backup og meta

WHO เผยข้อมูล สัญญาณ อาการ การทำงาน และความรุนแรงของโควิด-19

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 20/05/2021

    WHO เผยข้อมูล สัญญาณ อาการ การทำงาน และความรุนแรงของโควิด-19

    ปัจจุบันโรคโควิด 19 ถือเป็นโรคที่มีความรุนแรงในการแพร่ระบาดเป็นอย่างมาก ซึ่งทาง องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้โควิด 19 เป็นโรคระบาดระดับโลก ขณะนี้ยอดผู้ติดเชื้อมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูล สถิติอาการโควิด 19 จาก WHO ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากการสังเกตกลุ่มผู้ป่วยในจีนจำนวน 55,924 คน มาแชร์ให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ

    สถิติอาการโควิด 19 ของผู้ป่วยในจีนโดย WHO พร้อมสัญญาณ การทำงาน และความรุนแรงของโควิด-19

    สถิติอาการ COVID-19 ของผู้ป่วยในจีน

    อาการของโรคโควิด 19 นั้นไม่มีอาการเฉพาะเจาะจง บางครั้งอาจไม่มีการแสดงอาการเลย ไปจนถึงมีอาการปอดอักเสบรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต จากข้อมูลล่าสุดในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2020 จากการสังเกตกลุ่มผู้ป่วยในจีนจำนวน 55,924 กรณี จากรายงาน Report of the WHO-China Joint Mission on Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) โดยองค์การอนามัยโลก) พบว่าสัญญาณและอาการโดยทั่วไปของโควิด 19 นั้น

  • มีไข้ ร้อยละ 87.9
  • ไอแห้ง ร้อยละ 67.7
  • มีอาการอ่อนล้า เหนื่อยล้า ร้อยละ 38.1
  • มีเสมหะ ร้อยละ 33.4
  • หายใจถี่หอบ ร้อยละ 18.6
  • ปวดกล้ามเนื้อหรือมีอาการปวดข้อ ร้อยละ 14.8
  • เจ็บคอ ร้อยละ 13.9
  • ปวดหัว ร้อยละ 13.6
  • หนาวสั่น ร้อยละ 11.4
  • คลื่นไส้และอาเจียน ร้อยละ 5
  • คัดจมูก ร้อยละ 4.8
  • ท้องเสีย ร้อยละ 3.7
  • ไอเป็นเลือด ร้อยละ 0.9
  • ตาแดง ร้อยละ 0.8
  • ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้ป่วย โควิด-19 มักจะมีสัญญาณและอาการของระบบทางเดินหายใจและมีไข้ ในช่วง 5-6 วันหลังจากได้รับเชื้อ ผู้ป่วยโควิด 19 ส่วนใหญ่จะมีอาการรุนแรงเล็กน้อยจนถึงปานกลางและสามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ ซึ่งผู้ป่วยประมาณ ร้อยละ 80 จะมีอาการเพียงเล็กน้อย จนถึงปานกลาง บางคนอาจพบปัญหาเกี่ยวกับปอดอักเสบร่วมด้วย แต่ผู้ป่วยร้อยละ 13.8 จะมีอาการรุนแรง ซึ่งในระดับนี้จะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบการหายใจ หายใจได้ลำบาก และมีผู้ป่วยที่อยู่ในขั้นวิกฤตร้อยละ 6.1 จะมีอาการระบบหายใจล้มเหลว มีอาการช็อค อวัยวะหลายๆ ส่วนล้มเหลว

    จากการรายงานมีผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด 19 แต่ไม่แสดงอาการ ซึ่งกรณีที่ผู้ป่วยมีการติดเชื้อ แต่ไม่แสดงอาการนั้นสามารถพบได้น้อยมากๆ และไม่ใช่กลุ่มหลักในการแพร่เชื้อ แต่สัดส่วนของคนที่ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการนั้นยังไม่มีความชัดเจน ไม่รู้สัดส่วนอย่างแน่นอน

    — HelloKhunmor (@HelloKhunmor) April 24, 2020

    กลุ่มเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 ที่อาจเกิดอาการรุนแรง

    กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสในการติดเชื้อ โควิด-19 ได้ง่าย คือผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคมะเร็ง  นอกจากจะติดเชื้อได้ง่ายแล้ว กลุ่มคนเหล่านี้เมื่อมีการติดเชื้อ โควิด-19 แล้วอาจจะทำให้เกิดอาการที่มีความรุนแรงมากกว่าคนอื่น ๆ จนถึงขั้นสามารถเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

    ส่วนการติดเชื้อ โควิด-19 ในเด็กหรือกลุ่มคนที่มีอายุน้อยกว่า 19 ปีนั้น พบได้น้อยโดยคิดเป็นร้อยละ 2.4 ของผู้ที่ติดเชื้อทั้งหมด ซึ่งในกลุ่มนี้มีผู้ที่มีอาการอย่างรุนแรงเพียงร้อยละ 2.5 เท่านั้น และมีอาการขั้นวิกฤตเพียงร้อยละ 0.2 เท่านั้น จากข้อมูลขององค์กรอนามัยโรคพบว่าผู้ที่เสี่ยงต่อการมีอาการ โควิด-19 อย่างรุนแรงนั้นจะอยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวมากกว่ากลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 19 ปี

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 20/05/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา