backup og meta

พลาสมาในเลือด สามารถนำมารักษาผู้ติดเชื้อ COVID-19 ได้จริงหรือ?

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 30/04/2020

    พลาสมาในเลือด สามารถนำมารักษาผู้ติดเชื้อ COVID-19 ได้จริงหรือ?

    เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ทุกคนกำลังสงสัยเรื่อง การบริจาคเลือดกับโควิด-19 ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร และสามารถช่วยรักษาผู้ป่วยได้จริงหรือไม่ เพราะปัจจุบันยังคงพบเห็นตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้สถานการณ์ของโคโรนาไวรัส (Coronavirus) หรือ ไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ในประเทศไทยกำลังดีขึ้นตามลำดับ แต่ก็อาจกลับมาแพร่ระบาดอย่างหนักได้อีกครั้ง หากเรายังเพิกเฉยต่อการปฏิบัติตามมาตรการบังคับ และการป้องกัน วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเซลล์ พลาสมาในเลือด มาให้ทุกคนได้ทราบ เพื่อเป็นการตัดสินใจก่อนการบริจาคเลือดช่วยเหลือผู้ติดเชื้ออื่น ๆ มาฝากกันค่ะ

    พลาสมาในเลือด (Plasma in blood) คืออะไร

    นอกจากเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดแล้ว ยังมีอีกสิ่งที่เป็นส่วนประกอบอยู่ภายในเส้นเลือดของเรานี้อีกด้วย นั่นก็คือ พลาสมา (Plasma) ซึ่งในเซลล์พลาสมาอุดมไปด้วยน้ำประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ พร้อมทั้งมีเกลือ เอนไซม์ และแอนติบอดี (Antibodies) ที่ช่วยต่อสู้กับเชื้อโรค ไวรัส แบคทีเรียต่าง ๆ ที่เล็ดลอดผ่านเข้ามาในร่างกายโดยที่เราไม่รู้ตัว

    เหนือไปกว่านั้นพลาสมาในเลือดยังสามารถนำพาสารอาหารที่เข้ามาไปหล่อเลี้ยงตามอวัยวะภายใน เพิ่มการเจริญเติบโต ดูแลการพัฒนาของมวลกระดูก และรักษาระดับความดันโลหิตของคุณไม่ให้สูงจนเกินไป นับได้ว่าเป็นสิ่งเล็ก ๆ ที่ให้คุณประโยชน์แก่ร่างกายของเราอย่างมากเลยทีเดียว

    ทำไมถึงต้องนำ พลาสมาในเลือด มารักษาโควิด-19

    ศาสตราจารย์นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เผยข้อมูลผ่านทางเพจเฟสบุ๊คไว้ว่า “ ผู้ที่ได้ทำการรักษาเชื้อไวรัสโควิด-19 หายแล้ว ประมาณ 4-6 อาทิตย์หลังจากเริ่มมีอาการ ภูมิต้านทานนั้นจะยังคงอยู่ระดับสูงในระยะ 2-3 เดือนแรก และจะค่อย ๆ ลดลงจนถึง 6 เดือน ซึ่งเราจะใช้ช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้เป็นเกณฑ์สำหรับผู้ที่หายจากการติดเชื้อ COVID-19 ที่มีความประสงค์จะนำเลือดของตนมาบริจาค “

    โดยการบริจาคนั้นทางแพทย์ จะทำการคัดแยกเพื่อนำพลาสมาในเลือดมาเพียงเท่านั้น และทำการคืนส่วนที่เป็นเม็ดโลหิตแดง โลหิตขาว และเกล็ดเลือดคืนสู่ร่างกายผู้บริจาค พลาสมาที่แยกออกมาในการบริจาคแต่ละครั้ง ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของแต่ละบุคคล ถ้าหากผู้บริจาคมีร่างกายที่แข็งแรงน้ำหนักสมบูรณ์ ก็อาจได้พลาสมาปริมาณมากถึง 500 มล. และจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ถุง ถุงละ 250 มล.

    การที่ผู้ที่จะรับพลาสมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องผ่านการเปรียบเทียบความเหมาะสมของกรุ๊ปเลือด ว่าสามารถเข้ากันได้หรือไม่ และในการรักษาสำหรับผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องใช้พลาสมามากกว่า 1 ครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาวะอาหาร ณ ช่วงเวลานั้น ๆ รวมทั้งดุลยพินิจของแพทย์ประกอบด้วย

    เราสามารถร่วมบริจาคเลือดได้ด้วยหรือไม่

    ในการรับบริจาคเลือด อาจเหมาะสำหรับผู้ป่วยเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่หายขาดแล้ว และอยู่ในเกณฑ์ตามข้อมูลข้างต้น ผู้บริจาค 1 คนสามารถบริจาค พลาสมา ได้ทุก ๆ 2-4 สัปดาห์ และอาจบริจาคได้มากถึง 6 ครั้ง ในการร่วมมือการรักษานี้ มิได้ขึ้นอยู่กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสมอไป

    หากคุณต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือ หรือต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาตไทย เบอร์โทรศัพท์ 02-256-4300 หรือลงทะเบียนออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ของทางสภากาชาดไทยได้ผ่านช่องออนไลน์ดังต่อไปนี้ (https://bit.ly/3aKwQ18) จากนั้นรอเจ้าหน้าที่ตอบกลับ แค่ขั้นตอนง่าย ๆ เหล่านี้ ก็ทำให้คุณเป็น ฮีโร่ในการช่วยชีวิตคนอื่น ๆ ได้แล้วค่ะ

    พลาสมาในเลือด โควิด-19
    ที่มา: https://bit.ly/3bKrJOY

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 30/04/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา