backup og meta

เนื้องอกในตา ลุกลามเป็นมะเร็งได้หรือไม่

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 31/05/2021

    เนื้องอกในตา ลุกลามเป็นมะเร็งได้หรือไม่

    เนื้องอกในตา ก้อนเนื้อที่เกิดขึ้นในตาหรือบริเวณตาสามารถลุกลามไปเป็นมะเร็งได้หรือไม่ วันนี้ Hello คุณหมอ มีความรู้ดี ๆ มาบอกต่อเพื่อให้คุณได้รู้ทันโรคและพร้อมรับมือโรคได้อย่าถูกต้อง

    เนื้องอกในตา (Eye Tumors) คืออะไร

    เนื้องอกในตา (Eye Tumors) เป็นกลุ่มเซลล์ที่เติบโตขึ้นอย่างผิดปกติจนอาจกลายเป็นมะเร็ง เนื้องอกที่พบบ่อยที่สุดคือเนื้องอกที่มีการแพร่กระจายมาจากส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เนื้องอกในตา หรือเรียกอีกอย่างว่า Melanoma เป็นมะเร็งที่พัฒนาจากเซลล์สร้างสร้างเม็ดสี และแน่นอนดวงตาก็มีเซลล์สร้างเม็ดสีและสามารถพัฒนาเกลายเป็นเนื้องอกในตาได้

    อาการที่บ่งบอกว่าคุณอาจมีเนื้องอกในตา

    อาจไม่แสดงอาการกับร่างกายให้เห็นได้อย่างชัดเจน แต่สามารถสังเกตุได้จากการมองเห็นของดวงตา  ได้แก่

  • ความรู้สึกมองเห็นแสงวาบหรือมองเห็นเป็นจุดฝุ่น
  • มองเห็นเป็นจุดมืดเพิ่มขึ้นบนม่านตา
  • การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของรูม่านตา
  • ดวงตาพร่ามัว
  • สูญเสียการมองเห็น
  • สาเหตุที่ไม่ควรมองข้าม

    เนื้องอกอาจกลายเป็นมะเร็งได้เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ DNA มีการเติบโตอย่างผิดปกติและอาจกลายไปเป็นมะเร็งได้ หรืออาจมีปัจจัยมาจากการกลายพันธุ์ของยีนที่สืบทอดมาทางพันธุกรรมอีกด้วย

    ปัจจัยเสี่ยงที่คุณควรรู้

    • สีของตา ผู้ที่มีสีของตาอ่อน เช่น สีฟ้า สีเขียว อาจมีแนวโน้มในการเกิดเนื้องอกในตามากกว่าผู้มีตาสีเข้ม
    • สีผิว คนที่มีผิวขาวมีความเสี่ยงในการเกิดเนื้องอกมากขึ้น
    • อายุ ยิ่งอายุมากยิ่งทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น
    • ความผิดปกติของผิวหนังที่อาจถ่ายทอดทางพันธุกรรม
    • การสัมผัสกับแสงอัลตราไวโอเลต (UV)

    การวินิจฉัยโดยแพทย์

    เมื่อเข้ารับการรักษาแพทย์ของคุณอาจใช้การวินิจฉัย ดังนี้

    การตรวจตา แพทย์อาจตรวจดูภายในและภายนอกดวงตาเพื่อตรวจสอบหาสิ่งผิดปกติ

    อัลตราซาวด์ตา เป็นการสร้างภาพดวงตาโดยใช้เครื่องแปลงสัญญาณวางบนเปลือกตาที่ปิดหรือใกล้พื้นผิวด้านหน้าของดวงตา

    การถ่ายภาพหลอดเลือดด้านในและรอบๆ เนื้องอกในตา (Angiogram) เป็นการฉีดสีย้อมเรืองแสง (Fluorescein) เข้าสู่เส้นเลือดทำให้แพทย์สามารถถ่ายภาพได้

    การตรวจชิ้นเนื้อที่น่าสงสัย เป็นการนำเข็มบาง ๆ สอดเข้าไปในดวงตาเพื่อนำชิ้นเนื้อที่ผิดปกติออกมาตรวจสอบ

    วิธีรักษาที่นิยมใช้

    วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับตำแหน่งและขนาดของเนื้องอก รวมไปถึงสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย ดังนี้

    ขนาดของเนื้องอก หากเนื้องอกในตาหรือบริเวณดวงตายังมีขนาดเล็ก  แพทย์อาจยังไม่ทำการรักษาทันทีแต่เฝ้าดูอาการเป็นระยะ

    การรักษาด้วยรังสี ใช้รังสีที่มีพลังงานสูง เช่น โปรตอนหรือแกรมมาเพื่อฆ่าเชื้อมะเร็งโดยทั่วไปใช้สำหรับเนื้องอกที่มีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง

    การรักษาด้วยเลเซอร์ ใช้เลเซอร์เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งผิวหนังด้วยความร้อน

    การบำบัดด้วยแสง เป็นการฉายแสงไปที่เซลล์เนื้องอก ใช้สำหรับเนื้องอกขนาดเล็ก

    ศัลยกรรม เป็นการผ่าตัดเอาส่วนหนึ่งของดวงตาออกหรือเอาตาทั้งหมดออก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของเนื้องอก

    เนื้องอกอาจลุกลามเป็นมะเร็งได้หากมีอาการหรือมีเนื้องอกที่ผิดปกติเกิดขึ้นบริเวณตาควรเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 31/05/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา