backup og meta

รักษาเบาหวานให้หายขาด ได้หรือไม่

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์ · โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 23/08/2022

    รักษาเบาหวานให้หายขาด ได้หรือไม่

    รักษา เบาหวาน ให้ หายขาด ได้หรือไม่ อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย โดยส่วนมากเเล้วโรคเบาหวาน มักจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดอย่างถาวรได้ แต่สามารถควบคุมโรคเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ดีได้ด้วยยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสม อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานควรควบคุมการรับประทานอาหาร ออกกำลังกายและดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเเทรกซ้อนที่รุนเเรงตามมา

    รักษา เบาหวาน ให้ หายขาด ได้หรือไม่

    โรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลมาเป็นพลังงานได้อย่างเหมาะสม จึงทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น อาจมีสาเหตุมาจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินให้เพียงพอ หรือ ร่างกายไม่สามารถใช้อินซูลินได้อย่างเหมาะสม คือมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย หิวบ่อย ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลดลง ซึ่งหากปล่อยให้น้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต เบาหวานขึ้นตา รวมไปถึงโรคเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม 

    ในปัจจุบันโดยส่วนมากเเล้วโรคเบาหวาน มักจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดอย่างถาวรได้ แต่เราสามารถควบคุมโรคเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานนั้น ยังคงมีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพโดยรวมเเข็งเเรง ใกล้เคียงกับคนทั่วไป ซึ่งการจะควบคุมโรคเบาหวานให้ได้ดีนั้น ต้องอาศัยทั้งการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม เเละการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งรับประทานยาลดระดับน้ำตาลและฉีดยาอินซูลินตามที่คุณหมอแนะนำอย่างเคร่งครัดด้วย เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่อาจเกิดตามมาภายหลัง

    วิธีการรักษาโรคเบาหวาน

    วิธีรักษาโรคเบาหวานอาจขึ้นอยู่กับชนิดของโรคเบาหวานและสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย ซึ่งคุณหมออาจแนะนำวิธีการรักษา ดังนี้

    การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง

    • ควบคุมการรับประทานอาหาร ผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง เช่น ข้าวขาว อาหารแปรรูป แป้ง ขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลม ขนมหวานเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอลที่อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ อีกทั้งควรเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นรับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี เมล็ดพืช ถั่ว และโปรตีนที่ดี (เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมันและหนัง) เพื่อช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้กับร่างกาย
    • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น วิ่งเหยาะ ๆ เต้นแอโรบิก ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ประมาณ 30 นาที/วัน อย่างน้อย 5 วัน/สัปดาห์ หรืออย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์ เพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและช่วยเผาผลาญพลังงานส่วนเกิน

    การรักษาทางการแพทย์

    • อินซูลิน ซึ่งมีหลายประเภททั้งแบบออกฤทธิ์สั้น ออกฤทธิ์เร็ว ออกฤทธิ์นาน และออกฤทธิ์ระดับกลาง โดยคุณหมอจะเลือกอินซูลินให้เหมาะสมกับเเต่ละบุคคล อาจขึ้นอยู่กับกิจวัตรประจำวันและสุขภาพของแต่ละคนซึ่งต่างกันออกไป เพื่อช่วยในการควบคุมน้ำตาลในกระแสเลือด
    • ยารักษาเบาหวาน ในปัจจุบันมียารักษาเบาหวานหลายกลุ่ม ซึ่งจะออกฤทธิ์ที่หลายๆกลไกลในการลดระดับน้ำตาลในเลือด เช่นช่วยกระตุ้นการทำงานของตับอ่อนให้ผลิตอินซูลินมากขึ้น ยับยั้งการผลิตกลูโคสจากตับ กระตุ้นให้ร่างกายไวต่ออินซูลินมากขึ้น รวมไปถึงเพิ่มการขับน้ำตาลส่วนเกินออกทางปัสสาวะ
    • การผ่าตัดเพื่อลดน้ำหนักในผู้ป่วยโรคอ้วน เป็นวิธีการผ่าตัดกระเพาะอาหารและลำไส้ เพื่อลดขนาดกระเพาะ เเละลดการดูดซึมน้ำตาล เหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เป็นโรคอ้วนร่วมด้วย ซึ่งนอกจากจะช่วยลดน้ำหนักเเล้ว ยังช่วยให้ร่างกายสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีด้วย นอกจากนี้มีการศึกษาพบว่า ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลไม่สูงมากนัก หลังผ่าตัดกระเพาะอาหารเเล้ว สามารถทำให้โรคเบาหวานดีขึ้นได้เเละหายขาดจากโรคเบาหวานได้ในบางราย

    การรักษาในอานาคตที่อาจช่วยให้โรคเบาหวานหายขาดได้

    • การรักษาด้วยสเต็มเซลล์ (Stem Cell) เป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่สามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์อื่นได้ ซึ่งในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลองด้วยการใช้สเต็มเซลล์รักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ได้สำเร็จ การรักษาด้วยวิธีนี้จึงอาจใช้เป็นการรักษาโรคเบาหวานให้หายขาดได้ในอนาคต
    • การปลูกถ่ายเซลล์ในตับอ่อน เป็นวิธีการสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 หากผ่าตัดสำเร็จอาจไม่จำเป็นต้องใช้ได้รับการบำบัดรับการบำบัดด้วยอินซูลินในการควบคุมระดับน้ำตาล แต่จำเป็นต้องรับประทานยากดภูมิเพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายต่อต้านตับอ่อนที่ปลูกถ่ายไปตลอดชีวิต

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

    โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


    เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 23/08/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา