backup og meta

บอกลาภูมิแพ้จากมลภาวะอากาศ ด้วย วิธีการดูแลตัวเองจากโรคภูมิแพ้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    บอกลาภูมิแพ้จากมลภาวะอากาศ ด้วย วิธีการดูแลตัวเองจากโรคภูมิแพ้

    ตลอดช่วงปีที่ผ่านมานี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ากิจกรรมของมนุษย์ อาทิ การทำอุตสาหกรรม การก่อสร้าง การคมนาคม หรือแม้แต่การปรุงอาหารในครัวเรือนนั้นก่อให้เกิดเป็น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ควันพิษ ฝุ่นธรรมดา ไปจนถึงฝุ่นที่มีอนุภาคขนาดเล็กอย่าง ฝุ่นPM2.5 ในอากาศที่ทั่วโลกต่างต้องเผชิญ ซึ่งมลภาวะทางอากาศดังกล่าวล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในผู้ที่ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ และผู้ที่มีภาวะเสี่ยงในการเกิดโรคภูมิแพ้ บทความนี้ Hello คุณหมอ มาพร้อม วิธีการดูแลตัวเองจากโรคภูมิแพ้ ที่อาจเกิดจากมลพิษในอากาศ มาฝากกันค่ะ

    มลพิษภายในอาคาร อันตรายกว่า มลพิษนอกอาคาร จริงหรือ?

    หลายคนอาจคิดว่า การใช้ชีวิตในเมืองใหญ่ ที่เต็มไปด้วยฝุ่นควันนั้นส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้โดยตรง แต่สิ่งที่คนส่วนใหญ่มองข้ามไป คือที่อยู่อาศัยอย่าง “บ้าน” ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ หรือมีโรคประจำตัว เพราะ ปัจจัยก่อภูมิแพ้ใกล้ตัวภายในบ้าน อาจมีมากกว่าที่คุณคิด

    ทำความรู้จักปัจจัยก่อภูมิแพ้ภายในบ้านที่คุณควรเฝ้าระวัง

  • ไรฝุ่นจากโซฟา ผ้านวม และฟูกเตียงนอน
  • ขนสัตว์เลี้ยง
  • เชื้อรา
  • ควันจากการประกอบอาหาร ควันบุหรี่ การจุดธูป เทียน
  • ฝุ่นบ้าน
  • แมลงสาบ
  • การถ่ายเทอากาศในบ้านไม่ดีพอ
  • สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ ในบางครั้งการใช้ชีวิตประจำวัน อาจต้องเผชิญปัจจัยก่อภูมิแพ้เหล่านี้ ที่เป็นตัวกระตุ้นให้อาการภูมิแพ้รุนแรงขึ้น ก่อให้เกิดเป็นอาการที่มักพบบ่อย เช่น จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล หายใจติดขัด และในบางรายโรคภูมิแพ้อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก

    ลองหันมาดูแลตัวเองด้วย วิธีการดูแลตัวเองจากโรคภูมิแพ้ เหล่านี้

    สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการโรคภูมิแพ้ การดูแลตัวเองถือเป็นปราการด่านแรกที่จะช่วยให้คุณมีภูมิคุ้มกันต่อปัจจัยกระตุ้นรอบด้าน อ้างอิงจากคำแนะนำโดย ศาสตราจารย์แพทย์หญิง อรพรรณ โพชนุกูล หรือคุณหมอแอน ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโรคภูมิแพ้ โรคหืด และโรคระบบหายใจ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ได้แนะนำ วิธีการดูแลตัวเองจากโรคภูมิแพ้ ด้วยหลักการที่เรียกว่า “4 Es”  ดังต่อไปนี้

    • E – Exercise หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ นอกจากจะทำให้ปอดแข็งแรง แต่ยังได้ดูแลสุขภาพแบบครบวงจร
    • E – Eating เลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมและมีประโยชน์ต่อร่างกาย สามารถช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันได้จากภายใน
    • E – Environment หลีกเลี่ยงมลพิษต่างๆ เช่น ควันรถ ควันบุหรี่ อาจเลือกใส่หน้ากากอนามัยที่กันฝุ่นได้ยามที่ต้องออกจากบ้าน เพราะสิ่งแวดล้อมคือปัจจัยที่ส่งผลต่ออาการของโรคภูมิแพ้เป็นที่สุด
    • E – Emotion ทำจิตใจให้แจ่มใส มองโลกในแง่บวก เพราะอารมณ์ ที่แปรปรวนอย่าง ความเครียด หรือภาวะซึมเศร้าล้วนกระตุ้นให้เกิดอาการของโรคภูมิแพ้ได้เช่นกัน

    เลือกใช้ยาอย่างไร ให้เหมาะสม

    ปัจจุบันยารักษาโรคภูมิแพ้ชนิดรับประทานในท้องตลาด มีให้ผู้ป่วยได้เลือกตามจุดประสงค์การรักษาที่หลากหลาย เช่น เฟกโซเฟนาดีน (Fexofenadine) ลอราทาดีน (Loratadine) หรือ เซเทอรีซีน (Cetirizine) ยาเหล่านี้จัดว่ามีคุณสมบัติในการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกัน 

    ศาสตราจารย์แพทย์หญิง อรพรรณ โพชนุกูล กล่าวว่า ปัจจุบันได้มีงานวิจัยทางการแพทย์ยืนยันว่า  การใช้ยาแก้แพ้ชนิดรับประทานที่มีตัวยาสำคัญ เฟกโซเฟนาดีน (Fexofenadine) ในกลุ่มผู้ที่มีอาการจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ซึ่งถูกกระตุ้นด้วยมลพิษในอากาศ สามารถช่วยลดอาการภูมิแพ้ทางจมูกที่เพิ่มขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญ (Phase 3, Single-center, Sequential and Parallel-Group, Double-Blind, Randomized Study Evaluating the Efficacy and Safety of Fexofenadine Hydrochloride 180 mg versus Placebo in Subjects Suffering from Allergic Rhinitis with Symptoms Aggravated in Presence of Pollutants: Analysis of Individual Symptom Scores, A. K. Ellis et al, WAC2019 poster presentation no. 158-159)

    ถึงแม้ในปัจจบันยารักษาอาการภูมิแพ้นั้น หาซื้อได้ง่ายทั่วไป แต่เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้ป่วย การใช้ยารักษาอาการของโรค ควรเป็นไปตามดุลยพินิจของแพทย์ หรือคำแนะนำจากเภสัชกร

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    SATH.FEX.20.02.0070 (03/20)

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา