backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

มะเร็งลิ้น (Tongue cancer)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 14/06/2021

มะเร็งลิ้น (Tongue cancer)

หากคุณลองสังเกตตนเองว่า เริ่มรู้สึกมีอาการเจ็บคอ เจ็บลิ้น พร้อมมีเลือดออกบนลิ้นร่วมที่ไม่สามารถอธิบายสาเหตุได้ โปรดสำรวจอาการตนเองเบื้องต้น และรีบเร่งทำการรักษา หรืออาจเข้ารับคำปรึกษาจากคุณหมอโดยด่วน เพราะคุณอาจกำลังมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค มะเร็งลิ้น (Tongue Cancer) ได้

คำจำกัดความ

มะเร็งลิ้น (Tongue cancer) คืออะไร

โรคมะเร็งลิ้น (Tongue Cancer) สามารถเรียกอีกชื่อได้ว่า “มะเร็งลิ้นในช่องปาก’ ซึ่งเป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดจากเซลล์ Squamous Cell Carcinoma (SCC) ที่มักปรากฏอยู่มากบนบริเวณลิ้น ที่สำคัญเซลล์มะเร็งชนิดนี้ยังอาจลุกลาม แพร่กระจายตัวก่อให้เกิดแผล หรือก้อนเนื้อเพิ่มเติมได้ทั่วทั้งศีรษะ ลำคอ ต่อมไทรอยด์ ระบบทางเดินหายใจ ลงไปยังสู่ปอดของคุณได้อีกด้วย

ทางการแพทย์ได้ทำการแบ่งประเภทของมะเร็งออกเป็น 3 แบบ เพื่อเป็นการวัดระยะในการประเมินการรักษาได้อย่างสะดวก ดังนี้

  • ประเภท T เป็นประเภทที่บ่งบอกถึงขนาดของเนื้องอกซึ่งมีทั้งหมด 4 ระดับ ด้วยกัน เช่น T1 คือ เนื้องอกขนาดเล็ก T4 คือ ขนาดของเนื้องอกที่ใหญ่ที่สุด
  • ประเภท N เป็นประเภทที่บ่งบอกถึงการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือที่คอ โดยมีทั้งหมด 3 ระดับ เช่น N0 คือยังไม่พบการแพร่เชื้อไปยังต่อมน้ำเหลือง N3 คือพบเซลล์มะเร็งที่แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองในจำนวนมาก
  • ประเภท M เป็นประเภทที่บ่งบอกถึงว่าเซลล์มะเร็งนี้แร่กระจายไปยังบริเวณอื่นทั่วทั้งร่างกายแล้วหรือไม่
  • มะเร็งลิ้น สามารถพบบ่อยได้เพียงใด

    โรคมะเร็งลิ้น ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยากกว่ามะเร็งชนิดอื่น ๆ แต่คนส่วนใหญ่ที่มักจะประสบนั้น มักอยู่ช่วงวัยผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุในเพศชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มากกว่าช่วงวัยเด็ก

    อาการ

    อาการของ โรคมะเร็งลิ้น

    ในระยะแรกของ โรคมะเร็งลิ้น อาจทำให้คุณรู้สึกเหมือนมีก้อนเนื้อ และรู้สึกเจ็บเล็กน้อยอยู่บริเวณโคนลิ้น จากนั้น ก้อนมะเร็งหรือเซลล์มะเร็ง อาจลุกลามส่งผลให้คุณเกิดอาการเหล่านี้ขึ้น ในระยะเวลาถัดมา

    • มีแผลปรากฏอยู่บนลิ้น
    • รู้สึกเจ็บปวดเมื่อกลืน หรือเคี้ยวอาหาร
    • อาการเจ็บคอ หรือรู้สึกมีอะไรบางอย่างติดภายในลำคอ
    • รู้สึกในช่องปากเริ่มชา
    • มีเลือดออกบนบนลิ้นของคุณโดยไม่ทราบสาเหตุ
    • ลิ้นและกรามรู้สึกแข็งตัว

    หากอาการเหล่านี้หายไปในระยะเวลาไม่นาน คุณอาจรอดพ้นจากการเป็น โรคมะเร็งลิ้น ได้ แต่หากมีอาการที่ยาวนานกว่า 2-3 สัปดาห์ โปรดรีบเข้ารับการรักษา และการตรวจสอบอย่างละเอียดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยด่วน ก่อนเซลล์มะเร็งจะลุกลามไปทำลายอวัยวะทั่วทั้งร่างกาย

    สาเหตุ

    สาเหตุของการเกิด โรคมะเร็งลิ้น

    โรคมะเร็งลิ้น อาจมีเหตุที่แตกต่างกันออก ตามแต่ปัญหา และพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคล แต่อาจเป็นไปได้ว่ามะเร็งลิ้นอาจมาจากเชื้อเอชพีวี (Human Papillomavirus หรือ HPV) ซึ่งเป็นเชื้อที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคมะเร็ง ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งปากมดลูก มะเร็งทวารหนัก เป็นต้น หรืออาจมีการได้รับเชื้อทางพันธุกรรมต่อกันมาตามประวัติทางสุขภาพของบุคคลในครอบครัวคุณ

    ปัจจัยเสี่ยง

    ปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งลิ้น

    ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการพัฒนาของก้อนเนื้อมะเร็งที่ลุกลาม อาจมาจากพฤติกรรมบางอย่างของคุณที่ไม่ทันระมัดระวังร่วมด้วย ดังนี้

    โดยเฉพาะผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่อย่างเป็นประจำนั้น ยิ่งมีความเสี่ยงที่ โรคมะเร็งลิ้น อาจถามหาคุณได้มากกว่าบุคคลอื่น ๆ ถึง 15 เท่าเลยทีเดียว

    การวินิจฉัยและการรักษา

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัย โรคมะเร็งลิ้น

    แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจมีการซักถามปัญหาทางสุขภาพอย่างละเอียดก่อนเสมอ ดังนั้น คุณจึงจำเป็นที่ต้องให้ความร่วมมือกับทางแพทย์ในการตอบคำถามอย่างไม่มีการปิดบังข้อมูลใด ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการรักษา โรคมะเร็งลิ้น ในช่องปากคุณ

    เมื่อแพทย์ทำการระบุข้อมูลประวัติทางสุขภาพของคุณเรียบร้อยแล้ว อาจมีการตรวจชิ้นเนื้อด้วยการเอกซเรย์ หรือการทำซีทีสแกน (Computerized Tomography Scan หรือ CTS) ให้ทั่วทุกมุมในช่องปาก และลำคอคุณ พร้อมทั้งตรวจต่อมน้ำเหลืองเพิ่มเติมว่ามีการพบเซลล์มะเร็งหรือไม่ร่วมด้วย

    การรักษา โรคมะเร็งลิ้น

    เมื่อแพทย์ทำการวินิจฉัยเบื้องต้นแล้วว่า ค้นพบเซลล์มะเร็งในช่องปากคุณ ขั้นตอนต่อไปแพทย์จะเริ่มทำการรักษา โดยการรักษานี้ขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนเนื้อ และอาการข้างเคียงของแต่ละบุคคล บางกรณีสำหรับผู้ที่มีเนื้องอกออกมาเด่นชัดก็อาจใช้การผ่าตัดเพื่อกำจัดเนื้องอก

    แต่สำหรับผู้ที่มีเนื้องอกอยู่บริเวณด้านหลังของลิ้นที่อาจทำให้มองเห็นได้ยาก แพทย์อาจปรับเปลี่ยนมาใช้การฉายรังสี ร่วมกับการใช้ยาเคมีบำบัด เพื่อก่อให้เกิดผลลัพธ์ในการเคลื่อนไหวของลิ้น และเพิ่มความสะดวกในการกลืนอาหารได้มากขึ้น

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

    การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองเพื่อป้องกันและรักษาโรคมะเร็งลิ้น

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองดังต่อไปนี้ จะช่วยให้คุณรับมือกับ โรคมะเร็งลิ้น ได้

    ถึงแม้จะเป็นโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ยากในบางบุคคล แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า โรคมะเร็งลิ้น นี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ดังนั้น คุณจึงควรเรียนรู้ และตระหนักในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตไว้ เพื่อเพิ่มการป้องกันที่ดีที่ก่อนการเกิด โรคมะเร็งลิ้น ดังนี้

    • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
    • ลดหรืองดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
    • รับประทานผัก ผลไม้สด ที่ปลอดสารเคมี และงดอาหารที่ผ่านการแปรรูป
    • แปรงฟันเป็นประจำทุกวันหลังรับประทานอาหาร พร้อมกับนำไหมขัดซอกฟันมาขัดอย่างเป็นประจำ เพื่อกำจัดเศษอาหารติดค้างออก
    • หมั่นพบทันตแพทย์เป็นประจำ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 14/06/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา