backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ไข้ไทฟอยด์ อาการ สาเหตุ และการรักษา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 12/01/2022

ไข้ไทฟอยด์ อาการ สาเหตุ และการรักษา

ไข้ไทฟอยด์ (Typhoid) เป็นโรคที่พบได้ยาก เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า ซัลโมเนลลา ไทฟิ (Salmonella Typhi) โดยแบคทีเรียชนิดนี้สามารถแพร่กระจายไปยังทุกส่วนของร่างกาย จนอาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่าง ๆ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ทั้งยังอาจก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ แบคทีเรียที่ก่อให้เกิดไข้ไทฟอบด์อาจพบได้ในน้ำและอาหาร หรืออาจเกิดจากการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ มีไข้สูง ท้องผูก และท้องเสีย  

คำจำกัดความ

ไข้ไทฟอยด์ คืออะไร

ไข้ไทฟอยด์ (Typhoid) เป็นโรคที่พบได้ยาก เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า ซัลโมเนลลา ไทฟิ (Salmonella Typhi) โดยแบคทีเรียชนิดนี้สามารถแพร่กระจายไปยังทุกส่วนของร่างกาย จนอาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่าง ๆ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ทั้งยังอาจก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ แบคทีเรียที่ก่อให้เกิดไข้ไทฟอบด์อาจพบได้ในน้ำและอาหาร หรืออาจเกิดจากการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ มีไข้สูง ท้องผูก และท้องเสีย  

ไข้ไทฟอยด์พบได้บ่อยเพียงใด

ไข้ไทฟอยด์อาจเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในวัยเด็กอาจมีความเสี่ยงในการเป็นไข้ไทฟอยด์มากที่สุด แต่อาการในเด็กนั้นอาจจะมีความรุนแรงน้อยกว่าในผู้ใหญ่

อาการ

อาการของไข้ไทฟอยด์ 

โดยปกติอาการของไข้ไทฟอยด์อาจมีระยะฟักตัวประมาณ 1-2 สัปดาห์ และจะแสดงอาการเจ็บป่วยในช่วง 3-4 สัปดาห์ โดยอาจลักษณะอาการที่แตกต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้ 

  • ปวดศีรษะ
  • อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • มีไข้สูงถึง 40.5 องศาเซลเซียส
  • เหงื่อออก 
  • ไอแห้ง
  • เบื่ออาหาร
  • อาการท้องผูก
  • ผื่น
  • ท้องบวมมาก 
  • ควรไปพบหมอเมื่อใด

    ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์และระดับความรุนแรงของคุณ

    สาเหตุ

    สาเหตุไข้ไทฟอยด์

    ไข้ไทฟอยด์มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า ซัลโมเนลลา ไทฟิ (Salmonella Typhi) และอาจเกิดจาจกสาเหตุอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ 

    • การติดเชื้อทางปาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจได้รับเชื้อไทฟอยด์ขณะเดินทางไปยังประเทศที่ยังด้อยพัฒนา เนื่องจากสาธารณูปโภคที่ไม่ดี การรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด เป็นต้น 
    • พาหะอุจจาระ ถึงแม้ว่าผู้ป่วยไข้ไทฟอยด์จะได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะแล้วก็ตาม แต่ก็อาจยังมีเชื้อที่เป็นพาหะของโรคอยู่ ซึ่งอาจแพร่กระจายเชื้อโรคสู้ผู้อื่นได้ 

    ปัจจัยเสี่ยง

    ปัจจัยเสี่ยงของไข้ไทฟอยด์ 

    • ทำงานหรือเดินทางไปยังประเทศที่มีผู้ป่วยไข้ไทฟอยด์
    • สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ หรือพึ่งติดเชื้อไข้ไทฟอยด์
    • ทำงานเป็นนักจุลชีววิทยาที่ต้องทำงานหรือดูแลเรื่องของแบคทีเรียซัลโมเนลลา ไทฟิ
    • ดื่มน้ำที่ปนเปื้อนจากสิ่งปฏิกูลที่มีเชื้อซัลโมเนลลา ไทฟิ

    การวินิจฉัยและการรักษา

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยไข้ไทฟอยด์

    คุณหมออาจทำการตรวจร่างกายและสอบถามเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้น นอกจากนั้นยังอาจใช้การทดสอบอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนี้

    • อีไลซา (Enzyme-linked Immunosorbent Assay หรือ ELISA) คือ การตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยภาวะการติดเชื้อต่าง ๆ ของร่างกาย
    • การตรวจหาแอนติเจนของเชื้อแบคทีเรียซัลโมเนลลา ไทฟิ ด้วยสารเรืองแสงและกล้องจุลทรรศน์ฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งสารเรืองแสงอาจจับกับแอนติเจนที่จำเพาะของเชื้อแบคทีเรียซัลโมเนลลา ไทฟิได้
    • การตรวจปริมาณของเกล็ดเลือด (Platelet count)
    • ตรวจอุจจาระ

    การรักษาไข้ไทฟอยด์

    สำหรับผู้ป่วยไข้ไทฟอยด์ คุณหมออาจใช้วิธีการรักษาด้วยยาปฎิชีวนะ เช่น ยาคลอแรมเฟนิคอล ( Chloramphenicol) ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง (ประมาณ 3%-5%) อาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาเป็นระยะเวลานาน ๆ เพื่อกำจัดถุงน้ำดี ซึ่งเป็นแหล่งของเชื้อแบคทีเรีย

    การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

    การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อบรรเทาอาการไข้ไทฟอยด์ 

    เนื่องจากการรับวัคซีนอาจไม่สามารถป้องกันไข้ไทฟอยด์ได้ ดังนั้นการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันไข้ไทฟอยด์อาจทำได้ ดังนี้

    • ล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหารหรือเวลาเตรียมอาหาร ก่อนและหลังเข้าห้องน้ำ
    • หลีกเลี่ยงการรับประทานผักและผลไม้ดิบ เช่น ผักกาดหอม 
    • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สุก สะอาด ปลอดภัย นอกจากนั้น อาจหลีกเลี่ยงการซื้ออาหารริมถนนที่อาจทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย 

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 12/01/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา