backup og meta

แลมบ์ดา โควิดสายพันธ์ุใหม่ แพร่เชื้อไว กลายพันธ์ุเร็วกว่าเดิม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 17/08/2021

    แลมบ์ดา โควิดสายพันธ์ุใหม่ แพร่เชื้อไว กลายพันธ์ุเร็วกว่าเดิม

    แลมบ์ดา โควิดสายพันธ์ุใหม่ ในปัจจุบันได้แพร่ระบาดไปแล้วกว่า 30 ประเทศทั่วโลก ซึ่งนักวิจัยในหลาย ๆ ประเทศได้มีข้อสันนิษฐานว่า โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดาอาจมีความรุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ เนื่องจาก สามารถแพร่กระจายเชื้อได้อย่างรวดเร็ว และหลบภูมิคุ้มกันได้ดี ส่งผลให้หลายประเทศต่างวิตกกังวล โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่กำลังอยู่ในช่วงเร่งฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงได้นำข้อมูลเกี่ยวกับ โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา มาให้ทำความรู้จักกัน เพื่อที่จะได้รับมือกับไวรัสสายพันธุ์ใหม่ได้อย่างทันท่วงที 

    แลมบ์ดา โควิดสายพันธ์ุใหม่ 

    โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา (Lambda) หรือ C.37  เกิดจากการกลายพันธุ์ในหนามโปรตีนบริเวณตำแหน่ง L452Q และ  D253N  ถูกค้นพบครั้งแรกที่ประเทศเปรู ซึ่งเป็นประเทศที่มีอัตราประชากรเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 สูงแห่งหนึ่งของโลก โดยในปัจจุบันได้แพร่ระบาดไปแล้วกว่า 30 ประเทศทั่วโลก จากผลการศึกษาการวิจัยในหลาย ๆ ประเทศ มีข้อสันนิษฐานว่า โควิด-19 สายพันธุ์แลมบ์ดา มีแนวโน้มแพร่กระจายเชื้อได้เร็วกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ  และอาจรุนแรงใกล้เคียงกับสายพันธุ์เดลตา หรืออาจจะรุนแรงมากกว่า ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานยืนยันที่ระบุแน่ชัดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสแลมบ์ดา เช่น ความรุนแรงของโรค ความสามารถต่อการหลบหนีภูมิคุ้มกัน

    อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีการแพร่ระบาดในประเทศไทย แต่ก็ต้องหมั่นดูแลสุขภาพตนเองอย่างสม่ำเสมอ เช่น หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศที่มีการแพร่ระบาด สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน และล้างมือด้วยสบู่และน้ำ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ทุกครั้ง หลังสัมผัสสิ่่งของต่าง ๆ รวมถึงวิธีการป้องกันอื่น ๆ ที่กระทรววงสาธารณสุขแนะนำ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 

    แลมบ์ดา โควิดสายพันธุ์ที่น่าจับตามอง (Variant of interest หรือ VOI)

    เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2564 องค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) ได้ประกาศให้โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา เป็นสายพันธุ์ที่น่าจับตามอง (Variant of interest หรือ VOI) และในอนาคตอาจมีแนวโน้มให้จัดอยู่ในสายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variant of Concern หรือ VOC) เช่นเดียวกับสายพันธุ์เดลต้า หลังจากพบการแพร่ระบาดที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

    โดยในปัจจุบัน ได้มีการแพร่ระบาดเกือบ 30 ประเทศด้วยกัน โดยเฉพาะในประเทศเปรู ทวีปอเมริกาใต้ ที่พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์แลมบ์ดามากกว่า 80% ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 ทั้งหมด 

    รับมือไวรัสสายพันธุ์แลมบ์ดา ด้วยวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ (messenger Ribonucleic Acid :  mRNA )

    ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่า โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดาสามารถแพร่กระจายเชื้อไวรัสได้ดีกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ สามารถหลบภูมิคุ้มกัน และลดประสิทธิภาพของวัคซีนที่มีในปัจจุบัน แต่ได้มีข้อสันนิษฐานซึ่งตีพิมพ์ในวารสารวิชาการออนไลน์ Biorxiv กล่าวว่า วัคซีนชนิด  mRNA เช่น วัคซีนไฟเซอร์ และวัคซีนโมเดอร์นา สามารถกระตุ้นการตอบสนองภูมิคุ้มกัน ซึ่งมีประสิทธิภาพที่ดีในการช่วยป้องกันโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดาได้เป็นอย่างดี 

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 17/08/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา