backup og meta

แพ้แตงโม อาการเป็นอย่างไร และวิธีการรักษา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 27/09/2023

    แพ้แตงโม อาการเป็นอย่างไร และวิธีการรักษา

    “แตงโม” ผลไม้หน้าร้อนยอดนิยม ที่ภายในมีลักษณะเป็นสีแดงบ้าง สีเหลืองบ้างตามสายพันธุ์ มาพร้อมรสชาติหวานฉ่ำชื่นใจ แต่ใครจะไปรู้ว่าจะการรับประทานแตงโมอาจส่งผลทำให้เราเกิดอาการแพ้ได้ ซึ่ง แพ้แตงโม มักจะมีอาการคล้ายการแพ้อาหารทั่วไป เช่น แพ้อาหารทะเล แพ้ถั่วลิสง แต่อาการก็อาจแตกต่างไปได้ตามสภาพร่างกายของแต่ละคน นั่นทำให้ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรง และน่าเป็นห่วงอย่างมาก วันนี้ Hello คุณหมอ จึงมีวิธีรับมือกับ อาการแพ้แตงโม มาฝากคุณผู้อ่านทุกคน

    แพ้แตงโม มีลักษณะอย่างไร

    โรคแพ้แตงโม (Watermelon Allergy) เป็นภาวะที่มีความเชื่อมโยงกับโรคภูมิแพ้ของแต่ละบุคคล โรคนี้สามารถเริ่มเป็นได้ตั้งแต่เด็ก จนติดตัวไปจนถึงช่วงวัยผู้ใหญ่ได้ โดยมีอาการหลัก ๆ ที่พบบ่อยมากที่สุดเมื่อรับประทานแตงโม ดังนี้

    สำหรับผู้ที่มีโรคภูมิแพ้เป็นโรคประจำตัวอยู่แล้ว เมื่อรับประทานแตงโมเข้าไปอาจเกิดการกระตุ้นให้คุณมีอาการร้ายแรงเหล่านี้ขึ้น จนถึงขั้นเสียชีวิตได้

    หากมีอาการข้างต้นเกิดขึ้น คุณควรเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในโรงพยาบาลใกล้แหล่งที่อยู่อาศัยของคุณในทันที เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบสุขภาพด้านอื่น ๆ ที่รุนแรงตามมา

    นอกจากแตงโมแล้ว ควรหลีกเลี่ยงผลไม้ใดอีกบ้าง

    ผู้ป่วยบางรายอาจไม่ได้แพ้แค่ผลไม้ชนิดนี้เพียงชนิดเดียว แต่อาจมีอาการแพ้พืช และผลไม้ในตระกูลเดียวกันดังต่อไปนี้ได้ด้วย

    ไม่ว่าคุณจะไปรับประทานอาหารที่ใด หากรู้ตัวว่ามีอาการแพ้วัตถุดิบข้างต้น โปรดแจ้งให้พนักงานทราบ และกำชับให้ผู้ประกอบอาหารละเว้นการใช้วัตถุดิบดังกล่าวในอาหารของคุณด้วย

    ควรทำอย่างไรเมื่อ อาการแพ้แตงโม กำเริบ

    การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อคนรอบข้างหรือตัวคุณเกิดอาการแพ้แตงโม ก็คือ ควรรีบแจ้งบริการฉุกเฉินที่อยู่ใกล้สถานที่ที่คุณอยู่มากที่สุด และในระหว่างการรอนี้ คุณควรเริ่มปฐมพยาบาลผู้ป่วยโดยเริ่มจาก

    1. ปลดเสื้อผ้า ให้ผู้ป่วยได้หายใจสะดวกขึ้น
    2. ให้ผู้ป่วยนอนราบตัวตรง
    3. ยกเท้าของผู้ป่วยขึ้นประมาณ 12 นิ้ว
    4. หากผู้ป่วยมีอาการอาเจียนให้พลิกตัวเขานอนตะแคง เพื่อไม่ให้เลอะเปรอะเปื้อน หรือเกิดอาการสำลัก
    5. ห้ามยกศีรษะก่อนหน่วยแพทย์มาถึง
    6. หลีกเลี่ยงการให้ผู้ป่วยรับประทานยาทุกชนิด เว้นแต่แพทย์จะอนุญาต
    7. เตรียมตัวทำ CPR ในยามจำเป็น

    หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลเรียบร้อยแล้ว แพทย์อาจให้ผู้ป่วยพกอีพิเพน (Epinephrine auto injector หรือ Epipen) ในรูปแบบกระบอกฉีดพ่น เพื่อการรักษาตนเองหากอาการกำเริบอีกครั้ง และแพทย์อาจสั่งให้ใช้ยาไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) ร่วมด้วย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 27/09/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา