลี่ยนผ้าพันแผลเมื่อเปียกหรือสกปรก
    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างหลากหลาย ตัวอย่าง ได้แก่ ผลไม้ ผัก ขนมปังธัญพืชเต็มเมล็ด ผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ ถั่ว เนื้อสัตว์ไร้ไขมัน และปลา อาหารที่มีประโยชน์อาจช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น นอกจากนี้คุณยังอาจจำเป็นต้องรับประทานอาหารเสริมวิตามินและแร่ธาตุอีกด้วย ให้สอบถามหากคุณจำเป็นต้องรับประทานอาหารชนิดพิเศษ
    • รักษาโรคประจำตัว หากคุณเป็นโรคต่างๆ ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ เพื่อรักษาโรคที่อาจทำให้แผลหายช้า ตัวอย่างเช่น ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน
    • ห้ามสูบบุหรี่ นิโคตินและสารอื่นๆ ในยาสูบและบุหรี่ อาจทำให้แผลหายช้า ให้ขอข้อมูลจากผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพหากคุณกำลังสูบบุหรี่ และต้องการความช่วยเหลือในการเลิกบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้าหรือยาสูบไร้ควันยังคงมีนิโคติน ให้ปรึกษาผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้

    หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

    Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 15/07/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา