backup og meta

โรคมะเร็งเน็ต อย่าประมาท ถึงพบน้อยแต่ก็คร่าชีวิตได้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 22/06/2021

    โรคมะเร็งเน็ต อย่าประมาท ถึงพบน้อยแต่ก็คร่าชีวิตได้

    โรคมะเร็งถือเป็นภัยอันตรายร้ายชนิดหนึ่งที่สามารถคร่าชีวิตผู้คนได้อย่างไม่ทันตั้งตัวและเตรียมใจ เพราะบางครั้งโรคมะเร็งอาจจะไม่ได้แสดงอาการใด ๆ ออกมาให้เห็น จนกว่าเซลล์ที่ผิดปกติจะแพร่กระจายไปทั่วร่างกายแล้ว เป็นสาเหตุทำให้การรักษาเป็นไปได้ยาก รวมถึงทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายไปกับการรักษามากมาย สำหรับโรคมะเร็งเน็ตนั้นแม้จะพบได้ยาก แต่ก็มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้อย่างไม่คาดคิด ดังนั้น วันนี้ Hello คุณหมอจะพาทุกคนมาทำความเข้าใจกับ โรคมะเร็งเน็ต กัน

    สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ โรคมะเร็งเน็ต

    โรคมะเร็งเน็ต (Neuroendocrine Tumor หรือ NET) คือ โรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดจากกลุ่มเซลล์มะเร็ง ที่เรียกว่า “นิวโรเอนโดครีน (Neuroendocrine)” เซลล์ประสาทผสมกับต่อมไร้ท่อ ซึ่งเป็นเซลล์ที่ออกมากับสารคัดหลั่งต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะพบเซลล์มะเร็งเน็ตในระบบทางเดินอาหาร ตับอ่อน และปอด มีทั้งลักษณะแสดงอาการและไม่แสดงอาการ

    ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System) คือ ระบบภายในที่มีหน้าที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และควบคุมกระบวนการต่าง ๆ ที่สำคัญภายในเซลล์ ซึ่งเป็นระบบที่ทำงานสอดประสานร่วมกับระบบประสาท (Nervous System) ในด้านต่าง ๆ เช่น การควบคุมปฏิกิริยาเคมี หรือการขนส่งสารเข้า-ออกภายในเซลล์

    ต่อมไร้ท่อ (Endocrine Gland) คือ กลุ่มเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่สร้างและผลิตสารเคมีพิเศษที่เรียกว่า “ฮอร์โมน (Hormone)” ให้กับร่างกาย ต่อมไร้ท่อเป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยเส้นเลือดจำนวนมาก ทำหน้าที่ลำเลียงสารที่ต่อมไร้ท่อผลิตไปยังอวัยวะต่าง ๆ ผ่านการไหลเวียนของเลือด หรือน้ำเหลือง ฮอร์โมนแต่ละชนิดจะทำหน้าที่เฉพาะเจาะจงต่ออวัยวะ ซึ่งมีเป้าหมายที่แตกต่างกันออกไป

    โรคมะเร็งเน็ต มีกี่ชนิด

    • คาร์ซินอยด์ (Carcinoid) เนื้องอกนี้หลั่งระดับเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารเคมีแห่งความสุขออกมาผิดปกติ เซโรโทนินเป็นฮอร์โมนช่วยควบคุมอารมณ์ ซึ่งสามารถทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า “กลุ่มอาการคาร์ซินอยด์”
    • แกสตริโนมา (Gastrinoma) เนื้องอกเหล่านี้ก่อตัวในเซลล์ที่ผลิตฮอร์โมน กรดอะมิโนหลาย ๆ โมเลกุลมาเชื่อมต่อกัน เป็นฮอร์โมนที่ช่วยย่อยอาหาร มีกรดในกระเพาะมากเกินไป ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และท้องร่วง
    • เนื้องอกตับอ่อนที่ผลิตอินสุลิน (Insulinoma) มักเกิดขึ้นในเนื้อตับอ่อน ผลิตอินซูลินเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้อินซูลินสูง และมีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ โดยอาการเหล่านี้จะหายไปเมื่อได้รับน้ำตาลไม่ว่าจะเป็นการฉีด หรือรับประทาน
    • กลูคาโกโนมา (Glucagonoma) เนื้องอกที่สร้างกลูคากอนในปริมาณมาก เป็นฮอร์โมนที่เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด
    • เปปไทด์ลำไส้ส่วนเกิน Vasoactive (VIPomas) ทำให้มีอาการถ่ายเป็นน้ำ และอาการสูญเสียน้ำจากทางเดินอาหาร
    • โซมาโทสตาติโนมา (Somatostatinomas) เนื้องอกของเดลต้าเซลล์ที่ผลิตฮอร์โมนโซมาโตสแททิน (Somatostatin หรือ SS) เพิ่มระดับของการยับยั้งฮอร์โมนโซมาโตสแททิน ฮอร์โมนตับอ่อน และฮอร์โมนทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ยับยั้งการหลั่งของฮอร์โมนอื่น ๆ

    วิธีการรักษาโรคมะเร็งเน็ต

    • ศัลยกรรม เป็นหนึ่งในวิธีรักษาที่พบบ่อยที่สุดสำหรับ มะเร็งเน็ต วิธีนี้สามารถกำจัดเนื้องอกบางชนิดได้อย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะเนื้องอกที่ยังไม่ใช่มะเร็ง และยังไม่แพร่กระจาย
    • ฮอร์โมนบำบัด คือ การรักษาทั่วไปสำหรับ มะเร็งเน็ต ด้วยการใช้ฮอร์โมนโซมาโตสแททิน (Somatostatin หรือ SS) ยาเหล่านี้ป้องกันไม่ให้เนื้องอกสร้างฮอร์โมนที่อาจทำให้เกิดอาการท้องร่วง และอาการของโรคคาร์ซินอยด์อื่น ๆ
    • รังสี ใช้รังสีเอกซ์เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง การรักษานี้อาจถูกนำมาใช้หากเนื้องอกมีการลุกลาม หรืออยู่ในที่ที่แพทย์ไม่สามารถทำการผ่าตัดได้
    • เคมีบำบัด ใช้ยาเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง หรือหยุดไม่ให้แพร่กระจาย มีทั้งวิธีรับประทานและฉีดเข้าไปในเส้นเลือด ซึ่งอาจมีผลข้างเคียง เช่น เหนื่อยล้า คลื่นไส้ อาเจียน

    นอกจากการปฏิบัติตามการรักษาแล้ว คุณยังสามารถลองทำสิ่งอื่นเพื่อบรรเทาอาการได้ เช่น การพูดคุย หรือหาสิ่งแปลกใหม่ที่คุณยังไม่เคยได้สัมผัส รวมไปถึงการออกกำลังกายแบบเบา ๆ เช่น โยคะ รวมไปถึงการรับประทานอาหารที่ดี เพื่อสุขภาพที่ดี

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 22/06/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา