backup og meta

ระยะมะเร็งต่อมลูกหมาก มีกี่ระยะที่คุณผู้ชายควรระวัง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 31/08/2021

    ระยะมะเร็งต่อมลูกหมาก มีกี่ระยะที่คุณผู้ชายควรระวัง

    มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งที่เหล่าคุณผู้ชายควรพึงระวังเป็นพิเศษ โดยมะเร็งต่อมลูกหมากเกิดจากเซลล์หรือเนื้อเยื่อภายในต่อมลูกหมากไม่สามารถควบคุมได้ และยังสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ได้ ดังนั้นวันนี้ Hello คุณหมอ จะพาไปทำความรู้จักเกี่ยวกับ ระยะมะเร็งต่อมลูกหมาก ว่ามีกี่ระยะ ไปดูกันเลย

    ระยะมะเร็งต่อมลูกหมาก มีกี่ระยะ

    ถ้าหากตรวจพบว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากอาจจำเป็นที่จะต้องตรวจหาระยะของโรคเพื่อช่วยเลือกแนวทางในการรักษา โดยระยะมะเร็งต่อมลูกหมาก มีดังนี้

    • ระยะที่ 1 หมายถึง มะเร็งที่อยู่ด้านใดด้านหนึ่งของต่อมลูกหมาก โดยมะเร็งระยะที่ 1 นั้นมักจะมีการเติบโตช้า โดยคะแนน Gleason อาจจะได้ 6 หรือน้อยกว่า และค่า PSA น้อยกว่า 10 ที่อยู่ในระดับต่ำ
    • ระยะที่ 2 หมายถึง มะเร็งที่ยังคงอยู่ที่ต่อมลูกหมาก และยังไม่แพร่กระจาย โดยสามารถแบ่งย่อยได้อีก 3 คือ
    • ระยะที่ 2A มะเร็งที่อยู่ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองฝั่งของต่อมลูกหมาก ค่า PSA อยู่ระหว่าง 10 ถึง 19 และคะแนน Gleason เท่ากับ 6 หรือน้อยกว่า
    • ระยะที่ 2B มะเร็งที่อยู่ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองฝั่งของต่อมลูกหมาก ค่า PSA ต่ำกว่า 20 และคะแนน Gleason อยู่ที่ 7
    • ระยะที่ 2C มะเร็งที่อยู่ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองฝั่งของต่อมลูกหมาก โดยค่า PSA ต่ำกว่า 20 และคะแนน Gleason เท่ากับ 7 หรือ 8
  • ระยะที่ 3 หมายถึง มะเร็งที่มีแนวโน้มจะเติบโตและแพร่กระจายมากขึ้น และอาจลุกลามเข้าท่อน้ำเชื้อด้านข้าง โดยสามารถแบ่งย่อยได้อีก 3 คือ
    • ระยะที่ 3A มะเร็งกำลังเติบโตในต่อมลูกหมาก แต่ยังไม่แพร่กระจาย
    • ระยะที่ 3B มะเร็งเริ่มเติบโตนอกต่อมลูกหมากและอาจแพร่กระจายไปบริเวณใกล้เคียง เช่น กระเพาะปัสสาวะหรือไส้ตรง
    • ระยะที่ 3C ระยะนี้คล้ายกับระยะ 3A โดยมะเร็งอาจจะแพร่กระจาย หรือยังไม่แพร่กระจายออกนอกต่อมลูกหมากก็ได้
  • ระยะที่ 4 หมายถึง มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองหรือไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย โดยสามารถแบ่งย่อยได้อีก 2  คือ
  • ระยะที่ 4A มะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียง แต่อาจแพร่กระจายหรือไม่แพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อใกล้เคียง
  • ระยะที่ 4B มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกาย  ไม่ว่าจะเป็นกระดูกหรือต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ห่างไกล
  • วิธีการกำหนด ระยะมะเร็งต่อมลูกหมาก

    โดยการกำหนดระยะของต่อมลูกหมากอาจดูได้จากค่า PSA และ คะแนน Gleason โดยคะแนน Gleason เป็นระบบการให้คะแนนมะเร็งต่อมลูกหมากที่ใช้บ่อยที่สุด ซึ่งจะแบ่งเกรดเป็น 1-5 เรียกว่า Gleason grade เพื่อจัดลำดับรูปแบบเซลล์ที่พบบ่อยที่สุด และรองลงมา ยิ่งเกรดสูงมีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งระยะรุนแรง และยังสามารถนับคะแนนรวมของ Gleason grade โดยจะเรียกว่า Gleason score ยิ่งคะแนนสูงเท่าไรก็มีแนวโน้มว่าเป็นโรคมะเร็งในระยะที่ร้ายแรงมากขึ้นเท่านั้น

    การแพร่กระจายของมะเร็งต่อมลูกหมาก

    มะเร็งต่อมลูกหมากนั้นเกิดขึ้นภายในต่อมลูกหมากเป็นเวลานานหลายปีถึงจะเกิดอาการ หรือบางคนก็ไม่มีอาการใด ๆ แสดงให้เห็น ถ้าหากระยะเวลาผ่านไปนานมะเร็งนั้นอาจสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ โดยวิธีการเจริญเติบโตที่เนื้อเยื่อข้างเคียง แพร่กระจายผ่านระบบต่อมน้ำเหลืองและท่อน้ำเหลือง รวมถึงอาจแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื้ออื่น ๆ ผ่านทางระบบเลือด ซึ่งสามารถทดสอบได้ว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งระยะใดแล้วแพร่กระจายไปมากน้อยพียงใด

    การวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมาก

    การวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมากแพทย์อาจจะทำการทดสอบเพื่อดูว่ามะเร็งแพร่กระจายไปมากเพียงใด และยังสามารถทราบระยะของมะเร็งต่อมลูกหมากด้วย ได้แก่

  • การตรวจทางทวารหนักแบบดิจิตอล (DRE)
  • อัลตราซาวนด์ทางทวารหนัก
  • การตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) บริเวณช่องท้องและเชิงกรานเพื่อดูว่ามะเร็งแพร่กระจายหรือไม่
  • การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
  • การตรวจหาค่า PSA (Prostate-specific antigen) การตรวจค่าแอนติเจนจำเพาะต่อมลูกหมาก
  • เมื่อคุณผู้ชายพบว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากไม่ควรตกใจหรือเป็นกังวลจนไม่เป็นการทำอะไรเลย ทางที่ดีผู้ป่วยควรสอบถามข้อมูลการรักษาจากแพทย์ และทำความเข้าใจของโรค หากคุณคิดว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะเป็น แนะนำควรตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมากเมื่ออายุ 40 ปี

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 31/08/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา