backup og meta

การรักษาแผลเบาหวานที่เท้า ทำได้อย่างไรบ้าง

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์ · โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 18/02/2023

    การรักษาแผลเบาหวานที่เท้า ทำได้อย่างไรบ้าง

    การ รักษา แผล เบาหวาน ที่ เท้า จำเป็นต้องอาศัยหลายวิธีร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อเพื่อควบคุมการติดเชื้อ การผ่าตัดเพื่อตัดเนื้อเยื่อส่วนที่ตายแล้ว รวมไปถึงการดูแลตัวเอง เพื่อป้องกันไม่ให้แผลทรุดลง หรือลุกลามจนอาจจำเป็นต้องตัดขา ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงสภาพจิตใจผู้ป่วย ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานควรดูเเลสุขภาพตนเองให้ดีเพื่อป้องกันมิให้เกิดเเผลที่เท้า 

    การรักษาแผลเบาหวานที่เท้า สำคัญอย่างไร

    แผลเบาหวานที่เท้า เกิดจากเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน จะส่งผลให้ปลายประสาทได้รับความเสียหาย ผู้ป่วยจึงมีอาการเท้าชา รับความรุ้สึกได้ลดลง ซึ่งเป็นสาเหตให้เกิดเเผลที่เท้าได้ง่าย รวมทั้งหลอดเลือดส่วนปลายเสื่อมมีการตีบตัน จึงทำให้การไหลเวียนเลือดไปยังบริเวณเท้าไม่ดี เมื่อเกิดเเผลจึงหายช้า เพิ่มความเสี่ยงการติดเชื้อ เเละ อาจทำเกิดแผลจากเป็นเนื้อเยื่อบริเวณเท้าส่วนปลายขาดเลือด เกิดเป็นแผลเนื้อตายในที่สุด การรักษาแผลเบาหวานที่เท้าให้ดีนับว่ามีความสำคัญมาก เพราะหากปล่อยทิ้งอาจส่งผลให้แผลเกิดการลุกลามรุนแรง และอาจจำเป็นต้องตัดขาได้

    อาการแผลเบาหวานที่เท้า

    ผู้ที่เป็นเบาหวานเเล้วมีแผลเบาหวานที่เท้าในระยะเเรกมักจะไม่ทันได้สังเกต เนื่องจากปลายประสาทบริเวณเท้าเสียเสือมลง ทำให้ปลายเท้าชา รับความรู้สึกได้ลดลง ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บปวด อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางคนก็อาจมีอาการรุ้สึกระคายเคือง เท้าบวม รู้สึกเจ็บทั้งนี้อาจเป็นแบ่งแผลได้เป็น 5 ระดับ ดังนี้

    • ระดับที่ 1 แผลไม่ลึก
    • ระดับที่ 2 แผลลึกเข้าไปถึงเอ็น กระดูก และข้อต่อ
    • ระดับที่ 3 แผลลึกและมีอาการแทรกซ้อน เช่น ฝี กระดูกอักเสบ เอ็นอักเสบ
    • ระดับที่ 4 เนื้อเยื่อที่เท้าบางส่วนตาย โดยเฉพาะในบริเวณส้นเท้า
    • ระดับที่ 5 มีแผลกว้างทั่วทั้งฝ่าเท้า

    ควรพบคุณหมอทันทีหากดูเเลเบื้องต้นด้วยตนเองเเล้วแผลไม่ดีขึ้น เป็นเเผลเรื้อรัง หรือแผลมีมีอาการแย่ลง มีการลุกลามของแผลไปบริเวณข้างเคียง หรือมีหนอง กลิ่นเหม็น รวมถึงมีไข้หนาวสั่นร่วมด้วย ซึ่งอาจเป็นอาการของการติดเชื้อลุกลามเข้าสู่กระเเสเลือด

    การ รักษา แผล เบาหวาน ที่ เท้า

    การรักษาแผลเบาหวานที่เท้า อาจทำได้ดังนี้

  • ยา เช่น ยาซ่าเชื้อ  เพื่อช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุให้เเผลติดเชื้อจนอาจลุกลามไปถึงกล้ามเนื้อเเละกระดูก นอกจากนี้ยังอาจมียาเเก้ปวด ลดการอักเสบ เพื่อบรรเทาอาการ ทั้งนี้ในผุ้ป่วยบางรายที่เเผลลุกลามมาก อาจจะเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เพื่อให้ยาฆ่าเชื้อทางหลอดเลือด  
  • การผ่าตัด หากแผลมีอากาทรุดลง หรือ ลุกลามไปยังกล้ามเนื้อเเละกระดูกภายใน คุณหมออาจจำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อตัดเนื้อเยื่อส่วนที่ตายออก เเละ ในบางกรณีอาจอาจจำเป็นต้องตัด นิ้วเท้า เท้า หรือ ขาส่วนนั้นๆ เพื่อป้องกันการลุกลามไปยังบริเวณอื่น
  • การดูแลตนเองเมื่อมีแผลเบาหวานที่เท้า

    • ทำความสะอาดแผลเป็นประจำทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง ด้วยการล้างแผลด้วยน้ำเกลือ หากเเผลไม่ใหญ่ หรือ ไม่ลึกมาก อาจทำความสะอาดด้วยน้ำต้มสุกสะอาดได้ หรือเช็ดบริเวณรอบเเผลด้วยแอลกอฮอล์ หรือ ยาฆ่าเชื้อเบตาดีน จากนั้นปิดแผลด้วยผ้าก๊อซโดยไม่ควรปิดแน่นจนเกินไป เพื่อให้สามารถระบายอากาศได้ดี ลดการลงน้ำหนักไปยังเท้าด้านที่เป็นแผลโดยอาจใช้ไม้เท้าในการช่วยพยุงร่างกายป้องกันมิให้เกิดการกดทับเพิ่มเติมซึ่งอาจทำให้แผลทรุดลง หรือ หายช้าขึ้นสวมรองเท้าที่สวมใส่สบาย ไม่รัดแน่น และระบายอากาศได้ดี เพื่อลดการเสียดสี บรรเทาอาการเจ็บ และช่วยป้องกันไม่ให้แผลอับซึ่งจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อง่ายขึ้น
    • ปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอเกี่ยวกับการรักษาแผลเบาหวานที่เท้าอย่างเคร่งครัด เช่น การทำความสะอาดเเผล รวมไปถึงควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมาย ซึ่งนอกจากการรับประทานยารักษาโรคเบาหวานเเล้วยังต้องอาศัยการควบคุมอาหารร่วมด้วย

    วิธีป้องกันการเกิดแผลเบาหวานที่เท้า

    วิธีป้องกันการเกิดแผลเบาหวานที่เท้า อาจทำได้ดังนี้

  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เน้นการรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำและมีใยอาหารสูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และน้ำตาลสูง เพราะอาจเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ที่อาจส่งผลให้หลอดเลือดเสียหาย และทำให้เกิดแผลเบาหวานที่เท้า
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยแนะนำให้ออกกำลังกายแบบแอโรบิก ความเหนือยระดับปานกลาง เช่น วิ่งเหยาะ ๆ เดินเร็ว ว่ายน้ำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 30 นาที ซึ่จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายนำน้ำตาลไปใช้ได้ดีขึ้น ช่วยเพิ่มความไวต่ออินซูลิน ทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้น เป็นการ ลดความเสี่ยงการเกิดแผลเบาหวาน
  • หากเริ่มมีอาการเท้าชาเเล้ว หมั่นตรวจสุขภาพเท้าของตนทุกวัน สังเกตว่ามีผลที่เท้า รวมไปถึงตาปลาหรือไม่ เเนะนำให้ใส่ถุงเท้า หรือ รองเท้าสำหรับใส่ภายใน ตลอดเวลาเเม้จะอยุ่ที่บ้าน เพื่อป้องกันมิให้เกิดแผลจากการกระเเทกเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ผุ้ป่วยอาจไม่ทันรุ้สึก
  • เลิกสูบบุหรี่ เพราะสารพิษในบุหรี่จะส่งผลให้หลอดเลือดเสื่อมลง ทำให้เลือดไหลเวียนไปอวัยวะส่วนปลายได้ไม่ดี เป็นการเพิ่มความเสี่ยงการเกิดแผลที่เท้า อีกทั้งยังทำให้หากเกิดเเผลเเล้วยังรักษาได้ยากขึ้น หายช้าลงอีกด้วยหมั่นตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำซึ่งทำได้โดยการใช้เครื่องตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว เพื่อให้ทราบระดับน้ำตาลของตน ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุโรคเบาหวานได้ดีขึ้น อีกทั้งยังเป็นข้อมูลเพิ่มเติมให้คุณหมอสามารถปรับการรักษาได้เหมาะสมยิ่งขึ้นอีกด้วย
  • รับประทานยาลดระดับน้ำตาลในเลือด และใช้อินซูลินตามที่คุณหมอกำหนด รวมทั้งไปพบคุณหมอตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
  • หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

    โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 18/02/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา