backup og meta

ซีทีสแกน (CT scan) อาจจะเป็นวิธีใหม่ในการ ตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ในร่างกาย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 09/03/2021

    ซีทีสแกน (CT scan) อาจจะเป็นวิธีใหม่ในการ ตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ในร่างกาย

    หนึ่งในปัญหาสำคัญ ของการรับมือกับโรคระบาดโควิด-19 ในปัจจุบันนี้ คือการตรวจคัดกรองว่าใครมีเชื้อโควิด-19 อยู่บ้าง โดยปกติแล้วเราจะใช้วิธีการตรวจหาเชื้อในเยื่อบุคอหรือโพรงจมูก เพื่อหาผู้ว่าบุคคลเหล่านั้นมีเชื้อไวรัสโควิด-19 อยู่หรือไม่ แต่วิธีการนี้มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง จึงอาจมีปัญหาหากต้องการที่จะตรวจคนในปริมาณมากได้ แต่ล่าสุด มีผู้เชี่ยวชาญบางส่วนที่เชื่อว่า เราอาจสามารถ ตรวจโควิด 19 ด้วยซีทีสแกน ได้เช่นกัน

    ซีทีสแกน คืออะไร

    การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกว่า ซีทีสแกน (computerized tomography scan: CT scan) คือการตรวจสแกนร่างกาย ด้วยการใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อหาความผิดปกติของร่างกายในจุดที่ต้องการ โดยการสแกนนั้นจะใช้รังสีเอกซเรย์ ฉายผ่านรอบ ๆ อวัยวะนั้น ๆ แล้วใช้ตัวจับปริมาณรังสีที่ผ่านตัวผู้ป่วย ได้ผลออกมาเป็นภาพเอกซเรย์ 3 มิติ การทำซีทีสแกนนั้นจะมีความละเอียดมากกว่าการเอกซเรย์แบบทั่วไป เนื่องจากสามารถแสดงให้เห็นโครงสร้าง และความผิดปกติของอวัยวะได้อย่างชัดเจน และสามารถตรวจวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำ

    ตรวจโควิด 19 ด้วยซีทีสแกน สามารถทำได้จริงเหรอ

    เราได้มีการใช้ซีทีสแกนตรวจในบริเวณปอด เพื่อตรวจวินิจฉัยความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับปอด เช่น ปอดอักเสบ (pneumonia) มาเป็นเวลานาน และอาการที่พบได้มากที่สุด และมีอาการรุนแรงที่สุดของโรคโควิด-19 นั้นก็คืออาการปอดอักเสบ ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญจึงเชื่อว่า การใช้ซีทีสแกนในบริเวณหน้าอก เพื่อตรวจหาอาการปอดอักเสบ จะสามารถช่วยวินิจฉัยได้ว่าผู้ป่วยเป็นโรคโควิด-19 หรือไม่

    มีงานวิจัยหลายชิ้นในประเทศจีน ได้สนับสนุนแนวคิดนี้เป็นอย่างมาก หนึ่งในงานวิจัยที่ตีพิมพ์ที่วารสาร Radiology พบว่า สัดส่วนของผลบวกในการตรวจโรคโควิด-19 นั้นมากถึง 97–98% หรือพูดอีกอย่างก็คือ ผู้ป่วยโรคโควิด-19 นั้น มีเพียงแค่ 1-2% เท่านั้นที่จะมีผลซีทีสแกนเป็นปกติ

    การตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยวิธีการทำซีทีสแกนนั้น จะเหมาะสำหรับการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ในช่วงระยะแรก โดยทำการซีทีสแกนตรวจสอบในบริเวณหน้าอก เพื่อตรวจหาความผิดปกติและอาการของโรคโควิด-19 เช่น อาการปวดอักเสบ โดยวิธีการนี้จะมีความแม่นยำมากกว่าการตรวจด้วยการเอกซเรย์ และมีความรวดเร็วกว่าการตรวจหาเชื้อไวรัสโดยการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อ และเมื่อรับรู้ผลได้เร็ว ก็จะยิ่งสามารถรับมือกับอาการ และควบคุมโรคได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

    วิธีการนี้เป็นวิธีที่ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศจีนให้ความแนะนำ เนื่องจากความรวดเร็วในการตรวจรู้ผล และทำให้สามารถเพิ่มคุณภาพในการกักตัว และปรับเปลี่ยนมาตฐานด้านสุขภาพของประชาชนได้อย่างรวดเร็ว

    แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าวิธีการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยวิธีซีทีสแกนนั้น จะได้รับความนิยมจากผู้เชี่ยวชาญในประเทศจีน เนื่องจากความรวดเร็วในการรู้ผล แต่อย่างไรก็ตาม ทางศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ (Centers for Disease Control and Prevention: CDC) และวิทยาลัยรังสีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (The American College of Radiology: ACR) ได้คัดค้านเรื่องการใช้ซีทีสแกนเพื่อตรวจหาการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยบอกว่า วิธีการตรวจนี้จะมีอัตราในการตรวจผิดพลาดสูง และแทบจะไม่มีความเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการจัดการกับผู้ป่วยแต่ละราย

    แม้ว่าจะมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าการใช้ซีทีสแกนเพื่อตรวจหาโรคโควิด-19 นั้นมีผลเป็นอย่างดี แต่ก็ยังเป็นที่กังขากันในเรื่องของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ที่ยังมีความไม่ชัดเจน และอาจจะมีแนวโน้มเน้นไปทางผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอยู่แล้ว โดยไม่ได้ทำการสำรวจผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการเบา หรือไม่มีอาการเลย

    จึงทำให้งานวิจัยนี้มีความน่าเชื่อถือต่ำ นอกจากนี้ภายในงานวิจัย ยังใช้คำว่า ผลการตรวจซีทีสแกนผิดปกติ ไม่ใช่คำว่า การตรวจเชื้อมีผลเป็นบวก จึงทำให้ไม่อาจสามารถสรุปได้ว่า ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติที่ปอดนั้นจะเป็นโรคโควิด-19 หรือไม่ เพราะผู้ป่วยอาจเป็นโรคปอดอื่นๆ โดยไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับโควิด-19 เลยก็ได้

    จึงกล่าวสรุปได้ว่า การตรวจหาโควิด-19 ด้วยซีทีสแกนนั้นมักจะให้ผลบวกที่เป็นเท็จ ในอัตราที่ค่อนข้างสูง ไม่มีความแม่นยำ จึงทำให้ไม่เหมาะสมในการใช้เพื่อตรวจหาโรคโควิด-19

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 09/03/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา