backup og meta

วัยรุ่นกับมะเร็งปอด วิธีการจัดการอารมณ์เมื่อพบว่าป่วยเป็นโรคนี้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 23/04/2021

    วัยรุ่นกับมะเร็งปอด วิธีการจัดการอารมณ์เมื่อพบว่าป่วยเป็นโรคนี้

    วัยรุ่นกับมะเร็งปอด อาจฟังดูเป็นเรื่องยุ่งยาก สำหรับผู้ป่วยที่ยังอยู่ในช่วงวัยรุ่น เพราะนอกจากร่างกายจะเกิดความเปลี่ยนแปลงแล้ว สภาวะอารมณ์ก็ยังอาจแปรปรวน เมื่อรู้ตัวว่าเป็น โรคมะเร็งปอด และต้องเข้ารับการรักษาด้วย กำลังใจจากครอบครัวและเพื่อนฝูง จึงนับว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก ซึ่งแต่ละคนก็ล้วนมีวิธีให้กำลังใจที่แตกต่างกันออกไป บทความนี้ Hello คุณหมอ นำ วิธีการจัดการอารมณ์ของ วัยรุ่นกับมะเร็งปอด ดังกล่าวนี้มาฝากกันค่ะ

    วัยรุ่นกับมะเร็งปอด และวิธีรับมือกับอารมณ์ที่แปรปรวน

    การพูดคุยกับแพทย์และพยาบาล

    เมื่อเป็น โรคมะเร็งปอด การพูดคุยกับแพทย์และพยาบาล อาจเป็นเรื่องยากในช่วงแรก ๆ แต่หลังจากนั้นจะกลายเป็นเรื่องง่ายขึ้น คุณคือคนที่จะเข้าใจความรู้สึกของตนเองได้ดีที่สุด ฉะนั้นจึงควรพูดคุยกับแพทย์และพยาบาลตามความเป็นจริง เพื่อที่แพทย์จะได้ช่วยเหลือคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนี่คือเคล็ดลับที่อาจช่วยคุณได้

    พูดอะไรตรงไปตรงมา คุณควรบอกแพทย์ถึงความรู้สึก ความเจ็บปวด หรือผลข้างเคียงของโรคมะเร็งปอด เพื่อที่แพทย์จะได้ประเมินการรักษา โรคมะเร็งปอด ได้อย่างเหมาะสม เมื่อเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล คุณก็ควรบอกความต้องการให้พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ทราบ หากรู้สึกว่าการพูดคุยเป็นเรื่องยาก ก็อาจขอให้คุณพ่อคุณแม่ช่วยพูดให้ นอกจากนี้ ทีมแพทย์อาจประสานให้คุณได้พูดคุยกลุ่มสนับสนุน ผู้ให้คำปรึกษา หรือนักบำบัด เพื่อที่จะได้รับคำแนะนำดี ๆ เกี่ยวกับอารมณ์ในช่วงที่เป็น โรคมะเร็งปอด ได้

    การพูดคุยกับครอบครัวและเพื่อน

    พูดคุยกับคนที่คุณรู้สึกไว้ใจ เช่น เพื่อนๆ คุณครู หรือคนที่คุยด้วยแล้วรู้สึกสบายใจ ถือเป็นอีกเรื่องที่ช่วยจัดการกับอารมณ์ในช่วงที่เพิ่งรับรู้ว่าเป็น โรคมะเร็งปอด ได้ เนื่องจากคนเหล่านี้อาจเป็นกำลังใจที่สำคัญ และช่วยให้คุณได้ระบายความคิดและความรู้สึกออกมา

    การพูดคุยกับวัยรุ่นที่เป็นมะเร็งเหมือนกัน

    ด้วยความที่ต้องเผชิญกับ โรคมะเร็งปอด หรือโรคมะเร็งอื่น ๆ เหมือนกัน พวกเขาจึงเข้าใจถึงความรู้สึก และความกังวลของคุณ นอกจากนี้ พวกเขายังสามารถแนะนำหรือแชร์ประสบการณ์ ในการจัดการกับผลข้างเคียงจากการรักษา ปัญหาการเรียน รวมถึงวิธีพูดคุยกับแพทย์ และนี่คือวิธี

    • พูดคุยกับวัยรุ่นหรือกลุ่มสนับสนุนที่คุณเจอในโรงพยาบาล
    • สืบหาองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย โรคมะเร็งปอด หรือมะเร็งอื่น ๆ
    • เข้าร่วมกับองค์กรที่ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งในวัยรุ่น หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์
    • ขอคำแนะนำจากแพทย์และพยาบาล

    ใช้สื่อออนไลน์

    คุณอาจติดต่อกับคนอื่น ๆ ผ่านกลุ่มออนไลน์ หรือองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งในปัจจุบันนับว่าเป็นช่องทางสำคัญในการติดต่อสื่อสาร แม้ว่าการสนทนาผ่านเครือข่ายออนไลน์ จะเป็นเรื่องง่าย แต่คุณก็ควรระมัดระวังในเรื่องการให้ข้อมูลส่วนตัว เนื่องจากอาจมีผู้ไม่หวังดีเข้ามาหาประโยชน์ได้ และควรซักถามแพทย์หรือพยาบาลทันที คุณอ่านเจอข้อมูลอะไรที่ฟังดูน่ากลัว แผนการรักษาและการตอบสนองต่อการรักษาของผู้ป่วยแต่ละคน อาจแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย ฉะนั้นก็มองหากำลังใจจากกลุ่มสนับสนุนองค์การช่วยเหลือทางอินเตอร์เน็ต

    ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ

    ถึงแม้คุณจะได้รับกำลังใจดี ๆ จากครอบครัวและเพื่อนฝูงแล้ว ผู้ให้คำปรึกษา นักสังคมสงเคราะห์ หรือนักบำบัด ก็อาจช่วยให้คุณและครอบครัวได้ระบายความรู้สึกเกี่ยวกับ โรคมะเร็งปอด ได้ ซึ่งโรงพยาบาลส่วนใหญ่ มักจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตคอยให้คำแนะนำอยู่แล้ว ฉะนั้นก็ขอให้แพทย์แนะนำผู้ให้คำปรึกษา ที่มีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษากับผู้ป่วยวัยรุ่นโรคมะเร็ง

    เขียนบันทึก

    ถ้าคุณไม่ชอบการพูดคุย ก็อาจใช้วิธีเขียนบันทึกแทน ผู้ป่วยบางคนใช้วิธีเขียนความคิด ความรู้สึก และความฝัน และบางคนก็ใช้วิธีวาดภาพ เขียนเรื่องราว หรือแต่งกลอน ลองหาวิธีที่เหมาะกับคุณดู

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 23/04/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา