backup og meta

โรคมะเร็งรังไข่ อาการ สาเหตุ และการรักษาโรคที่ควรรู้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 20/04/2021

    โรคมะเร็งรังไข่ อาการ สาเหตุ และการรักษาโรคที่ควรรู้

    โรคมะเร็งรังไข่ เป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับสามในมะเร็งที่เกิดในหมู่ผู้หญิงไทย แต่เป็นมะเร็งที่รักษาให้หายได้ ถ้าพบแต่เนิ่น ๆ ด้วยการตรวจภายในทุกปี ทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำรายละเอียดเกี่ยวกับโรคนี้ที่คุณควรรู้ เพื่อการดูแลใส่ใจตัวเองมาฝากกัน

    มะเร็งรังไข่ คืออะไร?

    โรคมะเร็งรังไข่ (Ovarian Cancer) เกิดที่รังไข่ของผู้หญิง โดยส่วนใหญ่แล้ว มะเร็งรังไข่ ไม่ได้รับการวินิจฉัย จนกระทั่งเซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังเชิงกรานและช่องท้อง ซึ่งทำให้รักษาได้ยากและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

    ทราบได้อย่างไรว่าเป็น มะเร็งรังไข่

    มะเร็งรังไข่ในระยะเริ่มแรกมักไม่ค่อยทำให้เกิดอาการใด ๆ หากทำให้เกิดอาการ อาการดังกล่าวมักมีการเข้าใจผิดว่าเป็นสิ่งบ่งชี้ของภาวะที่ไม่เป็นอันตราย เช่น ท้องผูก อาการทั่วไปของ มะเร็งรังไข่ ได้แก่

    • ท้องอืด
    • มีอาการบวมในบริเวณช่องท้อง
    • รู้สึกอิ่มเร็วกว่าปกติ
    • น้ำหนักลด
    • รู้สึกไม่สบายบริเวณเชิงกราน
    • มีความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่าย
    • ปัสสาวะบ่อย

    หากคุณมีสิ่งบ่งชี้ใด ๆ ที่ทำให้คุณกังวล ให้ไปปรึกษาแพทย์ โดยเฉพาะหากคุณมีประวัติครอบครัวเป็น มะเร็งรังไข่ หรือมะเร็งเต้านม

    การวินิจฉัยมะเร็งรังไข่ทำได้อย่างไร

    คุณจะจำเป็นต้องได้รับการตรวจร่างกาย ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจบริเวณเชิงกราน นอกจากนี้ แพทย์ยังอาจจะให้มีการทดสอบโดยใช้ภาพถ่ายอวัยวะ การทดสอบเลือด และการตรวจตัวอย่างเนื้อเยื่อเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง

    การรักษามะเร็งรังไข่

    จากระยะของ มะเร็งรังไข่ ในช่วงเวลาที่ทำการวินิจฉัย ทางเลือกในการรักษาอาจมีความหลากหลาย

    มะเร็งรังไข่มี 4 ระยะ ดังนี้

    • ระยะที่ 1 : มะเร็งจำกัดอยู่ที่รังไข่ทั้ง 2 ข้าง
    • ระยะที่ 2 : เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น ๆ ในเชิงกราน
    • ระยะที่ 3 : เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังบริเวณช่องท้อง
    • ระยะที่ 4 : เซลล์มะเร็งแพร่กระจายภายนอกเชิงกรานและบริเวณช่องท้อง

    ทางเลือกในการรักษา ได้แก่ การผ่าตัดและเคมีบำบัด

  • การผ่าตัด เป็นการนำรังไข่ทั้งสองข้าง ท่อนำไข่ มดลูก และบริเวณโดยรอบที่มีเซลล์มะเร็งออกไป หากคุณได้รับการวินิจฉัยในระยะเริ่มแรก คุณอาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด นำเฉพาะรังไข่ที่ได้รับผลกระทบและท่อนำไข่ออกเท่านั้น คุณยังจะสามารถมีบุตรได้ในเวลาต่อมา
  • เคมีบำบัด เป็นสิ่งจำเป็นหลังการผ่าตัด เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งที่หลงเหลืออยู่ ยาเคมีบำบัดสามารถใช้ได้ทางหลอดเลือด หรือใช้ในช่องท้องโดยตรง หรือทั้ง 2 วิธี ผู้หญิงที่เป็น มะเร็งรังไข่ ในระยะรุนแรง อาจจำเป็นต้องได้รับเคมีบำบัดเป็นการรักษาเริ่มแรก
  • การรับมือกับ มะเร็งรังไข่

    การได้รับการวินิจฉัย มะเร็งรังไข่ อาจเป็นประสบการณ์ที่เลวร้ายมากที่สุดประการหนึ่งในชีวิตของคุณ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณที่จะหาคนที่คุณไว้ใจเพื่อปรึกษา หากคุณไม่สบายใจที่จะปรึกษาครอบครัวหรือเพื่อน ให้หากลุ่มช่วยเหลือที่คุณสามารถพบปะและปรึกษากับสมาชิกในกลุ่มที่เข้าใจว่าคุณต้องเผชิญกับสิ่งใดบ้าง การต่อสู้กับมะเร็งเป็นเรื่องลำบาก คุณจำเป็นต้องให้ผู้อื่นช่วยคุณในสิ่งที่พวกเข้าช่วยได้ ท้ายที่สุดแล้ว พยายามมุ่งเน้นอาหารที่ดีต่อสุขภาพและพักผ่อนให้ได้มากที่สุด เพื่อจัดการความเครียดและความอ่อนเพลียที่เกิดขึ้นพร้อมกับการรักษามะเร็ง

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 20/04/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา