backup og meta

หน้าอกไม่เท่ากัน ทำให้สาว ๆ เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 26/09/2023

    หน้าอกไม่เท่ากัน ทำให้สาว ๆ เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่

    หน้าอกไม่เท่ากัน ของบรรดาสาว ๆ ที่บางคนมีลักษณะเต้านมข้างซ้ายเล็กกว่าข้างขวาบ้าง หรือบางคนก็มีขนาดเต้านมข้างขวาที่เล็กกว่าข้างซ้ายบ้าง ซึ่งเป็นอาการที่คล้ายกับการเข้าสู่ โรคมะเร็งเต้านม ทำให้กลาย ๆ คนเกิดความกังวล กลัวว่าปัญหาเต้านมสองข้างไม่เท่ากัน จะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็น โรคมะเร็งเต้านม แต่อย่าเพิ่งตกใจไป วันนี้ Hello คุณหมอ นำความรู้ และวิธีการสังเกตอย่างง่ายมาฝากผู้หญิงกันค่ะ

    หน้าอกไม่เท่ากัน เกิดจากอะไรได้บ้างนะ

    ภาวะหน้าอกไม่เท่ากัน (Breast Asymmetry) หรือความไม่สมดุลกันของเต้านม ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดามากสำหรับผู้หญิง ผู้หญิงส่วนใหญ่ มีโอกาสที่จะมีเต้านมไม่เท่ากันแทบจะทุกคน โดยเริ่มต้น เมื่อถึงวัยเจริญพันธ์ุ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทำให้สูญเสียก้อนไขมัน และเนื้อเยื่อบริเวณข้างใดข้างหนึ่งได้รับความเสียหายจนทำให้ขนาดหน้าอกเปลี่ยนไป พร้อมทั้งปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เต้านมมีขนาดที่ไม่เท่ากัน ดังนี้

  • สตรีที่อยู่ในช่วงการตั้งครรภ์หรือระหว่างให้นมบุตร
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาคุมกำเนิด
  • ผู้หญิงที่เข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือน
  • ผู้ที่ป่วยเป็นโรคโปแลนด์ซินโดรม (Poland Syndrome)
  • สังเกตอย่างไรว่าคุณ กำลังเป็น หรือ ไม่เป็น โรคมะเร็งเต้านม

    อาการเบื้องต้นเมื่อพบสัญญาณเกี่ยวกับ โรคมะเร็งเต้านม มีดังนี้

    • มีของเหลวไหลออกจากเต้านม
    • ผิวบริเวณรอบๆ หน้าอกเป็นสะเก็ด หรือผื่นแดง ๆ
    • อาการคันเต้านม
    • ขนาดเต้านมเปลี่ยนแปลง
    • มีก้อนแข็งๆ เป็นไต และหนา อยู่ใต้แขน หรือรอบเต้านม เมื่อลองกดสัมผัสจะรู้สึกปวด
    • หัวนมบุ๋มลง

    หากคุณยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการของ โรคมะเร็งเต้านม นี้ คุณสามารถเข้ารับการตรวจอย่างถูกต้องตามขั้นตอน โดยแพทย์เฉพาะทางอาจทำการตรวจสอบและวินิจฉัยโรคด้วยวิธีการเหล่านี้

    • อัลตราซาวด์เต้านม จากภาพรังสีแมมโมแกรม (Mammogram) ที่ฉายให้เห็นโครงสร้างภายในเนื้อเต้านมของเราได้ชัดเจนขึ้น
    • การถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (Magnetic resonance imaging ; MRI) เป็นการตรวจสอบ โรคมะเร็งเต้านม รวมถึงความผิดปกติอื่น ๆ ที่อาจแทรกซ้อนอยู่ได้
    • การตรวจชิ้นเนื้อ เป็นการนำชื้นเนื้อส่วนของเนื้อเยื่อเต้านม มาตรวจสอบว่าคุณกำลังเข้าข่าย โรคมะเร็งเต้านม หรือไม่

    เมื่อทำการเช็ก และสังเกตหน้าอกของตนเองแล้วไม่มีความผิดปกติใดๆ ที่กล่าวมาข้างต้น สาว ๆ คลายความกังวลลงไปได้เลย เพราะอาจเป็นเพียงแค่ฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป แต่ขนาดหน้าอกที่ไม่เท่ากันนี้ ยังคงมีขนาดที่มีความใกล้เคียงไม่แตกต่างกันมากนัก จึงไม่ได้เป็นที่สะดุดตาใคร ๆ เมื่อคุณต้องออกไปนอกบ้าน

    ดูแลรักษาหน้าอก และวิธีป้องกันก่อนเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม

  • งดแอลกอฮอล์ หรือจำกัดปริมาณการดื่มอย่างเคร่งครัด
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • รักษาร่างกายให้แข็งแรง และควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์
  • เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ธัญพืช ถั่ว ไขมันที่ดี น้ำมันมะกอก ผักผลไม้สด
  • สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านมแล้วนั้น แพทย์อาจใช้การรักษาเป็นเคมีบำบัดเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง หรือการบำบัดด้วยฮอร์โมนเพื่อหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม รวมถึงการผ่าตัดด้วยการฉายรังสี วิธีการดังกล่าวนี้ขึ้นอยู่กับระยะ และอาการของผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมในแต่ละราย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 26/09/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา