โรคมะเร็ง

โรคมะเร็งและเนื้องอก สาเหตุอันดับ 1 ของการเสียชีวิตของคนไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โรคมะเร็ง สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ แตกต่างกันออกไป ดังนั้น เราจึงควรศึกษาเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ โรคมะเร็ง กันให้มากขึ้น เรียนรู้เกี่ยวกับ โรคมะเร็ง ไม่ว่าเป็นสาเหตุ ความเสี่ยง การวินิจฉัย การรักษาโรค และการป้องกันโรคมะเร็ง ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคมะเร็ง

ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) ทางเลือกใหม่รักษามะเร็ง

Immunotherapy คือ อะไร ? ภูมิคุ้มกันบำบัด หรือ Immunotherapy คือ หนึ่งในวิธีการรักษา มะเร็ง โดยใช้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเพื่อต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง โดยปกติเซลล์มะเร็งจะมีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถขัดขวางการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้เซลล์มะเร็งไม่ถูกทำลาย สามารถเติบโตและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ยาภูมิคุ้มกันบำบัด จะออกฤทธิ์กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ให้สามารถตรวจจับและทำลายเซลล์มะเร็งที่เป็นสิ่งแปลกปลอมได้โดยตรง ทำให้สามารถควบคุมเซลล์มะเร็งในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ก้อนมะเร็งยุบลง คนไข้มีระยะเวลาปลอดโรคที่ยาวนานมากขึ้น รวมถึงมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น สนใจ "ยาภูมิคุ้มกันบำบัด" อ่านเพิ่มเติมได้ คลิก! การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ปกติแล้วระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสามารถแยกแยะและจดจำได้ว่าเซลล์ใดเป็นเซลล์ปกติ เมื่อตรวจพบเซลล์แปลกปลอมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย ระบบภูมิคุ้มกันจะเข้ากำจัดสิ่งแปลกปลอมนั้น หลังจากนั้นระบบภูมิคุ้มจะสามารถจดจําสิ่งแปลกปลอมได้เพื่อให้ร่างกายสามารถกำจัดในครั้งหน้าได้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เซลล์มะเร็งสามารถหลบซ่อนจากการตรวจพบของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ หรือบางครั้งระบบภูมิคุ้มกันอาจไม่แข็งแกร่งพอที่จะกำจัดเซลล์มะเร็งนั้นๆ ยาภูมิคุ้มกันบำบัดที่ปัจจุบันนิยมนำมาใช้ในการรักษามะเร็งคือ ยากลุ่มยับยั้งการทำงานที่อิมมูนเช็คพอยต์ (Immune checkpoint inhibitors) มีคุณสมบัติเป็นโมโนโคลนอลแอนติบอดี (monoclonal antibodies) โดยปกติระบบภูมิคุ้มกันจะมีเช็คพอยต์เป็นกลไกการควบคุมให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายหยุดทำลายสิ่งแปลกปลอม หรือหยุดการทำลายเซลล์ของร่างกาย เพื่อรักษาความสมดุลของการทำลายเซลล์แปลกปลอม และป้องกันการทำลายเซลล์ปกติของร่างกาย  เช็คพอยต์ตัวสำคัญของระบบภูมิคุ้มกันที่อยู่บนผิวเซลล์เม็ดเลือดขาว คือ PD-1 และบนเซลล์มะเร็งมีเช็คพอยต์ คือ PD-L1 เมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวจับกับเซลล์มะเร็งที่จุดเช็คพอยต์นี้ จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกปิดสวิตช์ไม่ทำงาน เซลล์เม็ดเลือดขาวมองไม่เห็นเซลล์มะเร็งและไม่สามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้     ยาภูมิคุ้มกันบำบัด ใช้ในการรักษามะเร็งชนิดใด? ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยพัฒนาต่อเนื่องในเรื่องของยาที่ออกฤทธิ์เพิ่มการทำงานของภูมิคุ้มกันร่างกาย โดยพบว่า ยาหลายชนิดมีประสิทธิภาพดีในการรักษาโรคมะเร็งและมีความปลอดภัย จึงได้รับการอนุญาตให้ใช้เป็น ยารักษามะเร็ง […]

สำรวจ โรคมะเร็ง

โรคมะเร็ง

CEA คือ อะไร มีความสำคัญและเกี่ยวข้องอย่างไรกับโรคมะเร็ง

CEA คือ โปรตีนชนิดหนึ่งชื่อว่า Carcinoembryonic Antigen ซึ่งพบได้ในร่างกายมนุษย์ และเป็นตัวบ่งชี้อย่างหนึ่งของโรคมะเร็ง โดยคุณหมอมักตรวจค่า CEA จากเลือดหรือของเหลวในตัวผู้ป่วยมะเร็ง ทั้งก่อนและหลังการรักษา เพื่อเปรียบเทียบระดับ CEA และประเมินจากค่า CEA ว่าวิธีรักษาได้ผลหรือไม่ [embed-health-tool-heart-rate] CEA คืออะไร ค่า CEA คือ โปรตีน Carcinoembryonic Antigen ซึ่งพบได้ในร่างกายมนุษย์ โดยปกติจะผลิตขึ้นระหว่างที่กำลังเป็นทารกจากเนื้อเยื่อในระบบทางเดินอาหาร และตรวจพบค่า CEA ในระดับสูงขณะทารกอยู่ในครรภ์มารดา อย่างไรก็ตาม เมื่อคลอดออกมา ร่างกายของมนุษย์จะหยุดผลิตโปรตีน CEA ทำให้ค่า CEA ที่ตรวจเจอมักอยู่ในระดับต่ำ หรือระหว่าง 0-2.5 นาโนกรัมต่อเลือด 1 มิลลิลิตร ทั้งนี้ หากตรวจพบค่า CEA สูงกว่าระดับดังกล่าว อาจหมายความว่าบุคคลนั้นมีโอกาสที่จะป่วยด้วยโรคมะเร็งต่าง ๆ อยู่ อาทิ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งรังไข่ การตรวจระดับ CEA ระดับ CEA ตรวจได้จากตัวอย่างของเหลวในร่างกาย ส่วนใหญ่มักตรวจจากเลือด […]


มะเร็งต่อมลูกหมาก

ค่า psa คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับมะเร็งต่อมลูกหมาก

ค่า psa คือ ระดับโปรตีน psa (Prostate-Specific Antigen) ในเลือด ซึ่งเป็นโปรตีนที่ผลิตจากต่อมลูกหมาก และเป็นหนึ่งในตัวบ่งชี้ภาวะของผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยหากค่า psa อยู่ในระดับสูงมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากสูงตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม หากตรวจพบค่า psa สูงจะต้องได้รับการตรวจด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติมเพื่อยืนยันว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก [embed-health-tool-bmr] psa คืออะไร psa คือ โปรตีนชนิดหนึ่งซึ่งผลิตจากต่อมลูกหมากและเป็นส่วนหนึ่งของน้ำอสุจิ ช่วยให้น้ำอสุจิมีความเหลว และช่วยให้ตัวอสุจิเคลื่อนไหวในน้ำอสุจิได้สะดวกขึ้น ทั้งนี้ โปรตีน psa ยังพบได้ในเลือดของมนุษย์ ในปริมาณราว ๆ 2.5-10 นาโนกรัมต่อเลือด 1 มิลลิลิตร โดยหากเจาะเลือดแล้วพบค่า psa ในระดับสูง อาจหมายถึงบุคคลนั้นกำลังป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก หรือโรคต่อมลูกหมากโต แต่เพื่อยืนยันว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่ จำเป็นต้องตรวจด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติม เช่น การทำ MRI การตัดชิ้นเนื้อบางส่วนไปตรวจ การอัลตราซาวด์ต่อมลูกหมากผ่านทางช่องทวารหนัก การตรวจค่า psa ค่า psa คือ ตัวบ่งชี้อย่างหนึ่งของมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแรกเริ่ม แต่แม้ว่าจะมีค่า psa ต่ำก็ยังอาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้อยู่ ในการตรวจค่า psa คุณหมอจะเจาะเลือดที่แขนคนไข้ แล้วนำไปตรวจในห้องทดลอง โดยผลตรวจมีความหมาย ดังนี้ […]


โรคมะเร็ง

เรื่องเล่าจากเพจ “แม่นุ่น” และการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง

ในห้องฉุกเฉิน ของวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2560 คุณวิทวัส โลหะมาศ นั่งจ้องมอนิเตอร์เครื่องวัดสัญญาณชีพ ตัวเลขบนหน้าจอค่อย ๆ ลดลงอย่างช้า ๆ ปิ๊บ....ปิ๊บ....ปิ๊บ.... และในที่สุด สัญญาณชีพของภรรยาสุดที่รักของเขา ก็ได้หยุดลงในเวลา 16.38 น. ณ เวลานั้น “แม่นุ่น” ภรรยาของเขาอยู่ในอ้อมกอดของบุคคลอันเป็นที่รัก พ่อแม่ และลูกทั้ง 2 คนของเขา “ผมรู้สึกว่า ผมทำหน้าที่ในระยะเวลาเกือบ 5 ปี สมบูรณ์แล้ว” คุณวิทวัสกล่าว “ผมก็ดีใจกับเขาที่เขาไม่ต้องมาทนกับการรักษาอะไรต่าง ๆ อีก และดีใจกับตัวเองว่า เราไม่เคยคิดว่าเราจะทำอะไรแบบนี้ได้ มันอาจจะไม่จบแบบ happy ending แต่ก็จบแบบชีวิตมนุษย์คือ คนเราห้ามความตายไม่ได้” คุณวิทวัสถ่ายทอดเรื่องราวชีวิต เส้นทางของการเป็นมะเร็งเต้านมและการรักษามะเร็งของภรรยา ผ่านเฟสบุคเพจชื่อ “แม่นุ่น” ซึ่งเป็นที่โด่งดังจนถึงปัจจุบัน แม้การรักษาจะจบลงด้วยการเสียชีวิตของแม่นุ่น แต่เรื่องราวของแม่นุ่นและครอบครัว มีส่วนสำคัญในการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งต่อสังคมเป็นอย่างมาก เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักรู้ ในวันมะเร็งโลก (World Cancer Day) […]


โรคมะเร็ง

ตรวจมะเร็ง คัดกรองโรคเพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว

การตรวจมะเร็งมีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจความผิดปกติในร่างกาย เช่น การเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ เนื้องอก เพื่อทำการรักษาและป้องกันการพัฒนากลายเป็นมะเร็ง ซึ่งอาจช่วยป้องกันการแพร่กระจายของโรค และอาจป้องกันการเสียชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่สูบบุหรี่ ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็ง ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเป็นประจำทุกปี เพื่อช่วยให้สามารถตรวจพบสัญญาณของมะเร็งและทำการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ การตรวจมะเร็งมีอะไรบ้าง การตรวจคัดกรองมะเร็งที่มีเป้าหมายเพื่อค้นหาเซลล์ที่ผิดปกติเพื่อการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องการกันลุกลามและกลายเป็นมะเร็ง มีดังนี้ การตรวจแมมโมแกรม (Mammography) เป็นการทดสอบเพื่อตรวจหามะเร็งเต้านมในผู้หญิงที่ไม่แสดงอาการของโรค การตรวจเต้านม อาจเริ่มด้วยการคลำสัมผัสรอบ ๆ เต้านมเพื่อตรวจหาก้อนเนื้อที่ผิดปกติ สามารถรับการตรวจด้วยคุณหมอหรือสามารถตรวจได้ด้วยตัวเองเป็นประจำ เพื่อหาก้อนเนื้อที่ผิดปกติตั้งแต่เนิ่น ๆ อย่างไรก็ตาม หากตรวจพบก้อนเนื้อที่ผิดปกติ ควรทำการตรวจด้วยแมมโมแกรมที่ โดยการเอกซเรย์ภาพเต้านมเพื่อตรวจหาเนื้องอกที่ไม่สามารถตรวจพบด้วยการคลำหรือสัมผัสหา นอกจากนี้ การตรวจแมมโมแกรมยังสามารถตรวจพบแคลเซียมที่สะสมอยู่ซึ่งอาจบ่งชี้ได้ว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม วิธีการตรวจคุณหมอจะถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านมด้านละ 2 รูป ซึ่งฟิล์มเอกซเรย์ที่ออกมาจะแสดงให้เห็นถึงความผิดปกติของก้อนเนื้อและแคลเซียมที่สะสมในเต้านม การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear หรือ Pap Test) สามารถใช้ทดสอบเพียงอย่างเดียวหรือใช่ร่วมกับการทดสอบหาเชื้อ HPV ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับพิจารณาของคุณหมอ เพื่อตรวจหามะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มต้นและป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ เพราะช่วยให้สามารถพบและรักษาเซลล์ที่ผิดปกติได้ก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง โดยคุณหมอจะใช้เครื่องมือสอดผ่านและถ่างช่องคลอด จากนั้นจะเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อจากมดลูกไปตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติหรือเซลล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงที่อาจทำให้เกิดมะเร็งได้ ตรวจฮิวแมนแพพพิลโลมาไวรัส (Human papillomavirus: HPV) สามารถใช้ทดสอบหาเชื้อ HPV เพียงอย่างเดียวหรือใช่ร่วมกับการตรวจแปปสเมียร์ ทั้งนี้ […]


โรคมะเร็ง

การรักษาโรคมะเร็ง รูปแบบ และความเสี่ยงที่ควรรู้

โรคมะเร็ง คือ โรคที่เกิดจากการเซลล์ในร่างกายเจริญเติบโตมากและเร็วผิดปกติ ทำให้เกิดเซลล์มะเร็งและสะสมเป็นเนื้องอกหรือก้อนเนื้อ มะเร็งบางชนิดอาจไม่แสดงอาการใด ๆ ในระยะแรก แต่โดยทั่วไปอาจสังเกตได้จากอาการเหนื่อยล้าง่าย ไม่อยากอาหาร กลืนอาหารลำบาก ไอเรื้อรัง มีไข้ เหงื่อออกมากในตอนกลางคืน สีผิวเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม หากพบว่าตนเองมีอาการดังกล่าว ควรเข้าตรวจคัดกรองมะเร็ง เพราะหากพบว่าเป็นมะเร็งจะได้เข้ารับ การรักษาโรคมะเร็ง ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ซึ่งอาจเพิ่มโอกาสในการหายขาดจากโรคได้ ปัจจัยเสี่ยงมะเร็ง ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง มีดังนี้ อายุที่มากขึ้น ปกติแล้วเซลล์มะเร็งอาจใช้ระยะเวลานานหลายปีกว่าจะพัฒนาเป็นโรคมะเร็งและแสดงอาการ จึงอาจทำให้ตรวจพบโรคมะเร็งได้มากในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตาม โรคมะเร็งสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ขึ้นอยู่กับภาวะสุขภาพและปัจจัยเสี่ยงของแต่ละบุคคล กรรมพันธุ์ มะเร็งบางชนิดถ่ายทอดทางพันธุกรรมไปสู่บุตรหลานได้ หากสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็ง อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีความเสี่ยงนี้อาจไม่เป็นโรคมะเร็งเสมอไป ภาวะสุขภาพ ผู้ที่มีภาวะสุขภาพบางประการ เช่น ลำไส้ใหญ่อักเสบหรือเป็นแผลเรื้อรัง อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งบางชนิดได้ เช่น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก หากสังเกตเห็นว่าตนเองมีอาการผิดปกติ หรือมีโรคประจำตัวอื่น ๆ ควรรีบเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและหาวิธีดูแลรักษาที่เหมาะสม สภาพแวดล้อม การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสารก่อมะเร็ง เช่น ควันบุหรี่ สารเคมีในที่ทำงานอย่างแร่ใยหิน เบนซีน นิกเกิล อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้ […]


โรคมะเร็ง

ข้อควรพิจารณาก่อน การรักษามะเร็ง

มะเร็ง คือโรคที่เกิดจากเซลล์ในร่างกายเจริญเติบโตผิดปกติ ทำให้เนื้อเยื่อส่วนที่ดีของร่างกายถูกทำลาย และก่อให้เกิดเป็นกลุ่มก้อนแข็งใต้ผิวหนังหรือเนื้องอกชนิดร้าย โดยอาจสังเกตได้จากอาการไอเรื้อรัง มีไข้ เหงื่อออกตอนกลางคืน เหนื่อยล้า รู้สึกเบื่ออาหาร กลืนอาหารลำบาก ปวดกล้ามเนื้อโดยไม่ทราบสาเหตุ หากมีสัญญาณเตือนดังกล่าว ควรเข้าตรวจคัดกรองมะเร็ง หากพบว่าเป็นมะเร็งจะได้ รักษามะเร็ง ได้อย่างทันท่วงที อย่างไรก็ตาม ควรศึกษาเกี่ยวกับข้อควรพิจารณาก่อนเข้ารับ การรักษามะเร็ง ตามคำแนะนำของคุณหมอ เพราะอาจช่วยให้สามารถเลือกวิธีการรักษามะเร็งได้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด ทั้งยังอาจช่วยลดความเสี่ยงหรือผลข้างเคียงที่เกิดจากการรักษาได้ด้วย [embed-health-tool-heart-rate] สาเหตุของโรคมะเร็ง โรคมะเร็งอาจเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนที่เป็นส่วนหนึ่งในดีเอ็นเอ (DNA) ภายในเซลล์ ในดีเอ็นเอมียีนจำนวนมาก โดยยีนมีหน้าที่กำหนดลักษณะทางพันธุกรรมและควบคุมกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกาย หากยีนผิดปกติหรือกลายพันธุ์ก็อาจส่งผลให้เซลล์เจริญเติบโตมากและเร็วกว่าปกติ จนอาจพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็งได้ อีกทั้งปัจจัยดังต่อไปนี้ ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ อายุ คนทุกเพศทุกวัยสามารถเป็นมะเร็งได้ แต่อาจใช้เวลานานหลายปีกว่าเซลล์จะพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็งและแสดงอาการ จึงอาจพบโรคมะเร็งได้บ่อยในผู้สูงอายุ พันธุกรรม หากสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคมะเร็ง ความผิดปกติดังกล่าวอาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ภาวะสุขภาพ เช่น ลำไส้ใหญ่บวม โรคอ้วน อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งบางชนิด หากสังเกตว่าตนเองมีอาการผิดปกติควรปรึกษาคุณหมอทันที พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก การตากแดดเป็นเวลานาน การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้ อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอาจช่วยลดความเสี่ยงได้ สภาพแวดล้อม สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องทำงานที่สัมผัสกับสารเคมีที่อาจเป็นสารก่อมะเร็ง เช่น […]


โรคมะเร็ง

ตรวจเลือดหามะเร็ง ทำอย่างไร ต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง

โรคมะเร็ง เกิดจากเซลล์ในร่างกายเจริญเติบโตผิดปกติจนพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็ง โรคมะเร็งมีหลายชนิด เช่น มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งบางชนิดอาจไม่แสดงอาการในระยะแรก การตรวจสุขภาพเป็นประจำและการตรวจคัดกรองด้วยการ ตรวจเลือดหามะเร็ง จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย เพราะอาจช่วยให้ทราบถึงการก่อตัวของเซลล์มะเร็ง รวมถึงประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะภายในว่าได้รับผลกระทบจากมะเร็งหรือไม่ สัญญาณเตือนโรคมะเร็งที่ควรเข้าตรวจคัดกรอง สัญญาณเตือนของโรคมะเร็งที่ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็ง มีดังนี้ น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนที่พบได้บ่อย มีไข้นานเกิน 3 วัน โดยเฉพาะหากมีไข้นานหลายสัปดาห์ และมีเหงื่อตอนกลางคืน ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง รู้สึกเหนื่อยล้าตลอดเวลา แม้จะนอนหลับพักผ่อนแล้วก็ยังไม่หายเหนื่อย อาการไอ เสียงแหบ อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งปอด มะเร็งกล่องเสียง และมะเร็งต่อมไทรอยด์ ผิวหนังเปลี่ยนแปลง เช่น ผิวเหลืองหรือแดงผิดปกติ มีอาการคัน เป็นผื่น อาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งตับ มะเร็งรังไข่ มะเร็งไต หรือหากมีตุ่มนูน ไฝ ปาน ขึ้นใหม่บนผิวหนัง อาจเกิดจากโรคมะเร็งผิวหนัง เป็นแผลเรื้อรังหรือแผลหายช้า อาจเป็นสัญญาณของมะเร็งผิวหนัง หรือหากเป็นแผลในปากเรื้อรัง อาจเกิดจากโรคมะเร็งในช่องปาก ซึ่งความเสี่ยงโรคนี้จะยิ่งเพิ่มขึ้นหากสูบบุหรี่ เคี้ยวยาสูบ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เลือดออกผิดปกติ เช่น มีเลือดปะปนในอุจจาระ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนของมะเร็งลำไส้ มะเร็งทวารหนัก หรือหากปัสสาวะมีเลือดผสม […]


โรคมะเร็ง

ปัจจัยเสี่ยง โรคมะเร็ง และการดูแลสุขภาพ

โรคมะเร็ง เป็นโรคที่เกิดจากเซลล์ในร่างกายเจริญเติบโตผิดปกติและกลายพันธุ์เป็นก้อนเนื้องอกชนิดร้ายแรงหรือเซลล์มะเร็ง แม้จะยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเซลล์กลายพันธุ์เพราะเหตุใด แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเซลล์มะเร็งในร่างกายได้ เช่น รูปแบบการใช้ชีวิต อาหาร การสัมผัสกับสารเคมี แสงแดด สภาพแวดล้อม ความผิดปกติของยีนตั้งแต่กำเนิด ดังนั้น การสร้างสุขนิสัยที่เหมาะสมอาจช่วยลดความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งได้ โรคมะเร็ง คืออะไร โรคมะเร็ง เป็นโรคที่เกิดจากเซลล์ในร่างกายกลายพันธุ์จนเจริญเติบโตและแบ่งตัวเร็วและมากผิดปกติ ทำให้เกิดเป็นก้อนเนื้องอกชนิดร้าย หรือก้อนมะเร็ง โรคมะเร็งมีหลายชนิด โดยมักตั้งชื่อตามอวัยวะที่พบเซลล์มะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยองค์การอนามัยโลก ระบุว่า มะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของโลก ในปี พ.ศ. 2563 มีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งเกือบ 10 ล้านคนทั่วโลก และชนิดของมะเร็งที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกมากที่สุด ได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งตับ มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งเต้านม แม้จะยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเซลล์ในร่างกายกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้เพราะเหตุใด แต่องค์การอนามัยโลกระบุว่า ประมาณ 1 ใน 3 ของการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเกิดจากการสูบบุหรี่ โรคอ้วน การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานผักและผลไม้น้อย และขาดการออกกำลังกาย อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยอื่น […]


โรคมะเร็ง

10 วิธีรักษาสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง

การรักษาสุขภาพเพื่อป้องกันมะเร็งถือเป็นสิ่งสำคัญที่ควรใส่ใจ เนื่องจากรูปแบบการใช้ชีวิตที่ไม่รักษาสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่ รับประทานอาหารไม่มีประโยชน์ น้ำหนักเกิน การสัมผัสกับแสงแดดจัดหรือสารพิษ อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาที่ผิดปกติของเซลล์ในร่างกาย และอาจเพิ่มโอกาสการเกิด มะเร็งได้ การรักษาสุขภาพโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต จึงอาจสามารถช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง และช่วยให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงได้อย่างยั่งยืน 10 วิธีรักษาสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง 1.     เลิกสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่และการสูดดมควันบุหรี่มือสองอาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดมะเร็งได้หลายชนิด ได้แก่ มะเร็งปอด ปาก คอ กล่องเสียง หลอดลม ตับอ่อน เลือด หลอดอาหาร กระเพาะปัสสาวะ ปากมดลูก ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ตับ และไต เนื่องจากสารเคมีในบุหรี่เป็นสารก่อมะเร็งที่อาจสร้างความเสียหายให้กับดีเอ็นเอ ส่งผลต่อการเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติและพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็งได้ การเลิกสูบบุหรี่จึงเป็นการรักษาสุขภาพที่ดีที่อาจช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งและโรคเรื้อรังอื่น ๆ ได้ ทั้งนี้ ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานอาจมีอาการติดสารนิโคติน จึงทำให้การเลิกบุรี่อาจเป็นไปได้ยาก ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำในการเลิกบุหรี่และการบำบัดเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้เลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้น 2.     หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดในปริมาณที่มากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งหลายชนิด ได้แก่ มะเร็งปากและลำคอ กล่องเสียง เต้านม ตับ ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เนื่องจากร่างกายจะย่อยสลายแอลกอฮอล์เป็นสารเคมีแอซีทาลดีไฮด์ (Acetaldehyde) ที่ทำลายดีเอ็นเอและขัดขวางการซ่อมแซมของร่างกาย ส่งผลให้เซลล์เติบโตผิดปกติและพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็งได้ จึงควรจำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อสุขภาพที่ดีและลดความเสี่ยงเป็นมะเร็ง คือ ในผู้หญิงไม่ควรเกิน 1 แก้ว/วัน […]


โรคมะเร็ง

สถาบันมะเร็ง และศูนย์มะเร็งในประเทศไทย

โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของทั่วโลก และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นทุกปี องค์การอนมัยโลกพบว่าในปี พ.ศ. 2561 มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่จำนวน 18.1 ล้านคน โรคมะเร็งที่พบบ่อย 5 อันดับแรก ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งกระเพาะอาหาร ซึ่งผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 9.6 ล้านคน เป็นผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ และมะเร็งเต้านม ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ปี พ.ศ. 2559-2561 พบผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ 139,206 คน/ปี และข้อมูลจากกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณะสุข ปี พ.ศ. 2562 พบว่าคนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 84,073 คน/ปี โดยโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในเพศชาย ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ส่วนมะเร็งที่พบมากที่สุดในเพศหญิง ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม