backup og meta

มะเร็งมดลูกเกิดจากอะไร หาคำตอบได้จากบทความนี้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 31/05/2021

    มะเร็งมดลูกเกิดจากอะไร หาคำตอบได้จากบทความนี้

    โรคมะเร็ง คือ โรคที่หลาย ๆ คนรู้สึกกลัว และไม่อยากเป็นโรคนี้ เนื่องจาก วิธีการรักษานั้นมีหลายขั้นตอน และเมื่อรักษาแล้วก็อาจจะกลับมาเป็นอีกได้ สำหรับผู้หญิงส่วนใหญ่ โรคมะเร็งมดลูก ถือเป็นโรคมะเร็งอีกชนิดที่จำเป็นจะต้องให้ความใส่ใจและสังเกตเป็นพิเศษ แต่ มะเร็งมดลูกเกิดจากอะไร ลองมาหาคำตอบจากบทความนี้กัน

    ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ มะเร็งมดลูก

    มะเร็งเป็นโรคที่เซลล์ในร่างกายเติบโตอย่าควบคุมไม่ได้ ซึ่งชื่อของมะเร็งมักจะตั้งชื่อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่มะเร็งเริ่มเกิดขึ้น ถึงแม้ว่าสุดท้ายแล้วเซลล์มะเร็งจะแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายในภายหลังก็ตาม ดังนั้น เมื่อมะเร็งเริ่มต้นในมดลูก มันจึงถูกเรียกว่า “มะเร็งมดลูก”

    มดลูกเป็นอวัยวะที่มีลักษณะคล้ายลูกแพร์อยู่ในบริเวณอุ้งเชิงกรานของผู้หญิง (บริเวณใต้ท้องและระหว่างกระดูกสะโพก) มดลูกถือเป็นส่วนที่สำคัญอย่างมาก เพราะเป็นบริเวณที่ทารกเติบโตเมื่อผู้หญิงมีการตั้งครรภ์ มะเร็งมดลูกชนิดที่พบบ่อยที่สุด เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “มะเร็งเยื่อยุโพรงมดลูก” เนื่องจากมันก่อตัวขึ้นในเยื่อบุโพรงมดลูกนั่นเอง ผู้หญิงทุกคนมีความเสี่ยงที่จะเป็น โรคมะเร็งมดลูก โดยความเสี่ยงนั้นจะเพิ่มขึ้นตามอายุ ส่วนใหญ่มะเร็งมดลูกมักถูกพบในผู้หญิงที่ใกล้จะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรือหมดประจำเดือนไปแล้ว

    มะเร็งมดลูกเกิดจากอะไร ได้บ้าง

    ยังไม่เป็นที่แน่จัดว่า อะไรเป็นสาเหตุของมะเร็งมดลูก แต่มีบางสิ่งที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้ ปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งสำหรับโรคมะเร็งมดลูก คือ ระดับฮอร์โมนที่เรียกว่า “เอสโตรเจน” ในร่างกายมีระดับที่สูงขึ้น นอกจากนั้น ยังมีอีกหลายสิ่งที่อาจทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงขึ้น รวมไปถึงโรคอ้วน การใช้ยาทาม็อกซิเฟน (Tamoxifen) ในระยะยาว ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สามารถทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งมดลูกเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อย

    การป้องกันโรคมะเร็งมดลูกนั้น ไม่สามารถป้องกันได้เสมอไป แต่ก็มีบางอย่างที่อาจจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลดลูกได้ ซึ่งนั่นรวมไปถึงการรักษาน้ำหนักให้ได้มาตรฐานและการคุมกำเนิดบางประเภทในระยะยาว

    สัญญาณเตือนล่วงหน้าของ โรคมะเร็งมดลูก

    สำหรับผู้หญิงส่วนใหญ่ที่เป็น โรคมะเร็งมดลูก อาจมีอาการเลือดออกทางช่องคลอดซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดปกติ เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด และเป็นอาการแรกที่สังเกตเห็นได้ อาการของ โรคมะเร็งมดลูก มักส่งผลต่อผู้หญิงวัยก่อนหมดประจำเดือนและวัยทอง ส่วนอาการทั่วไปอื่น ๆ ที่เป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้าของโรคมะเร็งมดลูก ได้แก่

  • ตกขาวผิดปกติ แต่ไม่ได้มีสัญญาณเตือนของการมีเลือดออก
  • ปัสสาวะลำบาก หรือเจ็บปวดขณะปัสสาวะ
  • รู้สึกปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์
  • ปวดหรือรู้สึกมีก้อนเนื้อในบริเวณอุ้งเชิงกราน
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่ได้ดั้งใจ
  • อาการเหล่านี้สามารถกับภาวะอื่นได้ด้วย ไม่ใช่เพียงแค่ โรคมะเร็งมดลูก เพียงอย่างเดียว เพราะฉะนั้น ผู้ป่วยที่มีอาการต่าง ๆ ที่กล่าวข้างต้น ควรไปพบคุณหมอเพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงจะเป็นการดีที่สุด

    โรคอ้วนและภาวะเมแทบอลิกซินโดรมอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งมดลูก

    อะไรก็ตามที่เพิ่มโอกาสในการเป็น โรคมะเร็งมดลูก จะถูกเรียกว่าปัจจัยเสี่ยง แต่การมีปัจจัยเสี่ยงไม่ได้หมายความว่าคุณจะเป็นมะเร็งเสมอไป และการที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่เป็นมะเร็ง ดังนั้น การพูดคุยกับคุณหมอถ้าคุณคิดว่าอาจเสี่ยงที่จะเป็น โรคมะเร็งมดลูก จึงเป็นการดีที่สุด สำหรับปัจจัยเสี่ยงของ โรคมะเร็งมดลูก มีดังต่อไปนี้

  • การให้ฮอร์โมนทดแทนฮอร์โมนเอสโตรเจนเพียงอย่างเดียว (HRT) ซึ่งมักใช้รักษาผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยทอง
  • การใช้ยาทาม็อกซิเฟน (Tamoxifen) เพื่อป้องกันหรือรักษาโรคมะเร็งเต้านม
  • โรคอ้วน
  • มีภาวะเมแทบอลิกซินโดรม
  • มีโรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • การสัมผัสเนื้อเยื่อของเยื่อบุโพรงมดลูกกับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ร่างกายสร้างขึ้น ซึ่งอาจเกิดจาก
    • ไม่เคยคลอดบุตร
    • มีประจำเดือนตั้งแต่อายุยังน้อย
    • เริ่มหมดประจำเดือนในวัยต่อมา
  • มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovarian Syndrome หรือ PCOS)
  • มีประวัติครอบครัวเป็น โรคมะเร็งมดลูก ในญาติลำดับแรก เช่น แม่ พี่สาว หรือลูกสาว
  • มีเงื่อนไขทางพันธุกรรมบางอย่าง เช่น ลินช์ซินโดรม (Lynch Syndrome)
  • มีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่
  • สำหรับอายุที่มากขึ้น ถือเป็นปัจจัยเวี่ยงหลังของโรคมะเร็งส่วนใหญ่ ดังนั้น เมื่อคุณอายุที่มากขึ้นอาจจะเพิ่มโอกาสในการเป็นมะเร็งได้นั่นเอง

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 31/05/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา