โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

สำรวจ โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน

ทำไมผู้ป่วยเบาหวานจึงต้องลดน้ำหนัก และควรลดแบบไหน

ทำไมผู้ป่วยเบาหวานจึงต้องลดน้ำหนัก ก็เพราะว่าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เนื่องจากการมีน้ำหนักตัวที่สมส่วนจะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานน้อยลง ห่างไกลจากภาวะสุขภาพอันตรายอย่างโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง ช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับคอเลสเตอรอล และช่วยให้ผู้ป่วยอยู่ในระยะสงบของโรค (Diabetes remission) ที่อาจทำให้มีชีวิตที่ยืนยาวใกล้เคียงกับคนทั่วไปได้ [embed-health-tool-bmi] ทำไมผู้ป่วยเบาหวานจึงต้องลดน้ำหนัก การมีน้ำหนักส่วนเกินหรือมีไขมันรอบหน้าท้องอาจหมายความว่าอวัยวะภายในร่างกายก็มีไขมันก่อตัวอยู่รอบ ๆ ได้เช่นเดียวกัน และส่งผลให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin resistance) ซึ่งเป็นภาวะที่เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินจากตับอ่อนได้ตามปกติ อันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ดังนั้น หากผู้ป่วยเบาหวานเริ่มต้นลดน้ำหนักและออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อเผาผลาญไขมันส่วนเกินออกจากร่างกาย ก็อาจเป็นประโยชน์ในการช่วยให้ร่างกายดื้ออินซูลินน้อยลงหรืออาจช่วยให้อินซูลินที่ฉีดเข้าสู่ร่างกายสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป้าหมายน้ำหนักของผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานควรมุ่งเน้นการมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสมกับส่วนสูงของตัวเอง โดยอาจคำนวณด้วยการใช้ดัชนีมวลกาย หรือ BMI ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ใช้ชี้วัดระดับไขมันในร่างกายที่เป็นค่าสากล และสามารถใช้ได้ทั้งกับคนทั่วไปและผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อนำมาใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีต่อสุขภาพมากขึ้น โดยค่า BMI ใช้วิธีคำนวณจากค่า น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ÷ ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง และแสดงค่าเป็นหน่วย กิโลกรัม/เมตร2 หรืออาจคำนวณได้ง่าย ๆ จากการใช้เครื่องคำนวณ หาค่า BMI หรือดัชนีมวลกาย ต่อไปนี้  วิธีลดน้ำหนักที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน การลดน้ำหนักด้วยวิธีต่อไปนี้ อาจช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสมตามเป้าหมายได้ เน้นการรับประทานอาหารจากคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด พืชตระกูลถั่ว ผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ […]


โรคเบาหวาน

อาการหนาวสั่นในผู้ป่วยเบาหวาน เกิดจากสาเหตุใด

อาการหนาวสั่นในผู้ป่วยเบาหวาน เกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยลดต่ำจนอยู่ในระดับที่ไม่ปลอดภัยต่อร่างกาย ส่งผลให้มีอาการผิดปกติอย่างหนาวสั่น วิตกกังวล เหงื่อออกมาก นอนไม่หลับ หิวมากกว่าปกติ วิธีป้องกันได้แก่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเพื่อให้ร่างกายมีพลังงานเพียงพอในการทำงานตามปกติ [embed-health-tool-bmi] อาการหนาวสั่นในผู้ป่วยเบาหวาน เกิดจากอะไร อาการหนาวสั่นในผู้ป่วยเบาหวาน โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าเกณฑ์ปกติหรือน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (3.9 มิลลิโมล/ลิตร) มักพบในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งร่างกายมีความบกพร่องของฮอร์โมน และผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รักษาเบาหวานด้วยอินซูลิน ภาวะนี้จะทำให้ร่างกายไม่สามารถทำงานได้ตามปกติเนื่องจากมีพลังงานไม่เพียงพอในการหล่อเลี้ยงเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ และทำให้เกิดอาการผิดปกติตามมา ปัจจัยเสี่ยงอาการหนาวสั่นในผู้ป่วยเบาหวาน ปัจจัยต่อไปนี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดอาการหนาวสั่นในผู้ป่วยเบาหวานได้ รับอินซูลินเข้าสู่ร่างกายมากเกินไป รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ไม่กินอาหารบางมื้อ รับประทานยารักษาเบาหวานเกินขนาด ทำกิจกรรมทางกายหรือออกกำลังกายหักโหมกว่าปกติ ดื่มแอลกอฮอล์ขณะท้องว่าง รับประทานอาหารที่ไม่สมดุล อาการหนาวสั่นในผู้ป่วยเบาหวาน เป็นยังไง ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจมีอาการหนาวสั่น ขนลุก เจ็บที่บริเวณส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ร่วมกับอาการอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ มือสั่น ตัวสั่น ใจสั่น อ่อนเพลีย ไม่มีแรง มีเหงื่อออก หิวมากกว่าปกติ หัวใจเต้นเร็ว วิงเวียนศีรษะ สับสน มีปัญหาในการตั้งสมาธิ ตัวซีด ชาที่ริมฝีปาก ลิ้น หรือกระพุ้งแก้ม นอกจากนี้ยังมีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำในเวลากลางคืน […]


โรคเบาหวาน

เครื่องตรวจน้ำตาล ยี่ห้อไหนดี ใช้ตรวจเองอย่างแม่นยำ

การเลือกซื้อ เครื่องตรวจน้ำตาล เพื่อตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างแม่นยำและมีคุณภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน อาจต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการรับรองมาตรฐาน ราคา ฟังก์ชันการใช้งาน ความง่ายในการใช้งาน เวลาการคำนวณ ปริมาณเลือดที่ใช้ เพื่อให้ได้เครื่องตรวจน้ำตาลที่ตอบโจทย์การใช้งานของผู้ใช้มากที่สุด [embed-health-tool-bmi] เครื่องตรวจน้ำตาล มีประโยชน์อย่างไร เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับตรวจระดับน้ำตาลในเลือดซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เลือดที่เจาะจากเส้นเลือดฝอยปลายนิ้ว โดยทั่วไปจะใช้ในผู้ป่วยเบาหวานเพื่อประเมินผลการรักษาและดูแลของผู้ป่วยว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด โดยประเมินจากค่าน้ำตาลที่วัดได้ในแต่ละวัน หากตรวจพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดใกล้เคียงกับเกณฑ์เป้าหมายของตัวเอง ก็แสดงว่าแผนการรักษาเป็นไปได้ด้วยดีและแทบไม่มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานนั่นเอง วิธีเลือกซื้อเครื่องตรวจน้ำตาล การเลือกเครื่องตรวจน้ำตาลที่ตอบโจทย์กับการใช้งาน อาจต้องพิจารณาจากปัจจัยหลายอย่าง ดังนี้ ระยะเวลารับประกัน ควรตรวจสอบระยะเวลาการรับประกันก่อนซื้อและเลือกเครื่องตรวจน้ำตาลที่มีการรับประกันคุณภาพอย่างน้อย 1 ปี และควรมีตัวแทนจำหน่ายที่ช่วยประสานงานตอนส่งเคลมหรือซ่อมเพื่อความสะดวกเมื่อเกิดปัญหาการใช้งาน มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ เครื่องตรวจน้ำตาลควรได้รับรองมาตรฐานจากองค์กร เช่น มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขภาพ (มาตรฐาน CE) องค์กรมาตรฐานสากลไอเอสโอ (ISO หรือ the International Organization for Standardization) เพื่อให้แน่ใจว่าผลตรวจที่ออกมามีความแม่นยำและนำไปใช้ในการปรับเปลี่ยนแผนการรักษาโรคเบาหวานได้ ราคา ก่อนซื้อควรคำนึงถึงงบประมาณที่จะซื้อตัวเครื่องตรวจน้ำตาล ซึ่งแต่ละเครื่องจะมีคุณภาพหรือฟังก์ชั่นจะแตกต่างกันไปตามราคาของเครื่อง ทั้งนี้ หากมีงบประมาณไม่เยอะก็เลือกเครื่องตรวจน้ำตาลที่วัดระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามมาตรฐานและไม่มีฟังก์ชันซับซ้อนมากก็ได้ นอกจากนี้ยังควรคำนึงถึงราคาของแผ่นทดสอบซึ่งจะต้องซื้อมาใช้กับตัวเครื่องในระยะยาว ความสะดวกในการใช้ เครื่องตรวจน้ำตาลที่มีฟังก์ชันไม่ซับซ้อน มีปุ่มกดน้อย มีหน้าจอระบุค่าน้ำตาลที่แสดงตัวเลขชัดเจน อาจสะดวกต่อการใช้งานสำหรับผู้สูงอายุที่ใช้เครื่องตรวจด้วยตัวเอง และหากเครื่องตรวจน้ำตาลต้องการใช้เลือดจำนวนน้อยในการตรวจหาน้ำตาลหรือมีเข็มปรับความลึกได้หลายระดับ จะช่วยให้รู้สึกน้อยเจ็บลงและเจาะเลือดได้ลึกตามความต้องการ การจัดเก็บและเรียกดูข้อมูล เครื่องตรวจน้ำตาลมีจำนวนการบันทึกค่าน้ำตาลที่แตกต่างกันไป ควรเลือกจำนวนการบันทึกที่เหมาะสมกับการใช้งานที่สุด และอาจแสดงข้อมูลเรียลไทม์ที่แตกต่างกันไป […]


โรคเบาหวาน

น้ำตาลในเลือดสูง 170 เป็นอันตรายหรือไม่

น้ำตาลในเลือดสูง 170 หรือผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือด 170 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หากปล่อยทิ้งไว้น้ำตาลอาจเพิ่มขึ้นมากกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเป็นอันตรายต่ออวัยวะต่าง ๆ ได้ จึงควรดูแลตัวเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ลดลงด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง งดสูบบุหรี่และเข้าใกล้ควันบุหรี่มือสอง เป็นต้น [embed-health-tool-bmi] น้ำตาลในเลือดสูง 170 อันตรายไหม โดยทั่วไป ผู้ที่มีระดับน้ำตาลที่สูงกว่า 160-180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่ามีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) สำหรับผู้ที่เจาะเลือดเพื่อคัดกรองโรคเบาหวานแล้วพบว่าน้ำตาลในเลือดสูง 170 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงว่าเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งจำเป็นต้องไปพบคุณหมอเพื่อวางแผนการรักษาและดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม ในส่วนของผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำตาลในเลือดสูง 170 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงว่าแผนการรักษาเบาหวานที่ผ่านมาไม่มีประสิทธิภาพมากพอ หากปล่อยทิ้งไว้จนน้ำตาลขึ้นสูงเรื่อย ๆ ไปถึง 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตรอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ เพราะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ดังนั้น ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อปรับแผนการรักษาหรือการใช้ยาให้เหมาะสม รวมทั้งปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายให้เหมาะสม เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ลดต่ำลงมาอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย น้ำตาลในเลือดสูง 170 มีอาการอย่างไร ผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูง 170 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาจยังไม่มีอาการแสดงที่ชัดเจนมากจนเป็นที่สังเกต เพราะตามปกติแล้ว อาการน้ำตาลในเลือดสูงจะไม่มีอาการที่เด่นชัดจนกระทั่งน้ำตาลในเลือดขึ้นสูงไปที่ 180-200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งระดับน้ำตาลจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยใช้เวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ และยิ่งระดับน้ำตาลในเลือดสูงอยู่เป็นเวลานานเท่าไหร่ […]


โรคเบาหวาน

เบาหวาน ฉี่บ่อยแค่ไหน เกิดจากอะไร อันตรายไหม

เบาหวาน ฉี่บ่อยแค่ไหน โดยทั่วไป ในหนึ่งวัน คนเป็นเบาหวานจะฉี่บ่อยมากกว่า 7-10 ครั้งขึ้นไป และอาจต้องลุกไปฉี่บ่อย ๆ ในตอนกลางคืน นอกจากนี้ ยังมีอาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดร่วมกับการฉี่บ่อย เช่น กระหายน้ำมากกว่าปกติ หิวบ่อย อ่อนเพลีย เหนื่อยล้าง่าย ผิวแห้ง น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ ผู้ป่วยเบาหวานควรดูแลตัวเองเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายได้ [embed-health-tool-bmr] เบาหวาน ทำให้ฉี่บ่อยจริงหรือไม่ โรคเบาหวาน เมื่อเป็นแล้วจะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดมีปริมาณมากเกินไป ทำให้ไตไม่สามารถกรองน้ำตาลได้ทั้งหมด ร่างกายจึงขับน้ำตาลส่วนเกินออกทางปัสสาวะ ทำให้ฉี่บ่อย นอกจากนี้ เนื่องจากน้ำตาลเป็นสารที่ละลายในน้ำ หมายความว่าน้ำตาลจะดึงน้ำออกจากเซลล์ไปเป็นน้ำปัสสาวะจากการออสโมซิสด้วย ส่งผลให้มีการผลิตน้ำปัสสาวะมากกว่าปกติ ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานฉี่บ่อยกว่าคนทั่วไป ทั้งยังทำให้กระหายน้ำมากขึ้นด้วยเพราะร่างกายขาดน้ำ อาการฉี่บ่อย จึงถือเป็นสัญญาณเบื้องต้นของโรคเบาหวานและอาการของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดขึ้นร่วมกับอาการอื่น ๆ เบาหวาน ฉี่บ่อยแค่ไหน อันตรายไหม คนส่วนใหญ่อาจฉี่วันละประมาณ 4-10 ครั้ง ในขณะที่หากดื่มน้ำวันละ 2 ลิตร มักจะฉี่ประมาณวันละ 6-8 ครั้ง ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานก็อาจจะฉี่บ่อยมากกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะตอนกลางคืน ทั้งนี้ ผู้ป่วยเบาหวานควรหมั่นสังเกตว่าตัวเองฉี่บ่อยเกินกว่าวันละ 7-10 ครั้งหรือไม่ […]


โรคเบาหวาน

เบาหวานหายได้ไหม ดูแลตัวเองยังไงเพื่อคุมอาการ

เบาหวานหายได้ไหม คงต้องทำความเข้าใจก่อนว่า โรคเบาหวานนับเป็นโรคเรื้อรังอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งในระยะยาวน้ำตาลส่วนเกินอาจส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เมื่อเป็นแล้วไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่คุณหมอจะเน้นไปที่การสั่งยาให้ผู้ป่วยรับประทานเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสมและให้ผู้ป่วยดูแลสุขภาพของตนเองผ่านการเลือกรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย เบาหวานหายได้ไหม โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายได้ โดยผู้ป่วยเบาหวานจะมีระดับน้ำตาลในเลือดตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป เมื่อเป็นแล้วต้องใช้ยารักษาเบาหวานหรืออินซูลินช่วยรักษาระดับน้ำตาลให้คงที่ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและออกกำลังกายเพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย ไม่สูงหรือต่ำเกินไป ทั้งนี้ แม้ว่าโรคเบาหวานจะรักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่การวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม ปฏิบัติตามแผนการรักษาอย่างเคร่งครัด และเข้ารับการตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ จะช่วยให้ผู้ป่วยอยู่ในช่วงสงบของโรค (Remission) ซึ่งหมายความว่าจะไม่มีอาการใด ๆ จากโรคเบาหวานและมีคุณภาพชีวิตที่ใกล้เคียงคนทั่วไปที่ไม่เป็นเบาหวาน ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย และมีชีวิตที่ยืนยาวได้ไม่ต่างกับคนอื่น ๆ เกณฑ์วินิจฉัยโรคเบาหวาน โรคเบาหวานวินิจฉัยได้จากระดับน้ำตาลในเลือดที่ตรวจวัดได้ตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ระดับน้ำตาลในเลือดปกติ อยู่ที่ 70-99 มิลลิกรัม/เดซิลิตร  ภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) อยู่ที่ 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร โรคเบาหวาน อยู่ที่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป อาการของโรคเบาหวาน อาการที่พบได้บ่อยของโรคเบาหวานเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ มีดังนี้ เหนื่อยง่ายกว่าปกติ ถ่ายปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ สายตาพร่ามัว มองไม่เห็นชัดเจน บาดแผลหายช้าหรือไม่หายเลย ติดเชื้อง่าย เช่น การติดเชื้อที่เหงือก ผิวหนัง อวัยวะเพศ มีคีโตปนในปัสสาวะ ทั้งนี้ […]


โรคเบาหวาน

อาหาร โรคไต เบาหวาน แบบไหนดีต่อสุขภาพ

พฤติกรรมการกินอาหารในปัจจุบัน ที่ส่งเสริมรสชาติให้โดดเด่น แต่ก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคได้เช่นกัน การรับประทานอาหารที่มีปริมาณของโซเดียมสูงจึงเสี่ยงต่อโรคไต ส่วนการรับประทานอาหารที่หวานจะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน สำหรับผู้ป่วยทั้ง 2 โรค ต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษ โดยเลือก อาหาร โรคไต เบาหวาน ที่ดีต่อสุขภาพและควบคุมโรคเอาไว้ได้  [embed-health-tool-bmi] ลักษณะของโรคไต  โรคไตเป็นอาการหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นบริเวณไต ส่งผลให้การทำงานเพื่อขับของเสียออกจากร่างกาย การรักษาความสมดุลของเกลือ และน้ำในร่างกายเกิดภาวะขัดข้อง โรคที่เกิดขึ้นกับไตมีอยู่หลายประเภท ประกอบด้วย ไตวายฉับพลัน  ไตวายเรื้อรังที่อาจเกิดจากโรคเบาหวาน  โรคความดันโลหิตสูง  โรคไตอักเสบ  โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ โรคถุงน้ำที่ไต  ภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อยครั้ง หรือเกิดจากการอุดตัน เช่น นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโต หรือมะเร็งมดลูกไปกดเบียดท่อไต  อาการของโรคไต โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคไตระยะเริ่มต้นจะไม่แสดงอาการที่ชัดเจน แต่จะพบเมื่อมีอาการไตเรื้อรังระยะที่รุนแรง เมื่อป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังแล้ว การทำงานของไตจะเสื่อมลงจนเข้าสู่โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย สำหรับอาการของโรคไตที่พบได้บ่อย ได้แก่ มีอาการซีด  เพลีย  เบื่ออาหาร  คลื่นไส้  ปัสสาวะสีหรือกลิ่นผิดปกติ  ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะเวลากลางคืน  ปวดศีรษะ  ตรวจพบความดันโลหิตสูง  ตัวบวม เท้าบวม  ปวดหลัง และปวดบั้นเอว  ลักษณะของโรคเบาหวาน  โรคเบาหวาน เกิดจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลกลูโคสในเลือดไปใช้ได้ อาหารที่รับประทานจึงถูกเปลี่ยนเป็นกลูโคส ทำให้น้ำตาลที่ร่างกายนำไปใช้ไม่หมดนั้นสะสมอยู่ในกระแสเลือด มากเข้าก็จะออกมาในปัสสาวะ โดยปกติแล้วตับอ่อนในร่างกายจะสร้างฮอร์โมนอินซูลิน แต่ถ้าตับอ่อนสร้างอินซูลินไม่เพียงพอ หรืออินซูลินมีน้อย […]


โรคเบาหวาน

น้ำตาลในเลือดต่ำ ในคนปกติ เกิดจากอะไร มีอาการอย่างไร

น้ำตาลในเลือดต่ำ ในคนปกติ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารที่ทำให้น้ำตาลพุ่งสูงและลดลงอย่างรวดเร็ว การบริโภคแอลกอฮอล์มากเกินไป เจ็บป่วยด้วยโรค มีปัญหาสุขภาพ เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้มีอาการผิดปกติ เช่น วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย หิว สายตาพร่ามัว หงุดหงิด วิตกกังวล ตัวสั่น ในกรณีรุนแรงอาจทำให้หมดสติหรือชักได้ หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ [embed-health-tool-bmi] น้ำตาลในเลือดต่ำ คืออะไร น้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycaemia) คือภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ ซึ่งระดับน้ำตาลในเลือดของคนทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 70-99 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หากน้ำตาลในเลือดต่ำจะส่งผลให้ระบบอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายขาดพลังงานที่ช่วยให้ทำงานได้ตามปกติ พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้ยารักษาเบาหวานหรือฉีดอินซูลินเพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด หากมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากปกติก็อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ เช่น รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา อดอาหารบางมื้อ ออกกำลังกายหักโหมหรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงานมากกว่าปกติ แต่ในบางกรณีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำก็อาจเกิดกับคนทั่วไปที่ไม่ได้เป็นเบาหวานเช่นกัน อาการน้ำตาลในเลือดต่ำ อาการน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจมีดังนี้ วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง รู้สึกหิว มองเห็นภาพซ้อนหรือมองเห็นไม่ชัด หงุดหงิด วิตกกังวล ตัวสั่น รู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมาก มีพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การพูด การเดินที่เปลี่ยนไปจากปกติ หรือทำตัวเหมือนคนเมา หากอาการรุนแรง อาจทำให้มีอาการดังต่อไปนี้ ชัก หมดสติ […]


โรคเบาหวาน

HbA1c ค่าปกติ ดูยังไง สำคัญต่อการควบคุมน้ำตาลแค่ไหน

HbA1c หรือ Glycated Hemoglobin คือ ค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด ที่แสดงถึงระดับน้ำตาลที่สะสมอยู่ในเลือดตลอดช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา โดย HbA1c ค่าปกติ ของคนทั่วไปจะอยู่ที่น้อยกว่า 5.7% การตรวจ HbA1c มีประโยชน์ต่อการวินิจฉัยภาวะก่อนเบาหวานและโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อีกทั้งช่วยให้คุณหมอและผู้ป่วยเบาหวานประเมินแผนการรักษาที่ผ่านมาว่าได้ผลดีมากน้อยแค่ไหน และใช้เป็นแนวทางเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmi] HbA1c ค่าปกติ อยู่ที่เท่าไหร่ ผลการตรวจ HbA1c สามารถอ่านค่าเป็นเปอร์เซ็นเพื่อการวินิจฉัยโรคได้ดังนี้ คนทั่วไป ค่า HbA1c จะอยู่ในระดับ ต่ำกว่า 5.7% ภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) ค่า HbA1c จะอยู่ระหว่าง 5.7-6.4% โรคเบาหวาน ค่า HbA1c จะอยู่ในระดับตั้งแต่ 6.5% ขึ้นไป สำหรับการตรวจ HbA1c เพื่อประเมินผลการรักษาโรค คุณหมอจะนัดให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมาตรวจ HbA1c เพื่อติดตามผล ทุก 6 - 12 เดือน (ประมาณ 2 ครั้ง/ปี) […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงและวิธีดูแลตัวเอง

ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน มักเกิดขึ้นหลังจากผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นโรคมานานกว่า 10 ปีขึ้นไปมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสม ทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสียหาย นำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคเบาหวานขึ้นตา โรคผิวหนังช้าง โรคหัวใจ โรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ไม่สูงเกินไป อาจช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ [embed-health-tool-bmi] ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน เกิดจากอะไร ภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน (Diabetes complications) เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดอยู่สูงกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสมของผู้ป่วยเบาหวาน เมื่อเวลาผ่านไปหลายปี ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงผิดปกติจะไปทำลายเนื้อเยื่อ หลอดเลือด เส้นประสาท สร้างความเสียหายให้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และนำไปสู่ปัญหาสุขภาพตามมาได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวายเรื้อรัง ปัจจัยเสี่ยงของ ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน อาจมีดังนี้ ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เที่เหมาะสมได้เป็นเวลาหลายปี มีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรือเป็นโรคอ้วน ไม่ค่อยขยับร่างกาย หรือชอบอยู่เฉย ๆ เป็นเวลาหลายชั่วโมง มีค่าฮีโมโกลบินเอวันซี (Hemoglobin A1C […]

advertisement iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
advertisement iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม