backup og meta

ค่า psa คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับมะเร็งต่อมลูกหมาก

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 18/09/2023

    ค่า psa คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับมะเร็งต่อมลูกหมาก

    ค่า psa คือ ระดับโปรตีน psa (Prostate-Specific Antigen) ในเลือด ซึ่งเป็นโปรตีนที่ผลิตจากต่อมลูกหมาก และเป็นหนึ่งในตัวบ่งชี้ภาวะของผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยหากค่า psa อยู่ในระดับสูงมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากสูงตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม หากตรวจพบค่า psa สูงจะต้องได้รับการตรวจด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติมเพื่อยืนยันว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก

    psa คืออะไร

    psa คือ โปรตีนชนิดหนึ่งซึ่งผลิตจากต่อมลูกหมากและเป็นส่วนหนึ่งของน้ำอสุจิ ช่วยให้น้ำอสุจิมีความเหลว และช่วยให้ตัวอสุจิเคลื่อนไหวในน้ำอสุจิได้สะดวกขึ้น

    ทั้งนี้ โปรตีน psa ยังพบได้ในเลือดของมนุษย์ ในปริมาณราว ๆ 2.5-10 นาโนกรัมต่อเลือด 1 มิลลิลิตร โดยหากเจาะเลือดแล้วพบค่า psa ในระดับสูง อาจหมายถึงบุคคลนั้นกำลังป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก หรือโรคต่อมลูกหมากโต แต่เพื่อยืนยันว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่ จำเป็นต้องตรวจด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติม เช่น การทำ MRI การตัดชิ้นเนื้อบางส่วนไปตรวจ การอัลตราซาวด์ต่อมลูกหมากผ่านทางช่องทวารหนัก

    การตรวจค่า psa

    ค่า psa คือ ตัวบ่งชี้อย่างหนึ่งของมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแรกเริ่ม แต่แม้ว่าจะมีค่า psa ต่ำก็ยังอาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้อยู่

    ในการตรวจค่า psa คุณหมอจะเจาะเลือดที่แขนคนไข้ แล้วนำไปตรวจในห้องทดลอง โดยผลตรวจมีความหมาย ดังนี้

    • ค่า psa น้อยกว่า 4 นาโนกรัม/มิลลิลิตร หมายถึง ไม่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก หรือมีโอกาสตรวจเจอโรคในเปอร์เซ็นต์ต่ำ หรือราว 15 เปอร์เซ็นต์
    • ค่า psa ระหว่าง 4-10 นาโนกรัม/มิลลิลิตร หมายถึง มีโอกาสตรวจเจอมะเร็งต่อมลูกหมาก ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์
    • ค่า psa เกินกว่า 10 นาโนกรัม/มิลลิลิตร หมายถึง มีโอกาสตรวจเจอมะเร็งต่อมลูกหมาก มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์

    ความน่าเชื่อถือของค่า psa

    ผลตรวจค่า psa ไม่ใช่ตัวบ่งชี้ซึ่งเชื่อถือได้ 100 เปอร์เซ็นต์ในการยืนยันโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เนื่องจาก psa ในเลือดสูงขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น

    • โรคเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก ซึ่งไม่ได้หมายถึงมะเร็งต่อมลูกหมาก เช่น ต่อมลูกหมากโต ต่อมลูกหมากอักเสบ
    • อายุ เมื่อผู้ชายอายุมากขึ้น ค่า psa โดยเฉลี่ยจะสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งอาจไม่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติใด ๆ ของต่อมลูกหมาก
    • การหลั่งน้ำอสุจิ สามารถทำให้ค่า psa สูงขึ้นได้ในระยะสั้น ๆ ดังนั้น ในการตรวจค่า psa ในเลือด คุณหมอจะให้คนไข้หลีกเลี่ยงการหลั่งน้ำอสุจิ เป็นเวลา 1-2 วันก่อนเข้ารับการตรวจ
    • การตรวจโรค การตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากไปตรวจ รวมถึงการส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเป็นวิธีตรวจโรคเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก สามารถทำให้ระดับ psa สูงขึ้นได้ในระยะสั้น ๆ
    • สารหรือยาบางชนิด การบริโภคฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) รวมถึงยาบางชนิดซึ่งมีผลต่อระดับฮอร์โมนดังกล่าว อาจทำให้ค่า psa ในเลือดสูงขึ้นได้

    ทั้งนี้ เมื่อคุณหมอตรวจพบว่าค่า psa อยู่ในระดับที่อาจแสดงถึงความเสี่ยงสูงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก คุณหมออาจขอตรวจค่า psa ซ้ำ เพื่อให้แน่ใจค่า psa ที่สูงขึ้นของคนไข้ เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของต่ำลูกหมาก มิใช่ปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ

    นอกจากนี้ หากคุณหมอสงสัยว่าคนไข้อาจกำลังเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากอยู่ เนื่องจากระดับ psa ที่สูง คุณหมออาจขอตรวจเพิ่มเติม ดังนี้

  • ตรวจทางทวารหนัก โดยคุณหมอจะใช้นิ้วสอดเข้าในรูทวารของคนไข้ เพื่อตรวจลักษณะของต่อมลูกหมากโดยตรง ว่ามีความผิดปกติของรูปร่าง ขนาด หรือพื้นผิวหรือไม่
  • ตรวจอัลตราซาวด์ผ่านทางทวารหนัก โดยใช้เครื่องมือสอดเข้าทางทวารหนักเพื่อตรวจลักษณะและขนาดของต่อมลูกหมาก
  • เจาะชิ้นเนื้อตรวจ โดยการสอดเข็มผ่านผนังของลำไส้ตรง เพื่อนำชิ้นเนื้อของต่อมลูกหมากออกมา แล้วนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ
  • การทำ MRI หรือการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  • ใครคือกลุ่มเสี่ยงที่ควรเข้ารับการตรวจค่า psa

    ในปี พ.ศ. 2561 คณะทำงานพิเศษเพื่อการป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา แนะนำว่าผู้ชายอายุ 55-69 ปี ควรตรวจหาค่า psa ในเลือด เพื่อดูว่ามีความเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่  รวมทั้งกลุ่มเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากซึ่งประกอบด้วย

    • ผู้ที่เป็นโรคอ้วน
    • ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก

    อย่างไรก็ตาม การพบมะเร็งต่อมลูกหมากตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม หมายถึง เซลล์มะเร็งยังไม่แพร่กระจายจากต่อมลูกหมากไปยังอวัยวะอื่น ๆ และผู้ป่วยอาจปรึกษาคุณหมอเพื่อเลือกว่าจะจัดการกับมะเร็งอย่างไร จากตัวเลือกที่คุณหมอแนะนำ ซึ่งโดยทั่วไปประกอบด้วย

    ทั้งนี้ แต่ละตัวเลือกมีข้อดี ข้อเสีย และผลข้างเคียง จึงควรปรึกษาคุณหมอก่อนเลือกวิธีการรักษา

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 18/09/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา