backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

มะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมา (Rhabdomyosarcoma) มะเร็งชนิดหายาก


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 22/07/2021

มะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมา (Rhabdomyosarcoma) มะเร็งชนิดหายาก

มะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมา (Rhabdomyosarcoma) เป็นมะเร็งชนิดหายากซึ่งก่อตัวในเนื้อเยื่ออ่อน โดยเฉพาะเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อลาย และยังสามารถพบได้ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น กระเพาะปัสสาวะ มดลูก แขนและขา บริเวณศีรษะและคอ

คำจำกัดความ

มะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมา (Rhabdomyosarcoma) คืออะไร

มะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมา (Rhabdomyosarcoma) เป็นมะเร็งชนิดหายากซึ่งก่อตัวในเนื้อเยื่ออ่อน โดยเฉพาะเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อลาย และยังสามารถพบได้ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น กระเพาะปัสสาวะ มดลูก แขนและขา บริเวณศีรษะและคอ

อย่างไรก็ตามมะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมา ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ ตาบวม มีเลือดออกในจมูกและหู รวมไปถึงแขนและขาบวม

พบได้บ่อยเพียงใด

มะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมาสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัยและทุกช่วงอายุ โดยส่วนใหญ่มักพบในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี

อาการ

อาการของมะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมา

สัญญาณและอาการของมะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมาขึ้นอยู่กับตำแหน่งของมะเร็ง โดยมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  • บริเวณศีรษะและลำคอ ปวดศีรษะ ตาโปนหรือบวม เลือดออกในจมูกและหู
  • ระบบทางเดินปัสสาวะหรือระบบสืบพันธุ์ ปัสสาวะลำบาก มีเลือดปนในปัสสาวะ มีเลือดออกทางช่องคลอด
  • แขนและขา มีอาการบวม
  • ควรไปพบหมอเมื่อใด

    หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม สามารถปรึกษาแพทย์ เนื่องจากร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

    สาเหตุ

    สาเหตุของมะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมา

    ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดมะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมา โดยมีข้อสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากความผิดปกติของดีเอ็นเอ เซลล์ที่ผิดปกติสามารถแตกออกและแพร่กายจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ เกิดเป็นก้อนเนื้อไปทับเนื้อเยื่อของร่างกาย (เนื้องอกกดทับอวัยวะร่างกาย)

    ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมา

    สมาชิกในครอบครัวเคยเป็นมะเร็ง หากสมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคมะเร็ง อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าว

    กลุ่มอาการทางพันธุกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง หากพ่อมีอาการทางพันธุกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งอาจเพิ่มความเสี่ยงให้กับลูกได้ เช่น นิวโรไฟโบรมาโตซิส ชนิดที่ 1 (Neurofibromatosis Type 1) กลุ่มอาการนูแนน (Noonan syndrome) กลุ่มอาการเบ็ควิท-ไวเดอมานน์ (Beckwith–Wiedemann syndrome : BWS)

    การวินิจฉัยและการรักษา

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยมะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมา

    ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย โดยมีวิธีการวินิจฉัยที่แตกต่างกันออกไปเพื่อหาตำแหน่งความผิดปกติของโรค ดังนี้

    • การตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasound) เพื่อตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย
    • การตรวจโดยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computerized Tomography Scan : CT SCAN)  เพื่อตรวจหาความผิดปกติ ดูความหนาแน่นของเนื้อเยื่อ
    • การตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging : MRI) ตรวจดูตำแหน่งความผิดปกติ ว่าเนื้องอกอยู่ในตำแหน่งไหนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

    การรักษามะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมา

    โดยส่วนใหญ่วิธีการรักษาโรคมะเร็งจะแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

    • การผ่าตัด หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง แพทย์จะทำการผ่าตัดเนื้องอกออก หลังจากรักษาด้วยการใช้เคมีบำบัด
    • ยาเคมีบำบัด เช่น วินคริสติน (Vincristine) ไซโคลฟอสฟาไมด์ (Cyclophosphamide) แดคติโนมัยซิน (Dactinomycin) ไอฟอสฟามายด์ (Ifosfamide)
    • การฉายรังสี ฆ่าเซลล์มะเร็งลดอัตราการกลับไปเป็นซ้ำของโรคอีกครั้ง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษามะเร็งแรบโดมัยโอซาร์โคมา

    ในปัจจุบันไม่มีการระบุสาเหตุของโรคที่แน่ชัด วิธีการป้องกันและดูแลตนเองก็คือ แนะนำให้รักษาสุขอนามัย และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสุขภาพของร่างกายที่ดี

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 22/07/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา